ศัพท์เทคนิค หรือศัพท์เฉพาะทางที่บ่งบอกเกี่ยวกับชื่อเรียก หรือข้อมูลของนาฬิกาข้อมือนั้นมีอยู่ด้วยกันมากมาย บางครั้งไม่เฉพาะมือใหม่เท่านั้น บรรดานักสะสมนาฬิการุ่นเก๋า คนรักนาฬิกาทั้งหลายก็อาจจะงงหรือไม่คุ้นเคยกับศัพท์ต่างๆ จนทำให้เกิดความเข้าใจผิดขึ้นได้เหมือนกัน โดยเฉพาะนาฬิกาแบรนด์หรูอย่างนาฬิกา Professional Model หรือ Classic Model เช่น นาฬิกาโรเล็กนาฬิกาซ์ ที่ได้รับความนิยมสูงมาก วันนี้เราได้รวบรวม 9 คำศัพท์ เกี่ยวกับนาฬิกาที่นักสะสมมือใหม่ควรรู้ มาแบ่งปันกัน ส่วนจะมีศัพท์อะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย
Chronometer
สำหรับนักสะสมนาฬิกาข้อมือแบรนด์ชั้นนำคงจะคุ้นหูกับคำว่า Chronometer อยู่บ่อยๆ ซึ่งคำศัพท์นี้หมายถึง นาฬิกาที่ผ่านการทดสอบความแม่นยำเที่ยงตรงจาก Contrôle officiel suisse des chronomètres (COSC) หรือสถาบันตรวจสอบความเที่ยงตรงของนาฬิกาแห่งสวิตเซอร์แลนด์ โดยมาตรฐานการตรวจสอบจะนำเครื่องนาฬิกาไปทดสอบ โดยการจัดวางในตำแหน่งและอุณหภูมิที่แตกต่างกัน รวม 15 วัน โดยนาฬิกาที่ตรวจสอบจะต้องมีความคลาดเคลื่อนบวกลบ ไม่เกิน 5 วินาทีต่อวัน จึงจะผ่านการตรวจสอบ
Chronograph
อีกหนึ่งคำศัพท์ที่ค่อนข้างคล้ายกัน จนทำให้คนรักนาฬิกาหลายคนจำสับสน คือ คำว่า Chronograph ซึ่งหมายถึง นาฬิกาที่มีฟังก์ชันระบบการจับเวลาแบบเข็มที่ใช้ในการจับเวลา โดยระบบ Chronograph ที่ว่านี้อาจมีติดตั้งอยู่ทั้งในนาฬิกาไขลาน หรือนาฬิกาควอตซ์ก็ได้ ฟังก์ชันการจับเวลาแบบ Chronograph มีทั้งจับเวลาแบบเข็มเดี่ยวและแบบหน้าปัดย่อย ที่มีสเกลการจับเวลาบนขอบ Bezel ทั้งแบบ 1/20, 1/10 หรือ 1/100 วินาที ขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้ผลิตแต่ละราย
Tachymeter
สเกลระยะต่างๆ ที่เขียนสัญลักษณ์ หรือตัวเลขอยู่บนขอบหน้าปัดนาฬิกา หรือ Bazel ของนาฬิกาจับเวลา Chronograph เรียกกันว่า Tachymeter มีไว้ใช้ประโยชน์ในการอ่านค่าอัตราความเร็วต่อหนึ่งหน่วยเวลา โดยเป็นการอ่านค่าจากเข็มวินาที ถ้าเข็มชี้อยู่ที่ตำแหน่งไหนบนสเกลไหน ก็อ่านค่าความเร็ว ณ จุดนั้น นอกจากจับความเร็วแล้ว Tachymeter ยังใช้งานอย่างอื่นได้ด้วย เช่น จับเวลาการทำงานแบบทั่วๆ ไป
Mechanical
ศัพท์คำนี้หมายถึงนาฬิกาข้อมือประเภทไขลาน ที่ใช้แรงขับจากลานสปริงส่งกำลังมาทำให้เข็มนาฬิกาเดินได้ หรือที่เรียกกันว่า Hand Winding Mechanical Watch คือ นาฬิกาที่ใช้วิธีหมุนลานเม็ดมะยม หรือ Crown ด้านข้างตัวเรือน เพื่อไขลานให้กลไกนาฬิกาทำงาน ให้เข็มบนหน้าปัดนาฬิกาเดินบอกเวลา
Quartz
ปัจจุบันศัพท์คำว่า Quartz คงจะคุ้นหูคนรักนาฬิกาเป็นอย่างดี โดยเฉพาะนาฬิการะบบ Quartz คือ นาฬิกาที่ต้องใช้ถ่าน หรือแบตเตอรี่เป็นตัวให้พลังงานผ่านแผงวงจร เพื่อให้เข็มนาฬิกาทำงานหรือแสดงเวลาผ่านระบบดิจิทัล โดยนาฬิการะบบควอทซ์นั้น ถือเป็นนาฬิกาที่มีความแม่นยำเที่ยงตรงสูงมาก ดูแลรักษาง่าย และการใช้งานค่อนข้างสะดวก
Automatic
