หมอธีระ เปิดข้อมูลวิจัย อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นหลังติดเชื้อโควิด-19

22 ธันวาคม 2565

"หมอธีระ วรธนารัตน์" เปิดข้อมูลวิจัย อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นหลังติดเชื้อโควิด-19 แนะควรป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ หรือไม่ให้ติดเชื้อซ้ำ

วันที่ 22 ธ.ค. 65 "หมอธีระ" หรือ รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์เฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ถึงสถานการณ์โรคโควิด อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นหลังติดเชื้อโควิด-19

หมอธีระ เปิดข้อมูลวิจัย อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นหลังติดเชื้อโควิด-19

22 ธันวาคม 2565 เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 441,609 คน ตายเพิ่ม 910 คน รวมแล้วติดไป 659,270,708 คน เสียชีวิตรวม 6,676,873 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส ไต้หวัน และฮ่องกง

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 15 ใน 20 อันดับแรกของโลก

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 94.86 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 85.93

หมอธีระ เปิดข้อมูลวิจัย อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นหลังติดเชื้อโควิด-19

อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นหลังติดเชื้อโควิด-19

ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิสซูรี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาลักษณะอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นในกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคไวรัสโควิด-19 โดยเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจอื่น เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และกลุ่มที่ไม่ได้ติดเชื้อ

ศึกษาในผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 จำนวน 17,487 คนจาก 122 โรงพยาบาลในสหรัฐอเมริกา จนถึง 14 เมษายน 2565

หมอธีระ เปิดข้อมูลวิจัย อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นหลังติดเชื้อโควิด-19

 

สาระสำคัญคือ พบว่าการติดเชื้อโรคโควิด-19 นั้นจะเสี่ยงต่อการเกิดอาการผิดปกติหลังจากติดเชื้อแตกต่างจากไวรัสทางเดินหายใจอื่นอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่

ใจสั่น (palpitation)

ผมร่วง (hair loss)

อ่อนเพลีย/เหนื่อยล้า (fatique)

เจ็บหน้าอก (chest pain)

หอบเหนื่อย (dyspnea)

และปวดข้อ (joint pain)

ผลการศึกษานี้ ก็ดูจะสอดคล้องกับปรากฏการณ์ที่เราเห็นในปัจจุบันทางคลินิก ที่มีผู้ป่วย Long COVID จำนวนมากที่มาพบแพทย์ด้วยอาการผิดปกติต่างๆ ดังกล่าว และตอกย้ำว่า โควิด-19 นั้นไม่กระจอก ไม่ใช่หวัดธรรมดา ไม่ใช่หวัดใหญ่

หมอธีระ เปิดข้อมูลวิจัย อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นหลังติดเชื้อโควิด-19

การติดเชื้อแต่ละครั้ง เสี่ยงต่อป่วยรุนแรง เสียชีวิต และเสี่ยงต่อภาวะผิดปกติเรื้อรังอย่าง Long COVID ได้ ควรป้องกันตัว ไม่ให้ติดเชื้อ หรือไม่ให้ติดเชื้อซ้ำ ย่อมดีที่สุด ไปฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ครบตามกำหนด ใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ประมาท เลี่ยงที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี ที่สำคัญมากคือ การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก จำนวนเสียชีวิตส่วนเกินจากทุกสาเหตุ นับตั้งแต่เริ่มมีการระบาดมานั้น สะท้อนถึงสถานการณ์ของแต่ละประเทศได้อย่างดี

 

ขอบคุณ Thira Woratanarat

ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมที่ Tnews