"กรมคุมประพฤติ" เข้าพบ "ทักษิณ ชินวัตร" ที่บ้านจันทร์ส่องหล้า พร้อมแจงขั้นตอนพักโทษ - นัดรายงานตัวเดือน มี.ค. แจงละเอียดยิบห้าม "ทักษิณ" ทำอะไรบ้างระหว่างพักโทษ ผ่านหลักการ "5 ห้าม 5 ให้" ย้ำไม่มีข้อห้ามทักษิณนั่งบอร์ดกรรมการ-ที่ปรึกษาทางการเมือง สิ่งสำคัญต้องดูการกำหนดคุณสมบัติของบอร์ดนั้นๆ
หลังจากนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ต้องขังเด็ดขาดชั้นกลาง ของเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ได้รับการพักการลงโทษกรณีมีเหตุพิเศษ เนื่องจากเจ็บป่วยร้ายแรง หรือพิการ หรือมีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป และแจ้งสถานที่พักโทษเป็นบ้านจันทร์ส่องหล้า เลขที่ 472 ซ.จรัญสนิทวงศ์ 69 แขวงและเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร
โดยสิ้นสุดกระบวนการรักษาตัวภายนอกเรือนจำบนชั้น 14 อาคารมหาภูมิพลราชานุสรณ์ 88 พรรษา รพ.ตำรวจ ก่อนเดินทางออกจากอาคารเมื่อช่วงเช้าของวันอาทิตย์ที่ 18 ก.พ. และตรงเข้าบ้านจันทร์ส่องหล้า ทั้งนี้ช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 19 ก.พ. - 21 ก.พ. คือ ระยะเวลา 3 วัน ที่นายทักษิณต้องรายงานตัวกับเจ้าหน้าที่คุมประพฤติ
เพื่อเข้าสู่กระบวนการพักการลงโทษจนกว่าจะพ้นโทษในเดือน ส.ค. และเมื่อวันที่ 20 ก.พ.ที่ผ่านมา ปรากฏรถตู้ของกรมคุมประพฤติ สีบรอนซ์เงิน ยี่ห้อ Toyota ทะเบียน 1 นง 6601 กรุงเทพมหานคร ขับเข้าภายใน ซ.จรัญสนิทวงศ์ 69 และขับผ่านหน้าบ้านจันทร์ส่องหล้า ตามที่ได้มีการรายงานข่าวไปแล้วนั้น
ล่าสุดเมื่อวันที่ 23 ก.พ. ผู้สื่อข่าวไทยนิวส์ได้รับการเปิดเผยจาก พ.ต.ท.มนตรี บุณยโยธิน รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ ว่า ภายหลังจากที่มีการรายงานข่าวตามสื่อมวลชนตลอดสัปดาห์ว่า 1 ใน 930 ผู้ได้รับการพักโทษ คือ นายทักษิณ ชินวัตร ซึ่งในประเด็นดังกล่าว อดีตนายกรัฐมนตรีได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการพักการลงโทษ โดยมีเงื่อนไขคุณสมบัติผ่านเข้าโครงการพักการลงโทษกรณีมีเหตุพิเศษฯ
และเข้าพักอาศัยยังสถานที่พักโทษที่ได้มีการแจ้งไว้ (บ้านจันทร์ส่องหล้า) โดยเมื่อวันอังคารที่ 20 ก.พ.ที่ผ่านมา ทางผู้บริหารที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมคุมประพฤติ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานคุมประพฤติกรุงเทพมหานคร 1 ซึ่งเป็นสำนักงานที่เป็นผู้รับผิดชอบในพื้นที่เขตดังกล่าว ได้เดินทางเข้าพบนายทักษิณและผู้อุปการะ พร้อมกับแจ้งเงื่อนไข ข้อกำหนดการพักโทษและนัดหมายรายงานตัวในครั้งถัดไป
สำหรับการนัดหมายรายงานตัวในเดือน มี.ค. กรณีหากนายทักษิณ ยังคงอยู่ระหว่างการพักฟื้นรักษาตัว หรือการตรวจรักษากับแพทย์ ทางเจ้าหน้าที่คุมประพฤติจะต้องประสานติดต่อกับผู้อุปการะว่าสะดวกให้เข้าพบยังบ้านจันทร์ส่องหล้าในวันเวลาใด หรือถ้ายังไม่สะดวกในเดือนนั้น ๆ ก็สามารถแจ้งเลื่อนได้