นาฬิการะบบอัตโนมัติ นาฬิกาออโต้ที่มีศัพท์เรียกกันว่านาฬิกา Automatic หรือ Automatic Winding Watch ใช้วิธีการขยับเคลื่อนไหวของข้อมือ เพื่อสร้างกลไกไปขับเคลื่อนฟันเฟืองโรเตอร์ (Rotor) เปลี่ยนเป็นพลังงานไขลานให้กับนาฬิกา การทำงานเข็มนาฬิกาของระบบ Automatic เดินเงียบ นุ่มนวล ถ้าไม่ได้ใช้เป็นประจำทุกวัน เมื่อจะใช้งานต้องนำมาไขลาน ปรับเวลา และวันที่ ใหม่ทุกครั้ง
Kinetic
ระบบที่มีการทำงานใกล้เคียงกับ Automatic เรียกว่าระบบ Kinetic เพราะใช้วิธีการขยับเคลื่อนไหวของข้อมือเพื่อสร้างพลังงานเช่นเดียวกัน แต่ต่างกันตรงที่ระบบ Automatic สร้างกลไกไปขับเคลื่อนฟันเฟืองโรเตอร์ไขลานให้กับนาฬิกา ส่วนระบบ Kinetic จะใช้แรงเหวี่ยงของฟันเฟืองโรเตอร์ เพื่อปั่นไฟสร้างพลังงานสะสมเก็บประจุไว้ในเครื่อง ก่อนจะปล่อยพลังงานออกมาหล่อเลี้ยงวงจรต่างๆ โดยนาฬิกาบางรุ่นจะเป็นระบบ Kinetic Direct Drive สามารถหมุนเม็ดมะยมเหมือนไขลานเพื่อสะสมพลังงาน แทนการขยับเคลื่อนไหวของข้อมือ
Helium Escape Valve
เป็นศัพท์เกี่ยวกับนาฬิกาที่หลายคนเข้าใจสับสนกันเป็นอย่างมาก เพราะนาฬิกาที่มีระบบ Helium Escape Valve นี้จะทำงานใต้น้ำ ในระดับที่มีความลึกมากกว่า 60 เมตรขึ้นไป ส่วนใหญ่จะเป็นนักสำรวจใต้น้ำ นักประดาน้ำ ฯลฯ ที่ต้องลงไปอยู่ในถังเพื่อทำงานใต้น้ำ ที่ภายในถังจะบรรจุก๊าซเพื่อช่วยในการหายใจ คือ Helium ผสมกับออกซิเจน และมีความกดดันอากาศสูงกว่าปกติ ซึ่งก๊าซ Helium ที่มีโมเลกุลขนาดเล็กมากๆ จะแทรกซึมผ่านเข้าไปในตัวเรือนนาฬิกา ทำให้กระจกนาฬิกาหลุดหรือแตกร้าวได้ ระบบ Helium Escape Valve คือ One way Valve ที่ทำหน้าที่ปล่อยก๊าซฮีเลียมออกมา เพื่อลดแรงดันนั่นเอง เช่น นาฬิกา Rolex Sea Dweller
Perpetual calendar
สุดท้ายกับคำศัพท์ของระบบนาฬิกาที่เรียกว่า Perpetual calendar ซึ่งหมายถึงนาฬิกาที่มีระบบปฏิทินอัจฉริยะ ที่สามารถรู้ได้ด้วยตัวเองว่าเดือนไหนมี 30 วัน เดือนไหนมี 31 วัน โดยสามารถเปลี่ยนการแสดงผล เวลา วันที่ ในแต่ละเดือนให้เอง ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ โดยผู้สวมไม่ต้องคอยปรับตั้งวันที่ใหม่ในทุกๆ เดือน
เป็นอย่างไรกันบ้างกับศัพท์เทคนิคต่างๆ เกี่ยวกับนาฬิกาข้อมือ ที่หลายคำอาจทำให้นักสะสมนาฬิกาทั้งมือใหม่มือเก่าเกิดความสับสนกันไปบ้าง โดยเฉพาะนาฬิกาแบรนด์ดังที่มีศัพท์ฟังก์ชันการทำงานโดดเด่นล้ำสมัย มีศัพท์และชื่อเรียกมากมาย สำหรับใครที่สนใจแบรนด์นาฬิการะดับโลกที่มีชื่อเสียง
และประวัติศาสตร์มายาวนานอย่างนาฬิกาโรเล็กซ์ เช่น Rolex Sea Dweller เหมาะกับใคร Rolex Datejust ราคาเท่าไหร่ สามารถเข้าไปดูข้อมูลดีๆ ได้ที่เว็บไซต์เพนดูลัม Pendulum ศูนย์โรเล็กซ์ผู้บุกเบิกเส้นทางสู่จุดหมายของนาฬิกาชั้นนำในเมืองไทย ตัวแทนจำหน่ายซึ่งมีทักษะเฉพาะด้าน ที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายและดูแลรักษานาฬิกาโรเล็กซ์ ในแบบที่ไม่มีใครเทียบได้ด้วยความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง