จากกรณี วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 มีรายงานว่า กระทรวงแรงงาน ได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม โดยจะมีการปิดรับฟังความคิดเห็นวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 สามารถดูรายละเอียดได้ ที่นี่
ทั้งนี้ สาระสำคัญในกฎกระทรวงดังกล่าวนั้น มีการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงเอาไว้ดังนี้
- ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2569 จํานวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 17,500 บาท
- ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2570 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2572 จํานวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 20,000 บาท
- ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2573 เป็นต้นไป จํานวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 23,000 บาท
จากกฎกระทรวงฉบับที่ 7 ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 พบว่า จำนวนเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบประกันสังคม ม.33 ขั้นต่ำอยู่ที่ 1,650 บาท ขั้นสูงสุดจะอยู่ที่ 15,000 บาท โดยจ่ายในอัตราร้อยละ 5 ตกเดือนละ 750 บาท
และนั่นหมายความว่า หากมีการใช้กฎกระทรวงฉบับใหม่จริง เงินสมทบประกันสังคมของผู้ประกันตนมาตรา 33 จะต้องมีการปรับเพิ่มขึ้นตามปีตั้งแต่ พ.ศ. 2567 - พ.ศ. 2573 โดยจำนวนเงินสมทบจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ผกผันตามเพดานค่าจ้างขั้นสูง ดังนี้
- พ.ศ. 2567 - 2569 ผู้ประกันตน ม.33 ที่เงินเดือนมากกว่า 17,500 บาท จะจ่ายเงินประกันสังคมสูงสุดที่ 875 บาท
- พ.ศ. 2570 - 2575 ผู้ประกันตน ม.33 ที่เงินเดือนมากกว่า 20,000 บาท จะจ่ายเงินประกันสังคมสูงสุดที่ 1,000 บาท
- ตั้งแต่ พ.ศ. 2573 ผู้ประกันตน ม.33 ที่เงินเดือนมากกว่า 23,000 บาท จะจ่ายเงินประกันสังคมสูงสุดที่ 1,150 บาท
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมที่ Tnews