จากกรณีที่เพจดังเปิดภาพซ่อมเรือหลวงสุโขทัยเมื่อ 2ปีที่แล้ว สงสัยทำไมบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนแค่1ล้านบาท พร้อมมีพนักงานแค่20คน ได้รับสัมปทานซ่อมเรือรบมูลค่า5พันกว่าล้านบาท แถมบริษัทดังกล่าวยังมีพนักงานส่วนใหญ่เป็นพนักงานบัญชี ไม่ใช่ช่าง ยืนยันอยากเห็นหลักฐานเอกสารการว่าจ้าง และข้อมูลต่างๆ ที่มีการตรวจสอบมาตรฐานแล้ว
โดย เพจCSI LAโพสต์ล่าสุดว่า นี่คือภาพการซ่อมทำเรือหลวงสุโขทัยเมื่อ 2 ปีที่แล้วทำไมบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนเพียง 1 ล้านบาท พนักงาน 20 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพนักงานบัญชี ถึงได้รับสัมปทานซ่อมบำรุงเรือรบที่มีมูลค่า 5 พันกว่าล้านบาทที่ซื้อมาด้วยเงินภาษีประชาชน เมื่อตรวจสอบในสัญญา TOR แล้ว ดูเหมือนว่าบริษัทนี้ทำหน้าที่เพียงจัดจ้างหาแรงงานและอุปกรณ์ซ่อมแซมเท่านั้น ส่วนอู่แห้งก็ใช้ของ"อรม."
ขอย้ำถามอีกครั้งว่า บริษัทที่รับสัมปทานในการซ่อมแซมเรือ ใช้แผ่นเหล็ก (high-tensile steel) และลวดเชื่อมชนิดเดียวกับที่กำหนดไว้หรือไม่ ซ่อมตรงจุดที่สมควรจะซ่อมหรือไม่ โดยเฉพาะจุด K6 A7 A5 อย่างที่เสนอในโพสต์ที่แล้ว ส่วนผู้เชื่อมเรือมีใบเซอร์รับรองในการซ่อมเรือรบหรือไม่ ผ่านการฝึกทางนี้โดยตรงหรือไม่ ด้วยคำเคารพอย่างสูง พวกเราอยากเห็นหลักฐานที่เป็นเอกสารและ Data ว่ามีการตรวจสอบมาตรฐานแล้ว ไม่ใช่แค่คำพูดลอยๆ
ใครอยากรู้ว่าบริษัทไหนได้สัมปทานโปรดย้อนเข้าไปดู โพสต์ที่แล้ว ที่นี่
ซึ่งได้มีคอมเมนต์ของชาวเน็ตที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับงานด้านซ่อมบำรุงเฉพาะด้าน ได้เปิดเผยแง่มุมที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์ไว้ว่า ในฐานะที่เคยสัมผัสงานด้านนี้มา การจะซ่อมบำรุงอุปกรณ์ที่รับแรงกด แรงกระแทรกสูง จำเป็นต้องใช้เหล็กที่มาตรฐานจากต่างประเทศเท่านั้น เหล็กในไทยที่ผลิตไม่สามารถทำมาตรฐานได้ตามสเปค และ ก่อนนำเหล็กมาทำการซ่อม จะต้องดู certificate เหล็กก่อน ว่าค่า Yield , Tensile, Elonggation เท่าไหร่ ค่าส่วนผสมที่ใช้ในเหล็กจริงเท่าไหร่ เช่น คาร์บอนเพราะค่าส่วนผสม กับ ผลทดสอบจะต้องออกมาสอดคล้องกับ certificate
แต่อย่าเพิ่งเชื่อ certificate เขานะ เราต้องส่งชิ้นส่วนนี้ไปทำการทดสอบจริงก่อนใช้งานว่าได้ตาม spec จริงไหม ส่วนลวดเชื่อมในการซ่อมต้องเลือกให้เหมาะสมกับเหล็กนั้นๆ ถ้าเอาลวดเชื่อมบ้านๆมาเชื่อมยังไงก็ Crack ส่วนพนักงานเชื่อม จะต้องผ่านการอบรมเชื่อมท่าพื้นฐาน 3G 4G และ ระดับสุง 6G 6GR และ การเชื่อมใต้น้ำ ต้องมี certificate
