ประกันสังคมมาตรา 39 สมัครแล้วคุ้มครองอะไรบ้าง ?
ผู้ประกันตนมาตรา 39 คือ บุคคลที่เคยทำงานและเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาก่อน แล้วออกจากงานแต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคม ซึ่งนำส่งเงินสมทบเท่ากับ 432 บาท/เดือน โดยไม่ขาดการส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 9 เดือน โดยได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย, ทุพพลภาพ, คลอดบุตร, ตาย, สงเคราะห์บุตร และชราภาพ
คุณสมบัติของผู้สมัครประกันสังคม ม. 39 เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และออกจากงานแล้ว ไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ออกจากงาน
หลักฐานการสมัครแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 (สปส.1-20)
กรณีประสงค์จะชำระเงินสมทบโดยหักบัญชีเงินฝากธนาคาร ให้แนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อ และเลขที่บัญชีของผู้ประสงค์สมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องเงินสมทบที่ต้องนำส่งเดือนละ 432 บาท
เงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ คือ เดือนละ 4,800 บาท เท่ากันทุกคน โดยคิดจากอัตราเงินสมทบ 9% (9% x 4,800 = 432) ซึ่งผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี (เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร และชราภาพ) ต่อเนื่องจากการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33
ช่องทางการชำระเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 39
หักบัญชีเงินฝากของธนาคาร ได้แก่
จ่ายผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ได้แก่
จ่ายผ่านเคาน์เตอร์หน่วยบริการ ได้แก่
ที่ทำการไปรษณีย์ด้วยระบบ Pay at Post ณ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา
เหตุที่ทำให้ผู้ประกันตนมาตรา 39 สิ้นสภาพ
ประกันสังคม ม.39 ลดหย่อนภาษีได้