ไทยพบผู้ป่วยติดเชื้อฝีดาษลิง รายที่ 5 แล้ว เป็นหญิงไทยอายุ 25 ปี

15 สิงหาคม 2565

นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรคเปิดเผยข้อมูล ไทยพบผู้ป่วยฝีดาษลิงรายที่ 5 แล้ว เป็นหญิงไทยอายุ 25 ปี ประวัติเดินทางมาจากนครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

 สถานการณ์ฝีดาษลิง หรือฝีดาษวานร จากกรณีที่ก่อนหน้านี้ องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ออกมาประกาศเปลี่ยนชื่อสายพันธุ์ไวรัส "มังกี้พ็อกซ์" (Monkeypox) หรือ ฝีดาษลิง ให้เปลี่ยนเป็น "เคลด" (Clade) โดระบุเหตุผลไว้ 2 ประการ คือ 1. เพื่อป้องกันการเลือกปฏิบัติ หรือปกป้องผลกระทบต่อกลุ่มวัฒนธรรม สังคม และสวัสดิภาพสัตว์ และ 2. เหตุผลด้านการจัดเรียงลำดับพันธุกรรมและอนุกรมวิธานไวรัส โดยเหตุผลข้อแรก ได้ระบุว่า 

ไทยพบผู้ป่วยติดเชื้อฝีดาษลิง รายที่ 5 แล้ว เป็นหญิงไทยอายุ 25 ปี

เนื่องจากในอดีต มีการตั้งชื่อโรคหรือไวรัส ตามถิ่นที่พบการแพร่ระบาดหรือสัตว์ที่เป็นพาหะ โดย ฝีดาษลิง เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2501 จึงอาจไม่สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาด อีกทั้งยังมีการใช้ชื่อเรียกของโรค เพื่อสร้างความน่ารังเกียจ หรือ เลือกปฏิบัติต่อกลุ่มคน และวัฒนธรรม ตลอดจนการทำร้ายลิง ขณะเดียวกัน องค์การอนามัยโลก กำลังศึกษาเกี่ยวกับชื่อโรคใหม่ สำหรับโรคจากไวรัส "ฝีดาษลิง" ซึ่งหากใครต้องการเสนอชื่อใหม สามารถเสนอได้ที่เว็บไซต์ขององค์การอนามัยโลก ได้ทันที

ไทยพบผู้ป่วยติดเชื้อฝีดาษลิง รายที่ 5 แล้ว เป็นหญิงไทยอายุ 25 ปี


ขณะที่เหตุผลที่ 2 คือ การตั้งชื่อจะตั้งตามสถานที่ค้นพบโรค ดังนั้น โรคฝีดาษลิงครั้งแรก ซึ่งพบที่ราบลุ่มคองโก (Congo Basin) และมีอัตราการเสียชีวิตประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ จะมีชื่อใหม่ว่า สายพันธุ์ "เคลด1" (Clade I) ส่วนสายพันธุ์ "แอฟริกาตะวันตก" (West African) ซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ จะมีชื่อใหม่ว่า สายพันธุ์ "เคลด2" (Clade II) โดยสายพันธุ์ "เคลด2" จะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ย่อย ได้แก่ สายพันธุ์ "2เอ" (IIa) และสายพันธุ์ "2บี" (IIb) โดยสายพันธุ์ 2บี เป็นกลุ่มสายพันธุ์หลักที่แพร่ระบาดบนโลก นับตั้งแต่ต้นปีนี้
 

 

  ล่าสุด นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่าไทยพบฝีดาษลิงเพิ่ม เป็นผู้ป่วยติดเชื้อฝีดาษวานร รายที่ 5 เป็นหญิงไทยอายุ 25 ปี มีประวัติเดินทางมาจากนครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เข้าไทยเมื่อวันที่ 14 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยมีการคัดกรองเฝ้าระวังที่ด่านควบคุมโรคที่สนามบินสุวรรณภูมิ ประกอบกับมีอาการป่วยตั้งแต่ก่อนเดินทาง จึงให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และเจ้าหน้าที่สังเกตพบตุ่มขึ้นที่ร่างกาย ผลการตรวจติดเชื้อฝีดาษวานร นำตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแล้ว

ไทยพบผู้ป่วยติดเชื้อฝีดาษลิง รายที่ 5 แล้ว เป็นหญิงไทยอายุ 25 ปี


และจากการสอบสวนโรคไม่พบมีผู้สัมผัสใกล้ชิด เนื่องจากเป็นการติดเชื้อจากต่างประเทศ จึงทำให้มีผู้สัมผัสใกล้ชิดเพียงคนที่นั่งใกล้ขณะโดยสารเครื่องบินแค่ 2 คน เป็นชาวต่างชาติ จึงดำเนินการให้ติดตามและเฝ้าระวังต่อไป

ทั้งนี้ นพ.โอภาส กล่าวว่า สำหรับการติดเชื้อฝีดาษวานรนั้น ยืนยันไม่ได้ติดเชื้อง่ายแบบโควิด ผ่านระบบทางเดินหายใจ หรือรับประทานอาหารร่วมกัน แต่เป็นการติดเชื้อแบบสัมผัสใกล้ชิดจริงๆ และไม่ใช่ว่าโรคนี้ติดจากเพศสัมพันธ์ เพียงแต่กิจกรรมที่พบว่าผู้ป่วยติดเชื้อมาจากการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งเป็นการสัมผัสแบบใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทั่วโลกพบผู้ติดเชื้อแล้วกว่า 30,000 คน มีผู้เสียชีวิตประมาณ 6 คนเท่านั้น


อย่างไรก็ตาม สำหรับรายละเอียดของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงในไทยนั้น รายที่ 1 เป็นชายไนจีเรีย, ส่วนรายที่ 2 เป็นชายไทย สัมผัสใกล้ชิดต่างชาติ, รายที่ 3 เป็นชายต่างชาติ ส่วนรายที่ 4 หญิงไทยวัย 22 ปี มีประวัติสัมผัสใกล้ต่างชาติ และรายล่าสุดที่ 5 หญิงไทยเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ

ไทยพบผู้ป่วยติดเชื้อฝีดาษลิง รายที่ 5 แล้ว เป็นหญิงไทยอายุ 25 ปี

 

ขอบคุณข้อมูลจาก Tnews