ส่วนบริษัทต้องมีวิศวกร QA QC คอยตรวจการซ่อม อยู่ร่วมกับพนักงานเชื่อม และ ทำการตรวจสอบแนวเชื่อม เริ่มตั้งแต่ ndt (non destructive) โดยใช้สารแทรกซึม เมื่อผ่านแล้ว บางที่อาจจะต้องมีการใช้อัลตร้าโซนิค และ สุดท้ายจะต้องมีการ X-ray joint แต่ละจุดเพื่อวิเคราะห์ defect ด้านใน ต้องไม่มีตามด (polosity) แตกร้าว (crack)ด้านใน บริษัทที่ตรวจสอบในไทยหลักที่ทั่วโลกยอมรับ มีหลักๆที่เคยเห็นแค่ 2 เจ้า 1. บมจ.ศิวะเทรดดิ้ง 2.บจก. Thai NDT ต้องให้เขามาตรวจสอบ และ ทำการออก cer ให้ว่าผ่านมาตรฐานหรือไม่ ถ้าผ่านจะมี cer จากบริษัทเหล่านี้คอยรับรอง ซึ่งจะมีค่าใช้จ่าย แต่คุ้มค่า เพราะได้รับ WARANTY
ก่อนหน้านี้ทางกองทัพเรือได้ชี้แจงหลังโดนโลกออนไลน์เผยข้อมูลเรื่องแผ่นเหล็กซ่อมบำรุง เรือหลวงสุโขทัยไม่ผ่านมาตรฐาน ซึ่ง พลเรือเอก ปกครอง มนธาตุผลิน โฆษกกองทัพเรือ เปิดเผยว่า ตามที่มีสื่อสังคมออนไลน์ บางสำนักวิพากษ์วิจารณ์การซ่อมบำรุงเรือหลวงสุโขทัย โดยระบุว่าแผ่นเหล็กที่ใช้ซ่อมบำรุง "เรือหลวงสุโขทัย" ในปี 2561 เคยมีปัญหา ไม่ผ่านมาตรฐานกองควบคุมคุณภาพการต่อเรือ เพราะพบว่าแผ่นเหล็กตัวเรือใต้แนวน้ำบางกว่าที่กำหนด นั้น จากการตรวจสอบพบว่า เป็นข้อมูลที่คลาดเคลื่อน ซึ่งจากการตรวจสอบกับ กรมอู่ทหารเรือ ซึ่งเป็นหน่วยที่มีหน้าที่ในการซ่อมและสร้างเรือให้กับกองทัพเรือ
โดย พลเรือโท สุทธิศักดิ์ บุตรนาค เจ้ากรมอู่ทหารเรือ ได้ให้ข้อมูลว่า ข้อมูลที่มีการนำเสนอและวิพากษ์วิจารณ์นั้น เป็น ข้อมูลการวัดความหนาแผ่นเหล็กตัวเรือของเรือหลวงสุโขทัย ในห้วงการซ่อมทำเรือหลวงสุโขทัยตามวงรอบที่อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ ในระหว่าง วันที่ 12 กรกฎาคมถึง 3 กันยายน 2561 โดยกองควบคุมคุณภาพ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ ได้ทำการวัดความหนา เมื่อวันที่ 23-24 กรกฎาคม 2561 เพื่อให้ทราบสภาพแผ่นเหล็กตัวเรือทั้งหมดตลอดลำ ซึ่งจะมีแผ่นเหล็กบางจุดมีความหนาน้อยลงจากเดิมเกิน 25% จำนวน 13 จุดซึ่งเป็นข้อมูลจริงตามที่มีการนำเสนอในสื่อสังคมออนไลน์ แต่ยังไม่ใช่ข้อเท็จจริงทั้งหมด เนื่องจากขาดข้อมูลการซ่อมทำของอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช
ก่อนหน้านี้ทางกองทัพเรือได้ชี้แจงหลังโดนโลกออนไลน์เผยข้อมูลเรื่องแผ่นเหล็กซ่อมบำรุง เรือหลวงสุโขทัยไม่ผ่านมาตรฐาน ซึ่ง พลเรือเอก ปกครอง มนธาตุผลิน โฆษกกองทัพเรือ เปิดเผยว่า ตามที่มีสื่อสังคมออนไลน์ บางสำนักวิพากษ์วิจารณ์การซ่อมบำรุงเรือหลวงสุโขทัย โดยระบุว่าแผ่นเหล็กที่ใช้ซ่อมบำรุง ”เรือหลวงสุโขทัย” ในปี 2561 เคยมีปัญหา ไม่ผ่านมาตรฐานกองควบคุมคุณภาพการต่อเรือ เพราะพบว่าแผ่นเหล็กตัวเรือใต้แนวน้ำบางกว่าที่กำหนด นั้น จากการตรวจสอบพบว่า เป็นข้อมูลที่คลาดเคลื่อน ซึ่งจากการตรวจสอบกับ กรมอู่ทหารเรือ ซึ่งเป็นหน่วยที่มีหน้าที่ในการซ่อมและสร้างเรือให้กับกองทัพเรือ
