"บุหรี่ไฟฟ้า"กับกฎหมายประเทศไทย กับกฎหมายในประเทศไทยที่คุณควรรู้

10 ตุลาคม 2565

บุหรี่ไฟฟ้าในปัจจุบันกับกฎหมายของประเทศไทยนั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าหรือไม่ ยังคงต้องเฝ้าติดตามกันต่อไป

กฎหมายบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยที่ควรรู้

บุหรี่ไฟฟ้า
 
  บุหรี่ไฟฟ้าเป็นประเด็นที่มีการตั้งข้อสงสัยกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน หลังจากที่มีการประกาศห้ามการนำเข้าและครอบครองบุหรี่ไฟฟ้าออกมาจากทางรัฐบาล มีผู้ออกมาแสดงความคิดเห็นกันมากมายทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างก็หยิบยกข้อมูลบางด้านมาสนับสนุนความเห็นของตนเอง ทำให้สังคมและประชาชนทั่วไปเกิดความสับสนเกี่ยวกับข้อมูลเหล่านี้ว่าควรจะเชื่อหรือปฏิบัติอย่างไร ขอรวบรวมข้อสงสัยต่าง ๆ และสรุปข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและน่าเชื่อถือมาเพื่อที่จะมาตอบคำถามเหล่านี้ โดยหวังว่าจะสร้างความกระจ่างให้แก่สังคมได้มากขึ้น

 กฎหมายของบุหรี่ไฟฟ้าในปัจจุบัน


    บุหรี่ไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในหมู่วัยรุ่นและคนทั่วไป ด้วยความแตกต่างจากบุหรี่มวนธรรมดาตรงที่ง่ายต่อการพกพา ไม่มีกลิ่นเหม็นติดตัว สามารถสูบในอาคารหรือรถยนต์ได้ รวมทั้งมีกลิ่นและรสชาติให้เลือกอย่างหลากหลาย แม้ว่ารัฐบาลสมัยของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะประกาศให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็น “สินค้าต้องห้าม" ในการนำเข้า ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2557 แต่ก็ไม่ได้ทำให้ความนิยมในการสูบบุหรี่ไฟฟ้าลดลงแต่อย่างใด ในทางกลับกัน บุหรี่ไฟฟ้า กลับมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน
 
   เราสามารถพบเห็นผู้สูบ บุหรี่ไฟฟ้าได้ตามสถานที่ทั่วไป ตั้งแต่ป้ายรถเมล์จนถึงห้างสรรพสินค้า หรือแม้แต่ในรัฐสภาหรือสถานที่ราชการ เราก็ยังคงพบเห็นเจ้าหน้าที่รัฐตลอดจนตำรวจผู้บังคับใช้กฎหมายเป็นผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าเสียเอง ความนิยมที่มากขึ้นอย่างไม่มีใครปฏิเสธได้นี้ส่งผลโดยตรงต่อการขยายตัวของตลาดบุหรี่ไฟฟ้า “ใต้ดิน” ที่นับวันจะมีแบรนด์และยี่ห้อเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยมากขึ้นเรื่อย ๆ และคาดการณ์กันว่าเงินหมุนเวียนในตลาดมืดแห่งนี้อาจอยู่ประมาณราว 10,000 ล้านบาทต่อปี
 
   อย่างไรก็ตาม บุหรี่ไฟฟ้าจึงยังคงเป็นนวัตกรรมชิ้นใหม่และเครื่องหมายคำถามตัวใหญ่สำหรับวงการสาธารณสุข การจะประเมินผลกระทบและความอันตรายจากบุหรี่ไฟฟ้าทั้งในระยะสั้นและระยะยาวได้นั้นจำเป็นต้องอาศัยงานศึกษาวิจัยที่มากกว่านี้ แต่เมื่อความนิยมในหมู่ผู้ใช้มีสูงขึ้น กฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ไฟฟ้าจึงกลายเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับคนหมู่มาก และเมื่อกฎหมายสวนทางกับความรู้ความเข้าใจถึงภัยของบุหรี่ไฟฟ้า ก็กลายเป็นช่องทางให้เจ้าหน้าที่รัฐได้ใช้อำนาจได้เต็มที่
 

  เป็นไปได้ไหมที่บุหรี่ไฟฟ้าที่สูบกันนั้น จะถูกกฎหมาย?

