"กู้ร่วม" 6 สิ่งที่ต้องรู้ก่อนซื้อบ้านด้วยกัน!

31 พฤษภาคม 2567

"กู้ร่วม. 6 สิ่งที่ต้องรู้ก่อนซื้อบ้านด้วยกัน ในที่นี้ จะพาไปรู้จักสิ่งที่ควรรู้ก่อนการกู้ร่วมซื้ออสังหาริมทรัพย์ จะมีอะไรบ้าง มาอ่านกันเลย

\"กู้ร่วม\" 6 สิ่งที่ต้องรู้ก่อนซื้อบ้านด้วยกัน!

เพราะการกู้ร่วมมีอะไรที่มากกว่าการใช้ชื่อของคนสองคน จะดีกว่าไหมถ้าเราได้ศึกษาข้อมูลก่อนเริ่มกู้


มาดูข้อมูลดีๆ จากPropertyScoutแพลตฟอร์มที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ซื้อและผู้เช่าอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการซื้อขายในราคาที่ดีที่สุด  เวลาเราจะซื้ออสังหาริมทรัพย์สักชิ้น สิ่งที่หลายๆ คนมองไว้ก็คือ "การกู้" และการกู้เองก็มีหลายแบบมากๆ ทั้งกู้คนเดียวและกู้ร่วม ซึ่งคู่รักหลายๆ คนมองว่า อยู่ด้วยกันทั้งที ก็กู้ร่วมไปเลยสิ เพราะอสังหาริมทรัพย์ที่เราจะซื้อนั้นก็ต้องเป็นของเราสองคน


แต่ การกู้ร่วมมันจะดีจริงไหม? วันนี้ PropertyScoutเลยอยากพาทุกคนมารู้จักสิ่งที่ควรรู้ก่อนการกู้ร่วมซื้ออสังหาริมทรัพย์ จะมีอะไรบ้าง มาอ่านกันเลย!
 

\"กู้ร่วม\" 6 สิ่งที่ต้องรู้ก่อนซื้อบ้านด้วยกัน!


กู้ร่วม คืออะไร?


กู้ร่วม คือ การกู้เงินร่วมกัน ของทั้งสองฝ่าย ด้วยความสมัครใจ โดยที่มีคนมาช่วยรับผิดชอบในเรื่องของการกู้ อีกทั้งการกู้ร่วมยังเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือที่มากขึ้นเพราะไม่ได้มีคนเดียวที่ต้องจัดการ หากเกิดอะไรขึ้นยังมีอีกคนที่สามารถเข้ามาจัดการปัญหาตรงนี้ได้ อีกทั้งพอกู้ร่วม ยังทำให้อนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้นหรือว่าสามารถขอวงเงินที่สูงขึ้นได้ เพราะมีการนับรวมรายได้ของทั้งสองฝ่ายนั่นเอง


โดยปกติแล้วการกู้ร่วมจะมีการกู้ร่วมกันอยู่ที่ 2 คนขึ้นไป แต่จะมีข้อกำหนดเพิ่มเติมที่จะให้กู้ได้ไม่เกิน 3 คน เพราะหากกู้มากกว่า 3 คนขึ้นไปอาจจะเกิดปัญหาเรื่องการจัดการหนี้สินได้

รู้หรือไม่!? กู้ร่วม = รับผิดชอบหนี้ร่วมกัน
การร่วมกู้นั้น เมื่อสำเร็จทุกขั้นตอนแล้ว ผู้ที่ลงนามในฐานะ กู้ร่วม จะกลายเป็น ผู้ที่รับผิดชอบหนี้ หรือ ลูกหนี้ ทันที ไม่ว่าคุณจะเป็นคนที่ให้ใช้เพียงชื่อหรือจะร่วมจ่ายเงินชำระหนี้ด้วยก็ตาม

 

ประโยชน์ของการกู้ร่วม
1.ได้วงเงินที่สูงขึ้น    
2.ไม่ต้องแบกภาระคนเดียว
3.ขออนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้น
 

\"กู้ร่วม\" 6 สิ่งที่ต้องรู้ก่อนซื้อบ้านด้วยกัน!

คุณสมบัติของคนที่สามารถกู้ร่วมได้


คุณสมบัติอย่างแรกที่ต้องมีคือ ผู้กู้ร่วมและผู้กู้ต้องมีความสามารถในการชำระหนี้ หรือเรียกง่ายๆ ก็คือ ต้องมีรายได้มากกว่าที่กำหนด หรือหากเทียบกับเรทเงินเดือนมาตรฐานก็จะอยู่ที่ราวๆ 15,000 บาท นอกจากนั้น ยังต้องมีประวัติที่ใสสะอาด ไม่เคยเบี้ยว ไม่เคยผิดชำระหนี้
จริงๆ แล้วนั้น การอนุมัติสินเชื่อบ้านของการกู้ร่วม จะเน้นไปที่การพิจารณารายได้ของทุกคนที่ลงชื่อกู้ โดยมีเกณฑ์ในการคำนวณอยู่ที่ 40% ของรายได้ของทุกคน จากนั้นก็นำมารวมกันเพื่อหาวงเงินสูงสุดที่จะใช้ได้นั่นเอง