แต่ถ้าอดีตนายกรัฐมนตรี มีอาการดีขึ้น สะดวกในการเดินทางเข้าพบเจ้าหน้าที่คุมประพฤติด้วยตัวเอง ก็สามารถเดินทางไปรายงานตัวที่สำนักงานคุมประพฤติกรุงเทพมหานคร 1 ถนนพรานนก แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ จึงขึ้นอยู่กับอาการเจ็บป่วยในช่วงเวลานั้นๆ
หลักการโดยรวมของการรายงานตัวของผู้ถูกคุมความประพฤติ คือ ต้องรายงานตัวทุกเดือน โดยในแต่ละเดือนสามารถขยับวันเวลาบวกลบได้ เช่น ขยับวันเวลาการรายงานตัวเข้ามาเร็วขึ้น เพียงแค่ต้องไม่เกินปฏิทินในเดือนนั้น และถ้ารายงานตัวครบ 4 เดือน ครั้งถัดไปก็สามารถลดหย่อนได้ เป็น 2 เดือนค่อยรายงานตัว ซึ่งก็เป็นไปตามเกณฑ์ที่ถูกใช้กับผู้ถูกคุมประพฤติรายอื่นๆ
ส่วนคุณสมบัติของผู้อุปการะผู้ได้รับการพักโทษ พ.ต.ท.มนตรี ระบุว่า ผู้อุปการะไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นผู้ครอบครองทะเบียนบ้านของสถานพักโทษ แต่ต้องเป็นบุคคลที่สามารถให้หลักประกันแก่กรมคุมประพฤติได้ เช่น มีสถานะ มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งในพื้นที่ กทม. เจ้าหน้าที่คุมประพฤติสามารถติดต่อได้สะดวก เพราะผู้อุปการะก็เหมือนผู้ปกครอง เวลาผู้ถูกคุมความประพฤติเกิดปัญหาใด เจ้าหน้าที่คุมประพฤติจะต้องประสานติดต่อได้
หรือตำแหน่งที่ปรึกษาในทางการเมืองนั้นๆ มีการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะไปดำรงตำแหน่งโดยมีข้อยกเว้นประการใดหรือไม่ เช่น มีข้อห้ามไม่ให้ผู้ที่เป็นผู้ต้องขังเด็ดขาดมาดำรงตำแหน่งหรือไม่ เป็นต้น คล้ายลักษณะของกรณีที่บุคคลใดจะไปสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ก็จะมีข้อห้ามกำหนดไว้ว่าต้องไม่เป็นผู้ที่ต้องคำพิพากษาของศาลมาก่อน ดังนั้น ในระหว่างการพักโทษจึงยังไม่มีการห้ามในเรื่องของงานทางการเมือง เพราะอย่างไรแล้วผู้ได้รับการพักโทษ เมื่อพ้นโทษก็จะได้ใช้ชีวิตปกติและมีสิทธิในฐานะคนไทยตามรัฐธรรมนูญทุกประการ
พ.ต.ท.มนตรี กล่าวปิดท้ายว่า ส่วนเรื่องการติดกำไล EM ในส่วนของผู้ได้รับการพักโทษแบบปกติ จะต้องติดกำไล EM เกือบทุกราย ยกเว้นมีอาการเจ็บป่วยหนัก หรือต้องเอกซเรย์จากการประสบอุบัติเหตุ หรือมีความจำเป็นต้องถอดออกเพื่อการรักษาพยาบาล กรมคุมประพฤติก็จะทำเรื่องเสนอต่อคณะกรรมการพักการลงโทษเพื่อถอดกำไล EM ให้ได้
ส่วนผู้ได้รับการพักโทษแบบกรณีมีเหตุพิเศษฯ ถ้าเจ็บป่วยและสูงอายุจะเข้าเงื่อนไขยกเว้นให้ไม่ต้องติดกำไล EM ซึ่งทั้งหมดเป็นไปตามแนวทางที่คณะกรรมการพักการลงโทษได้กำหนดไว้ โดยสอดรับกับกฎกระทรวง ว่าด้วยการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์อื่นใดในการติดตามตัวผู้ถูกคุมความประพฤติตามเงื่อนไขที่ศาลหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสั่ง พ.ศ. 2560