บุหรี่ไฟฟ้ามีโอกาสถูกกฎหมายไหม

Free Photo | Stylish young couple with vape in a city (freepik.com)


    เรื่องของบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายไหมนั้น ยังคงเป็นข้อถกเถียงของหลายฝ่ายและเป็นเรื่องที่ต้องจับตามองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งยังคงมีข้อกังวลถึงผลกระทบต่อสุขภาพ แต่ในขณะเดียวกัน คนรุ่นใหม่ที่มาพร้อมกับสิ่งซึ่งมองดูแล้วว่า “บุหรี่ไฟฟ้า” เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ ไม่ใช่แค่ใบยาสูบเหมือนในอดีต โดยบางฝ่ายมองว่าควรจะผลักดันให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่ถูกกฎหมายเช่นเดียวกับหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกมักจะมีข้อดีมากกว่าพอตข้อเสียต่อร่างกาย 

แต่ในทางตรงกันข้ามเมื่อมีฝ่ายสนับสนุนก็ย่อมมีฝ่ายคัดค้านที่มีความเห็นว่า “บุหรี่ไฟฟ้า” ยังคงเป็นของต้องห้าม เป็นสินค้าที่อันตรายและผิดกฎหมาย ซึ่งเรื่องราวของ “บุหรี่ไฟฟ้า” ยังคงเฝ้ารอและคอยติดตามกันต่อไปว่าตอนจบของเรื่องราวบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยนั้นจะเป็นยังไงต่อไป


โทษทางกฎหมายที่ตามมาในรูปแบบบุหรี่ไฟฟ้า

●    ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2557 ภายใต้ พ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 ผู้ฝ่าฝืนมีโทษ จำคุกไม่เกิน 10 ปีหรือปรับเป็นเงิน 5 เท่าของสินค้าที่นำเข้า หรือทั้งจำทั้งปรับพร้อมถูกริบสินค้า

●    มาตรา 242 ผู้ใดนําเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร หรือเคลื่อนย้ายของออกโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานศุลกากร มีโทษจําคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับ 4 เท่าของราคาของ หรือทั้งจําทั้งปรับ และให้ริบของนั้นทันที

●    มาตรา 244 ผู้ใดนําของที่ผ่านหรือกําลังผ่านพิธีการศุลกากรเข้ามาหรือส่งออกราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยง ข้อจํากัดหรือข้อห้ามอันเกี่ยวกับของน้ัน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และศาลอาจสั่งริบของนั้นได้

●    มาตรา 246 ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจําหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจํานําหรือรับไว้ ซึ่งของที่รู้ว่าเป็นความผิดตามมาตรา 242 มีโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับ 4 เท่าของราคาของ หรือทั้งจําทั้งปรับ

●    กฎหมายที่ห้ามนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้าประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 26 ธ.ค. 2557 และมีผลตั้งแต่นับถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ดังนั้น ถ้าใครครอบครองบุหรี่ไฟฟ้ามาก่อน 27 ธ.ค. 2557 ไม่มีความผิด เพราะกฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง นอกจากบุหรี่ไฟฟ้าแล้ว ยังรวมถึงบารากุ สารสกัดต่าง ๆ ก็ห้ามนำเข้า

