ไขข้อสงสัย! นั่งโดยสารกระบะท้าย ผิดกฎหมายหรือไม่ ?
ตาม พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522 และ พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 21 ระบุว่า ห้ามใช้รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกิน 1,600 กก. เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเป็นรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล รวมถึงระยะหลังยังมีมาตรการบังคับให้ผู้โดยสารทุกที่นั่งต้องคาดเข็มขัดนิรภัย
ดังนั้น การนั่งโดยสารบริเวณกระบะท้ายจึงถือเป็นความผิดตามกฎหมาย ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถไม่ตรงตามประเภทที่จดทะเบียนไว้ หากฝ่าฝืนมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท
จากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นหลายครั้ง การนั่งโดยสารบนกระบะท้าย แต่ว่าหากมีความจำเป็นต้องนั่งโดยสารกระบะท้ายจริงๆ จะต้องปฏิบัติอย่างไรเพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้โดยสารทุกคน ซึ่งสำหรับการบังคับใช้มาตรการห้ามนั่งแค็บ-ท้ายกระบะออกมา แต่ภายหลังจากมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากประชาชน จึงได้มีการอนุโลมให้สามารถนั่งในแค็บและท้ายกระบะได้สูงสุดไม่เกิน 6 คน โดยเพจ "ขับขี่ปลอดภัย by DLT” ได้ให้คำแนะนดังต่อไปนี้
โดยตามประกาศของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การยกเว้นให้คนโดยสารไม่ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยในรถบางประเภท พ.ศ. 2566 กำหนดให้มีผู้โดยสารในตอนท้ายกระบะได้สูงสุดไม่เกิน 6 คน และนั่งโดยสารในแค็บได้สูงสุดไม่เกิน 3 คน โดยไม่จำเป็นต้องรัดเข็มขัดนิรภัย และให้ใช้ความเร็วสูงสุดไม่เกิน 60 กม./ชม.
แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันก็ยังคงมีการผ่อนคลายความเข้มงวดเกี่ยวกับการนั่งโดยสารกระบะท้ายในบางกรณี เช่น ช่วงเทศกาลที่มีผู้คนเดินทางกลับภูมิลำเนาเป็นจำนวนมาก กรณีนี้อาจถูกตำรวจเรียกตักเตือนตามรายทาง แต่ก็มีบางกรณีที่ห้ามเด็ดขาด เช่น ห้ามขึ้นทางพิเศษ เนื่องจากมีข้อกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าห้ามให้รถกระบะบรรทุกผู้โดยสารใช้ทางพิเศษโดยเด็ดขาด เนื่องจากอาจเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดขึ้นได้หากคุณมีความจำเป็นต้องบรรทุกผู้โดยสารจริง ๆ ควรนำรถไปติดตั้งโครงหลังคากระบะ และจดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อจะได้เป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้โดยสาร