ประชาสัมพันธ์

heading-ประชาสัมพันธ์

"พิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพ" สมบัติล้ำค่าของชาติ ที่ควรหวงแหน

14 ก.ค. 2566 | 17:28 น.
"พิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพ" สมบัติล้ำค่าของชาติ ที่ควรหวงแหน

“พิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพ”หรือ พิพิธภัณฑ์พืชสิรินธร สมบัติล้ำค่าของชาติ ที่ควรหวงแหน เก็บสะสมตัวอย่างพืชไว้เป็นสมบัติล้ำค่า


   จากสายพระเนตรอันยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่ทรงเห็นว่างานด้านพฤกษศาสตร์และด้านเกษตรได้พัฒนาเจริญมากขึ้นควรมีผู้ดูแลและขยายการสำรวจพรรณพฤกษชาติ จึงโปรดเกล้าให้ตั้งแผนกตรวจพันธุ์รุกขชาติขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2463 มีฐานะเทียบเท่ากรม สังกัดกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม มีนายแพทย์คาร์ (A.F.G. Kerr) ชาวอังกฤษเป็นเจ้ากรม นับเป็นจุดเริ่มต้นของพิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์พืชแห่งแรกของประเทศไทย และเป็นจุดเริ่มต้นของงานพฤกษศาสตร์ของประเทศไทยนับแต่นั้นมา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  ในช่วง 10 ปีแรก นายแพทย์คาร์ และคณะได้เดินทางสำรวจรวบรวมพืชจากทั่วประเทศมาได้กว่า 30,000 ตัวอย่าง และหลังจากนั้นต้องใช้เวลาเกือบ 60 ปี จึงสามารถรวบรวมตัวอย่างเพิ่มเติมได้อีก 30,000 ตัวอย่าง โดยพิพิธภัณฑ์พืชเป็นฐานข้อมูลเบื้องต้นเพื่อใช้ในการตรวจสอบ และอ้างอิงชื่อพรรณไม้ทางวิทยาศาสตร์ ก่อให้เกิดงานค้นคว้าวิจัยศาสตร์สาขาอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย 

\"พิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพ\" สมบัติล้ำค่าของชาติ ที่ควรหวงแหน
  ในปี 2540 กรมวิชาการเกษตร ได้ตระหนักถึงความสำคัญของสมบัติอันล้ำค่าด้านหลักฐานความหลากหลายทางพรรณพืชของพิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพ จึงได้ของบประมาณจากรัฐบาล จัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์พืช สำหรับรวบรวมตัวอย่างพรรณพืชมากกว่า 60,000 ตัวอย่าง (ในขณะนั้น) รวมถึงหนังสือและเอกสารวิชาการกว่า 4,000 เล่ม 

\"พิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพ\" สมบัติล้ำค่าของชาติ ที่ควรหวงแหน

   สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (พระอิสริยยศในขณะนั้น) ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงวางศิลาฤกษ์อาคารพิพิธภัณฑ์พืชแห่งนี้ เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2541 หลังจากนั้นกรมวิชาการเกษตรได้มีหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานนามอาคารพิพิธภัณฑ์พืชแห่งนี้ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานนามอาคารนี้ว่า “พิพิธภัณฑ์พืชสิรินธร” เป็นอาคาร 3 ชั้น อยู่ตรงข้ามกับหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

\"พิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพ\" สมบัติล้ำค่าของชาติ ที่ควรหวงแหน


   นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ที่ผ่านมาพิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามลำดับ ปัจจุบันดูแลและดำเนินงานโดยกลุ่มวิจัยพฤกษศาสตร์และพิพิธภัณฑ์พืช สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร ใช้ชื่อย่อว่า BK (Bangkok Herbarium) มีการจัดการดูแลพิพิธภัณฑ์พืชในระบบสากล รวมจำนวนวงศ์พืชที่เก็บรักษา ณ เวลานี้  305 วงศ์ และตัวอย่างพรรณไม้อ้างอิงมากกว่า 80,000 หมายเลข โดยตัวอย่างพืชที่เก็บสะสมไว้ถือเป็นสมบัติล้ำค่าของชาติ


   สำหรับพิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพ ให้บริการใน 5 เรื่องได้แก่ 1.ให้บริการศึกษาตัวอย่างพรรณไม้อ้างอิงและเยี่ยมชม 2.ให้บริการเก็บรักษาพรรณไม้อ้างอิง ได้แก่ ตัวอย่างพรรณไม้ต้นแบบ และตัวอย่างพรรณไม้อ้างอิงเพื่องานวิจัย 3.ให้บริการตรวจระบุชนิดพันธุ์พืชและบริการออกหมายเลขพิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพ (BK number) 4.ให้บริการเผยแพร่ข้อมูลความรู้ด้านพฤกษศาสตร์ ได้แก่ การจัดนิทรรศการ การจัดฝึกอบรม เอกสารเผยแพร่ และหนังสือสิ่งพิมพ์ต่างๆ และ 5.ให้บริการห้องสมุดพฤกษศาสตร์ โดยเปิดให้บริการวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30 น.-16.30 น. 

 

   หน้า 11 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 43 ฉบับที่ 3,905 วันที่ 16 - 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
 

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

"มดดำ" เปิดปม "โตโน่" ก่อนอุทานเรื่องสาวๆ ชี้เกือบโป๊ะแตกหลายคน

"มดดำ" เปิดปม "โตโน่" ก่อนอุทานเรื่องสาวๆ ชี้เกือบโป๊ะแตกหลายคน

สิ้น "ต๋อง นิวัฒน์" ปิดตำนานยอดแข้งไทย เจ้าของฉายา สิงห์สนามศุภฯ

สิ้น "ต๋อง นิวัฒน์" ปิดตำนานยอดแข้งไทย เจ้าของฉายา สิงห์สนามศุภฯ

นายกเบี้ยว รับ "พีช" อารมณ์ร้อน ไม่เคยมีประสบการณ์เกิดอุบัติเหตุ

นายกเบี้ยว รับ "พีช" อารมณ์ร้อน ไม่เคยมีประสบการณ์เกิดอุบัติเหตุ

ฮือฮา นักบินหญิงส่งหัวใจดวงที่ 123 ยิ่งทึ่งพอรู้ว่าเป็นใคร

ฮือฮา นักบินหญิงส่งหัวใจดวงที่ 123 ยิ่งทึ่งพอรู้ว่าเป็นใคร

อาลัยสิ้น "พ.อ.พิฆราช สุริยะ" หนึ่งในทีมค้นหาตึกสตง.ถล่ม

อาลัยสิ้น "พ.อ.พิฆราช สุริยะ" หนึ่งในทีมค้นหาตึกสตง.ถล่ม