●    บุหรี่ไฟฟ้ายังเป็นสินค้าที่ห้ามขายหรือให้บริการ ตามคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 9/2558 ซึ่งกำหนดโทษสำหรับผู้ประกอบธุรกิจทั่วไป ให้จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากผู้ที่กระทำผิดเป็นผู้ประกอบธุรกิจในฐานะผู้ผลิต ผู้สั่ง หรือผู้ที่นำเข้ามาเพื่อขาย ต้องรับโทษเพิ่มสูงขึ้นเป็นจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ดังนั้น อาจสรุปได้ว่ากรณีนำเข้า ผลิต และขายบุหรี่ไฟฟ้านั้นมีความผิดตามกฎหมายไทยอย่างชัดเจน แต่ในกรณีของผู้ครอบครองและใช้ส่วนตัว อาจไม่มีความผิดโดยตรง ถ้าผิดจะเข้าตามมาตรา 246 ของ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 ซึ่งบอกว่า “ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจําหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจํานําหรือรับไว้ ซึ่งของที่รู้ว่าเป็นความผิดตามมาตรา 242 มีโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับ 4 เท่าของราคาของ หรือทั้งจําท้ังปรับ” ซึ่งกรณีนี้ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่ารวบรวมหลักฐานได้มากแค่ไหน และอัยการจะส่งฟ้องหรือเปล่า
 

บุหรี่ไฟฟ้าเป็นทางเลือกใหม่ สำหรับการเลิกบุหรี่จริงหรือ

บุหรี่ไฟฟ้ากับทางเลือกใหม่
 

    ไม่จริงเสมอไปกับบุหรี่ไฟฟ้าที่ว่ากันว่าเป็นตัวเลือกสำหรับการเลิกสูบ เพราะแน่นอนว่าในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้ามีสารนิโคตินที่เป็นสารที่ทำให้เกิดการเสพติดและอาจจะมีโรคอื่น ๆ ตามมาด้วย ดังนั้นการสูบบุหรี่ไฟฟ้าจึงทำให้ผู้สูบ “ติด” ได้ไม่ต่างจากบุหรี่ธรรมดา นอกจากนี้รูปแบบและขั้นตอนในการสูบบุหรี่ไฟฟ้าก็มีความใกล้เคียงกับการสูบบุหรี่ธรรมดามาก ทำให้ผู้สูบยังคงติดในพฤติกรรมการสูบเหมือนบุหรี่ธรรมดา

หากสังเกตในต่างประเทศจะพบว่า โฆษณาของบุหรี่ไฟฟ้ามีลักษณะการใช้ข้อความจูงใจหรือจุดขายไม่ต่างไปจากบุหรี่ธรรมดา เช่น การเพิ่มเสน่ห์ในทางเพศ ทำให้อารมณ์ดี ซึ่งส่งผลในทางจิตวิทยาให้ผู้สูบมีความเชื่อ ฝังใจในคุณสมบัติเหล่านั้นและดำรงพฤติกรรมการสูบมาเรื่อย ๆ แต่ที่มากไปกว่านั้นคือโฆษณาของบุหรี่ไฟฟ้ายังเน้นถึงข้อดีบางอย่างที่เหนือกว่าบุหรี่ เช่น การมีรสชาติที่หลากหลายกว่า ดีต่อสุขภาพมากกว่า มีรูปลักษณ์ที่ดูทันสมัยและหลากหลายกว่า ไม่มีกลิ่นเหม็น เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่าจุดขายเหล่านี้ย่อมดึงดูดและทำให้ผู้สูบมีแนวโน้มที่จะติดกับการสูบได้มากขึ้นด้วย

   สรุป
ในปัจจุบันนั้น บุหรี่ไฟฟ้าถือเป็นสินค้าต้องห้ามสำหรับบุคคลที่มีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในความครอบครอง ถือว่ามีความผิดทั้งผู้นำเข้า ผู้ขาย และผู้ใช้ เมื่อเจ้าหน้าที่พบเห็นความผิดซึ่งหน้าสามารถเข้าจับกุมได้ กรณีเป็นผู้นำเข้ามีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับเป็นเงิน 5 เท่าของสินค้าที่นำเข้า หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีจำหน่ายจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนกรณีผู้สูบหรือมีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในครอบครอง ถือว่ามีความผิดในฐานะครอบครองสิ่งที่นำเข้ามาโดยผิดกฎหมาย ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับเป็นเงิน 4 เท่าราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือทั้งจำทั้งปรับ