ใครสามารถ กู้ร่วม ได้บ้าง
คนที่สามารถใช้สิทธิ์การกู้ร่วมนั้น จะต้องเป็นคนที่มีความเกี่ยวข้องกันทางสายเลือดหรือความสัมพันธ์เท่านั้น ดังนี้


คนในครอบครัวเป็นคนในครอบครัวที่เน้นว่า จะต้องเป็น คนในสายเลือดเดียวกัน มีความผูกพันธ์กันในเครือญาติ หรือผู้ที่มีนามสกุลเดียวกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากเป็นพี่น้องที่มีสายเลือดเดียวกัน แต่ใช้คนละนามสกุลก็สามารถทำได้เช่นกันกรณีคนละนามสกุลแต่สายเลือดเดียวกัน ต้องแนบหลักฐานเพื่อยืนยัน เช่น ทะเบียนบ้าน, สูติบัตร หรือหลักฐานใดๆ ที่แสดงให้เห็นว่าทั้งสองคนนั้นมีพ่อแม่เป็นคนเดียวกัน


\"กู้ร่วม\" 6 สิ่งที่ต้องรู้ก่อนซื้อบ้านด้วยกัน!

 

คู่รัก LGBTOIA2+ความต้องการอยากมีบ้าน ไม่สามารถถูกจำกัดได้เพียงแค่เพศ คู่รัก LGBTQ+ นั้นถือเป็นกลุ่มที่ควรได้รับความยุติธรรม และ ความเท่าเทียม การได้รับรากฐานชีวิต และ การมีบ้านของตัวเองที่เท่าเทียมกับคนอื่น ปัจจุบันสังคมไทยเปิดกว้างเรื่องเพศมากขึ้น มีหลายธนาคารที่เห็นความต้องการชีวิตคู่ของกลุ่ม LGBTQ+ ด้วยการปล่อยสินเชื่อให้กู้ซื้อบ้านร่วมกัน โดยมีสิทธิเหมือนคู่รักชาย-หญิงทั่วไป ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส


สามี-ภรรยาคู่รักส่วนใหญ่นั้นสามารถกู้ร่วมกันได้ โดยที่จะต้องมีหลักฐานมาประกอบเป็น ทะเบียนสมรส เพื่อแสดงให้เห็นว่า ทั้งคู่นั้นเป็นคู่สมรสจริงๆ ไม่ใช่คนที่แฝงตัวมาเพื่อหาผลประโยชน์ในการกู้ อีกทั้งปกติแล้วนั้น การกู้ร่วมจะค่อนข้างเอื้อให้กับคู่รักที่จดทะเบียนสมรสกันอย่างเป็นทางการด้วยเหตุผลเรื่องความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือแล้วนั่นเอง

กรณีที่ไม่มีทะเบียนสมรสนั้น จะต้องนำหลักฐานอื่นๆ มาแสดงต่อธนาคารเพื่อเป็นการยืนยัน เช่น ภาพถ่ายวันแต่งงาน หรือถ้าอยากได้มั่นใจมากกว่านั้น ให้นำบันทึกประจำวันที่ไปแจ้งที่สถานีตำรวจมายื่นต่อธนาคารก็ได้เช่นกัน

 

ข้อควรรู้
มาค่ะ! ต่อไปนี้เราจะมาดูเรื่องข้อควรรู้ที่ต้องรู้ก่อนที่จะเริ่มการ กู้ร่วม ว่าจริงๆ แล้ว การกู้ร่วมมีอะไรมากกว่าการที่เราจะใช้ชื่อสองคนในการกู้ จะมีอะไรบ้าง มาอ่านกันเลย!

1. กู้ร่วมกัน ไม่เท่ากับ จ่ายเท่ากัน
อย่างที่รู้กันว่า การกู้ร่วมกันนั้นไม่ได้แปลว่าเราจะต้องแชร์กันจ่ายหนี้ให้เท่าเทียมกัน แต่คือการ รับผิดชอบร่วมกัน เพราะบางคนก็แค่ยืมชื่อของอีกฝ่ายมาใช้โดยรับผิดชอบคนเดียว หรือกรณีที่จ่ายร่วมกัน บางคู่จะมีการแบ่งสัดส่วนการจ่ายไม่เท่ากัน โดยทั้งหมดนั้น จะขึ้นอยู่กับความยินยอมทั้งสองฝ่ายก่อนการเซ็นสัญญาเงินกู้นั่นเอง

2. สิทธิในการลดหย่อนภาษี
รู้หรือไม่ว่า สิทธิ์กู้ร่วมนั้น สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ด้วยนะ แต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี ซึ่งการกู้ร่วมนั้นจะต้องหารเฉลี่ยตามจำนวนผู้กู้ ไม่ว่าจะ 2 หรือ 3 คน เมื่อหารเสร็จต้องแบ่งให้เท่าๆ กัน ไม่สามารถแบ่งให้ใครมากกว่าได้นั่นเอง

3. กรรมสิทธิ์เป็นของใคร?


