วันที่ 29 มีนาคม 2566 เปิดภาพถ่ายจากดาวเทียมเผยภาพพายุฤดูร้อนกำลังก่อตัว พร้อมประกาศเตือนภัยล่าสุดจากกรมอุตุนิยมวิทยา พายุฤดูร้อนถล่มเป็นวันสุดท้าย มีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง
โดยล่าสุดประกาศกรมอุตุนิยมวิทยาฉบับที่ 10 เตือนภัยพายุฤดูร้อนถล่มวันนี้เป็นวันสุดท้าย เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 10 (89/2566) (มีผลกระทบถึงวันที่ 29 มีนาคม 2566)
บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้แล้ว ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดหลายพื้นที่
ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นในวันที่ 29 มีนาคม 2566 โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น
โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย
โดยพื้นที่ได้รับผลกระทบมีดังนี้
วันที่ 29 มีนาคม 2566
จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ประกาศ ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2566 เวลา 05.00 น.
กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2566 เวลา 17.00 น.
(ลงชื่อ) ชมภารี ชมภูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา
ขอบคุณ กรมอุตุนิยมวิทยา