ลาออกจากงาน ยังได้สิทธิคุ้มครอง 6 เดือน ผู้ที่มีประกันสังคม ประกันตน ม.33

24 สิงหาคม 2565

ประกันสังคม ผู้ประกันตน ม.33  สามารถใช้สิทธิการคุ้มครอง 4 กรณี สำหรับผู้ลาออกจากงาน ยังได้สิทธิคุ้มครอง 6 เดือน ดังต่อไปนี้

 ลาออกจากงาน ยังได้สิทธิคุ้มครอง 6 เดือน สำหรับผู้ที่มี ประกันสังคม ผู้ประกันตน ม.33  โดยสามารถใช้สิทธิการคุ้มครอง 4 กรณีดังนี้ ได้แก่ กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ และกรณีเสียชีวิตส่วนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการได้สิทธิ ต้องส่งเงินสมทบครบก่อนสิ้นสุดความเป็น ผู้ประกันตนมาตรา 33 หมายความว่า กรณีเจ็บป่วย และกรณีทุพพลภาพ ผู้ประกันตนต้องเคยส่งเงินสมทบมาแล้ว 3 เดือน ภายใน 15 เดือน ส่วนกรณีคลอดบุตร ต้องเคยส่งเงินสมทบมาแล้ว 5 เดือน ภายใน 15 เดือน และกรณีเสียชีวิต ต้องเคยส่งเงินสมทบมาแล้ว 1 เดือน ภายใน 6 เดือน ทั้งนี้หากภายในระยะเวลา 6 เดือนหลัง ลาออกจากงาน หรือ ถูกเลิกจ้าง ผู้ประกันตนยังไม่ได้กลับเข้าทำงานกับนายจ้าง หรือกลับเป็น ผู้ประกันตนมาตรา 33 สิทธิประกันสังคมจะสิ้นสุดลงอัตโนมัติ

ลาออกจากงาน ยังได้สิทธิคุ้มครอง 6 เดือน ผู้ที่มีประกันสังคม ประกันตน ม.33

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า กรณี "ผู้ประกันตน" มาตรา 33 ลาออกจากงาน ยังคงได้รับความคุ้มครองจากกองทุนประกันสังคมต่อเนื่องไปอีก 6 เดือน โดยสามารถใช้สิทธิการคุ้มครอง 4 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วยหรือประสบอันตราย คลอดบุตร ทุพพลภาพ และเสียชีวิต

ส่วนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการได้สิทธิ ต้องส่งเงินสมทบครบก่อนสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หมายความว่า

  • กรณีเจ็บป่วย และกรณีทุพพลภาพ ผู้ประกันตนต้องเคยส่งเงินสมทบมาแล้ว 3 เดือน ภายใน 15 เดือน
  • กรณีคลอดบุตร ต้องเคยส่งเงินสมทบมาแล้ว 5 เดือน ภายใน 15 เดือน
  • กรณีเสียชีวิต ต้องเคยส่งเงินสมทบมาแล้ว 1 เดือน ภายใน 6 เดือน

ทั้งนี้ หากภายในระยะเวลา 6 เดือนหลังลาออกจากงานหรือถูกเลิกจ้าง ผู้ประกันตนยังไม่ได้กลับเข้าทำงานกับนายจ้าง หรือกลับเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 สิทธิประกันสังคมจะสิ้นสุดลงอัตโนมัติ

เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม แนะว่า หากผู้ ประกันตนมาตรา 33 ที่ลาออกจากงานหรือถูกเลิกจ้าง ต้องการรักษาสิทธิประโยชน์ประกันสังคมให้คุ้มครองต่อเนื่อง ภายในระยะเวลา 6 เดือนหลังลาออกจากงาน สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 โดยจ่ายเงินสมทบเพียงเดือนละ 432 บาท และยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เหมือนลูกจ้างผู้ ประกันตน มาตรา 33 ยกเว้นกรณีว่างงานเพียงกรณีเดียว

 

ขั้นตอนและเอกสารในการรับเงินทดแทนการขาดรายได้

ผู้ประกันตนสัญชาติไทย

แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส.2-01)

บัตรประชาชนตัวจริง

สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี 10 ธนาคารโดยไม่มีค่าธรรมเนียม ดังนี้
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารออมสิน
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)

ผู้ประกันตนต่างชาติ/คนต่างด้าว

แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส.2-01)

ใบอนุญาตทำงาน (Work permit)

สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) หรือ หนังสือสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว

ใบเสร็จรับเงินตัวจริง ถ้าขาดรายได้ไม่ใช้ใบเสร็จ

ใบรับรองแพทย์ตัวจริง

สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี 10 ธนาคาร โดยไม่มีค่าธรรมเนียม ดังนี้
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารออมสิน
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

ที่มา:สำนักงานประกันสังคม