อีกหนึ่งประเด็นที่ประชาชนจับตามองอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับประเด็นที่ ซีเซียม-137 ที่สูญหายไปจากโรงไฟฟ้าแห่งหนึ่งใน นิคมอุตสาหกรรม 304 ต.ท่าตูม อ.ศรีมหาโพธิ ปราจีนบุรี ก่อนมาพบที่โรงหลอมเหล็กในกบินทร์บุรีและพบอีกว่าซีเซียม-137ถูกบดและหลอมไปแล้ว
สำหรับเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2566 ที่ผ่านมา "ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย" ได้โพสต์ข้อมูลอันตรายของเหตุการณ์ครั้งนี้เอาไว้ว่า
หายนะแท่งซีเซี่ยมถูกหลอมในโรงงานหลอมเหล็กมีทั้งฝุ่นที่ปล่อยออกจากปล่องควัน ฝุ่นแดงในถุงกรองอากาศ ขี้เถ้าหนักรวมทั้งฝุ่นในโรงงานคืออนุภาคซีเซี่ยมที่ปล่อยรังสีแกมมาและเบต้าออกมาคือสารสารก่อมะเร็ง ในอากาศ ในพืช ผัก ผลไม้ แหล่งน้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน รัศมีอย่างน้อย5กม.ระยะยาวอาจมีคนป่วยมากขึ้นเรื่อยๆ
จากนั้น ดร.สนธิ ได้โพสต์อีกครั้งถึงเรื่องความจริงที่ต้องยอมรับและจัดการกับซีเซียม137 ที่ถูกหลอมไปแล้ว จี้บอกความจริงกับประชาชน ระบุ
ความจริงที่ต้องยอมรับเพื่อนำไปสู่การจัดการสำหรับCs137ที่ถูกหลอมไปแล้ว
1.ข้อมูลกรมโรงงานแท่งCs137ถูกหลอมกับเศษเหล็กแล้วที่โรงงานเคพีพีซึ่งเป็นโรงงานหลอมเหล็กใน อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรีแลัวได้นำฝุ่นแดง 12.4 ตันในโรงงานไปสู่กระบวน การรีไซเคิล ที่ จ.ระยอง ตั้งแต่วันที่ 2 มี.ค. 66
2.กระบวนการหลอมเหล็กในเตาหลอม จะนำเศษเหล็ก(ซึ่งกรณีนี้มีแท่งCs137มารวมด้วย) มาอัดกันเป็นก้อนแล้วเทเข้าสู่เตาหลอมที่มีอุณหภูมิสูงถึง1200องศาขณะที่เพิ่มความร้อนจะมีฝุ่นเหล็กละเอียดออกมาลอยผ่นHoodขึ้นไปสู่ถุงกรองฝุ่นหรือBaghouse filterซึ่งจะทำ การกรองฝุ่นละเอียดไว้ได้ถึง90%อีก10% จะลอยออกไปที่ปลายปล่องสู่บรรยากาศขณะที่ก้นเตาหลอมจะมีตะกรันเหล็กหรือSlagที่เผาไหม้ไม่หมดกองอยู่ด้วย
3.ดังนั้นที่ปลายปล่องมีฝุ่นละเอียดกับCs137 ระบายออกไปสู่บรรยากาศรอบๆโรงงานหลอมเหล็กซึ่งอาจไปไกลมากกว่า5กม. ส่วนฝุ่นแดงกับCs137ในถุงกรองหรือBaghouse filterจะถูกบรรจุในถุงขนาดใหญ่นำไปรีไซเคิลยังโรงงานบริษัท เอ็น เอฟ เอ็ม อาร์ จำกัด หนองแฟบ ห้วยโป่ง จ.ระยองเพื่อสกัดธาตุสังกะสีออกมาซึ่งการสกัดต้องใช้การถลุงที่ใช้ความร้อนสูงจึงอาจมีCs137ปนเปื้อนออกมาที่ปลายปล่องสู่บรรยากาศรอบๆโรงงานนั้นในจ.ระยองด้วยส่วนตะกรันเหล็กหรือSlagทราบว่าโรงงานหลอมเอาไปฝังกลบไว้รอบๆโรงงาน ดังนั้นจึงอาจมีสารCs137ปนเปื้อนในดิน น้ำผิวดินและน้ำใต้ดินได้
4.สิ่งจะเกิดขึ้นในอนาคตหากสารCs137ปะปนในสิ่งแวดล้อมทั้งอากาศ ดิน น้ำผิวดิน น้ำใต้ ดินและอาจเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศ วิทยาเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ทั้ง การหายใจและทางอาหาร เช่น Cs137ลงในน้ำเข้าสู่ตัวปลาและมนุษย์จับปลามากิน เป็นต้นหรือหาย ใจเอาฝุ่นของCs137เข้าไปจะสะสมอยู่ในร่าง กายซึ่งสารCs137จะปล่อยรังสีแกมม่าและเบต้าออกมา การสลายตัวครึ่งชีวิตใช้เวลาถึง 30ปี รังสีที่แผ่ออกมาจากฝุ่นCs137จะทำให้เซลในร่างกายเกิดMutationหรือกลายเป็นเซลที่ผิดปรกติ บางส่วนของรังสีจะไปกระตุ้น โครโมโซมในยีนส์ให้เปลี่ยนรูป สุดท้ายประ มาณ 5-10 ปีก็อาจกลายเป็นมะเร็งได้
5.ผลกระทบต่อสุขภาพในปัจจุบันอาจไม่ค่อยเห็นแต่ระยะยาวหากรับสารนี้เข้าไปไม่ว่าทาง การหายใจหรือการกินมีผลกระทบแน่ ดังนั้นภาครัฐต้องเฝ้าระวังสุขภาพของพนักงานและประชาชนรวมทั้งในสิ่งแวดล้อมและในอาหารสัตว์น้ำ พืช ผัก ผลไม้ที่ปลูกใกล้เคียงโรงงานอย่างน้อย1-2ปี ให้แน่ใจว่าไม่มีสารCs137 ตก ค้างในห่วงโซ่อาหารแล้วจึงค่อยวางมือ ขณะเดียวกันต้องบอกความจริงเกี่ยวกับผลของการตรวจวัดรังสีและผลกระทบต่อสุขภาพให้ประ ชาชนทราบรวมทั้งเฝ้าระวังสุขภาพประชาชนกลุ่มเสียงในรัศมี 5 กิโลเมตรอย่างน้อย 5 ปีด้วย
ขอบคุณ Sonthi Kotchawat