กรณีของการกู้ร่วม จะสามารถทำได้ 2 แบบ


1.    ใส่ชื่อคนเดียว เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่ใช้ชื่ออกคนมากู้ร่วมด้วย
2.    ใส่ชื่อผู้กู้ร่วมทุกคน เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน


โดยปกติแล้วส่วนใหญ่ ผู้กู้จะเลือกแบบที่สอง เพราะผู้กู้ทุกคนมีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน แต่สิ่งที่ต้องคำนึงคือ ไม่ว่าคุณจะทำอะไร ทั้งขาย เช่า ซื้อ รวมถึงการโอนกรรมสิทธิ์นั้น จะต้องได้รับความยินยอมจากทั้ง 2 คนที่มีนามอยู่ในสัญญา ไม่ว่าเขาจะช่วยจ่ายหรือไม่ก็ตาม เพราะว่าสัญญาบังคับให้ต้องถามความสมัครใจของทั้งคู่นั่นเองแต่ทว่าเมื่อกู้เสร็จแล้วนั้น สัญญาจะเป็นชื่อใคร หรืออยากจะโอนให้ใครก็สามารถตกลงกันได้ตามสะดวกเลยนั่นเอง

4. จะเกิดอะไรขึ้นถ้า ผู้ร่วมกู้ เสียชีวิต


สิ่งแรกที่ต้องทำหากมีปัญหานี้ รีบติดต่อและแจ้งธนาคาร เพื่อเปลี่ยนแปลงสัญญา ไม่อย่างนั้น สัญญาต่างๆ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทุกๆ อย่างจะยังคงเดิม และจะทำให้การกระทำใดๆ ที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ในอนาคตอาจจะได้รับความลำบากไม่น้อยเลย
เมื่อทำการแจ้งธนาคารแล้ว ธนาคารจะเริ่มหาผู้ที่มารับผิดชอบภาระหนี้แทน ไม่ว่าจะเป็นทายาท หรือผู้จัดการมรดกก็ตาม


หากมีปัญหา "ใคร" รับผิดชอบ?
ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เมื่อคุณเริ่มกู้ร่วมเมื่อไหร่ คุณทั้งสองคนจะต้องรับผิดชอบร่วมกัน ดังนั้น หากเกิดการเบี้ยว ไม่จ่าย หรือมีปัญหาใดๆ ธนาคารจะสามารถเรียกใครคนใดคนนึงหรือจะเรียกทั้งสองคนก็ได้เช่นกัน และการจัดการนั้นก็สุดจะแล้วแต่การตกลงของผู้กู้ทั้งสองฝ่ายนั่นเอง

ยกเลิกได้ไหม?
การขอถอนชื่อออกจากเงินกู้ร่วมนั้นอาจจะมาจากหลายๆ กรณี เช่น มีปัญหากัน เลิกรากัน หรือกระทั่งมีปัญหาเรื่องการเงิน ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยไหนก็ตาม แต่ทั้งหมดต้องได้รับการพิจารณาจากธนาคารเท่านั้น
โดยจะมีแบ่งเป็น 2 กรณีดังนี้


สามารถถอนชื่อได้
•    กรณีที่สามารถถอนชื่อได้มีไม่กี่กรณี แต่ส่วนใหญ่จะเป็นกรณีที่ ธนาคารพิจารณาแล้วว่า ผู้กู้อีกคนยังสามารถผ่อนและชำระหนี้ได้อยู่ โดยไม่มีปัญหาตามมาทีหลังนั่นเอง


ไม่สามารถถอนชื่อได้
•    กรณีที่ไม่สามารถถอนชื่อได้นั้น ส่วนใหญ่จะมาจากการพิจารณาจากธนาคารแล้วว่า ผู้ร่วมกู้อีกคนนั้นไม่มีความสามารถ หรืออาจจะไม่สามารถที่จะชำระหนี้ส่วนที่เหลือได้ ทำให้อาจจะต้องร่วมกันชำระหนี้ให้หมดก่อน หรือถ้าอยากหยุดแล้วจริงๆ ต้องหาคนที่สามารถชำระหนี้ได้มาแทน

อยากหาคอนโด บ้าน เช่า สำหรับคนมีคู่ : คลิกที่นี่!
อยากซื้อคอนโดหรือบ้านเพื่ออนาคต : คลิกที่นี่!

\"กู้ร่วม\" 6 สิ่งที่ต้องรู้ก่อนซื้อบ้านด้วยกัน!

หากมีคำถาม หรือข้อสงสัยอื่นๆเพิ่มเติม เกี่ยวกับการฝากซื้อฝากขาย หรือซื้อขายเช่าอสังหาริมทรัพย์ สามารถติดต่อสอบถามทีม PropertyScoutโดย คลิกที่นี่ ทางทีมงานยินดีช่วยเหลือและตอบทุกข้อสงสัย