ซึ่งหากพบว่าความหนาลดลงกว่า 25% ของความหนาแผ่นเหล็กเดิม ซึ่งเกิดจากการผุกร่อนตามระยะเวลา ก็จะทำการตัดเปลี่ยนแผ่นเหล็กตัวเรือที่มีการชำรุด โดยการตัดเปลี่ยนบรรจุแผ่นเหล็กใหม่ด้วยแผ่นเหล็กทนแรงดึงคุณภาพสูง High Tensile ซึ่งเมื่อทำการตัดเปลี่ยนแผ่นเหล็กเสร็จแล้วจึงจะเข้าสู่กระบวนการของการทำสีตัวเรือใต้แนวน้ำตามมาตรฐานเพื่อป้องกันการผุกร่อนของตัวเรือ ป้องกันเพรียง นอกจากนั้นจะมีงานที่ไม่สามารถซ่อมทำขณะเรือลอยอยู่ในน้ำได้เช่น การตรวจสอบและซ่อมทำลิ้นน้ำที่อยู่ใต้แนวน้ำทั้งหมด รวมถึงการติดสังกะสีกันกร่อน
เมื่อการซ่อมทำตัวเรือใต้แนวน้ำเสร็จเรียบร้อย จึงจะนำเรือออกจากอู่แห้งและทำการสูบน้ำเข้าอู่แห้งให้เรือลอยพ้นหมอนรองรับเรือ เพื่อตรวจสอบการรั่วของตัวเรือ และงานใต้แนวน้ำที่ซ่อมทำโดยหากพบการรั่วของน้ำเข้าตัวเรือจะทำการแก้ไขและหากแก้ไขไม่ได้จำเป็นต้องนำเรือนั่งหมอนในอู่แห้งใหม่ ทั้งนี้ภายหลังการซ่อมทำแล้วได้มีการตรวจสอบแนวเชื่อมด้วย Visual Check และ Vacuum Test ตามมาตรฐานคุณภาพ ของกรมอู่ทหารเรือก่อนการทดลองเรือในทะเลจริงเพื่อส่งมอบให้กับกองเรือยุทธการ เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2564 โดยที่ผ่านมา เรือหลวงสุโขทัย ได้มีการออกปฏิบัติราชการหลายครั้ง และสามารถปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบหมาย ทั้งนี้ ขอยืนยันว่า กรมอู่ทหารเรือเป็นหน่วยงานที่มีมาตรฐานและความเชี่ยวชาญการซ่อมและสร้างเรือของกองทัพเรือ โดยกรมอู่ทหารเรือที่มีมาอย่างยาวนาน ผ่านผลงานการซ่อมเรือและสร้างเรือมามากมาย
ด้าน โฆษกกองทัพเรือกล่าวว่า กองทัพเรือจะบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ ให้สามารถดำรงอำนาจกำลังรบในการรักษาอธิปไตยและช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มกำลัง ส่วนข้อมูลที่มีการนำเสนอผ่านสื่อสังคมออนไลน์นั้น หลายความคิดเห็นอยู่บนพื้นฐานของการมีข้อมูลที่จำกัดและไม่ได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างครบถ้วน หรือบางครั้งมีการนำเอาความคิดเห็นจากแหล่งข่าวที่ไม่ปรากฏมานำเสนอ ประเด็นเหล่านี้อาจสร้างความสับสนให้กับสังคมทำให้พี่น้องประชาชนเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง
cr. CSI LA
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมที่ Tnews