จากกรณีที่ นายพรศักดิ์ ภู่อิ่ม รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กล่าวว่า จากการตรวจสอบคุณภาพน้ำในแหล่งทั่วประเทศช่วงเดือนม.ค.-มี.ค.นี้ ภาพรวมคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดีมาก 4% (3 แหล่งน้ำ) เกณฑ์ดี 52% (35 แหล่งน้ำ) เกณฑ์พอใช้ร้อยละ 31 (21 แหล่งน้ำ) เกณฑ์เสื่อมโทรม 13% (9 แหล่งน้ำ)
ทั้งนี้ คุณภาพน้ำแหล่งน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี และเกณฑ์พอใช้ขึ้นไป มีความปลอดภัยเพียงพอที่จะนำมาเล่นสงกรานต์ได้ ส่วนแหล่งน้ำที่เสื่อมโทรมส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณปลายน้ำ ซึ่งเป็นช่วงที่แม่น้ำไหลผ่านชุมชนเมือง แหล่งอุตสาหกรรมและการปศุสัตว์
รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า จากการประเมินผลคุณภาพน้ำช่วงเดือน ม.ค.- มี.ค.นี้ โดยพิจารณาจากจุดตรวจวัดที่มีค่าแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม (FCB) มากกว่า 4,000 MPN/100 มิลลิลิตร
พบพื้นที่ของแหล่งน้ำที่ไม่ควรสัมผัสน้ำโดยตรงหรือไม่ควรใช้น้ำในการเล่นสงกรานต์ 22 จุดดังนี้
สำหรับคุณภาพน้ำทะเลบริเวณชายหาดท่องเที่ยวทั่วประเทศที่ คพ.ได้ดำเนินการเก็บตัวอย่าง ระหว่างเดือนก.พ.-มี.ค.นี้ จำนวน 77 หาด แบ่งออกเป็นชายฝั่งตะวันออกจำนวน 13 หาด อ่าวไทยตอนในจำนวน 14 หาด อ่าวไทยฝั่งตะวันตกจำนวน 15 หาด และชายฝั่งอันดามันจำนวน 35 หาด พบว่าส่วนใหญ่มีค่าเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล สามารถทำกิจกรรมนันทนาการทางน้ำได้ตามปกติ และจากการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งทั่วประเทศ ประจำปี 2565 พบว่า ชายหาดที่มีคุณภาพน้ำทะเลดีที่สุด 10 อันดับแรก ได้แก่
หาดทุ่งวัวแล่น จ.ชุมพร มีผลเกณฑ์คุณภาพน้ำทะเลอยู่ในระดับดีมาก
สำหรับน้ำที่เหมาะสม สำหรับนำมาใช้เล่นน้ำสงกรานต์ ควรเป็นน้ำที่สะอาดไม่มีสิ่งแปลกปลอมหรือ การเล่นน้ำไม่ควรใช้น้ำสกปรก เนื่องจากน้ำดังกล่าวจะปนเปื้อนด้วยเชื้อแบคทีเรียและพยาธิ รวมถึงสารเคมีที่เป็นพิษ หากเป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ควรมีการสังเกตสภาพทั่วไปของแหล่งน้ำ ได้แก่ กลิ่น คราบน้ำมัน เศษอาหาร ขยะ หรือสิ่งเน่าเสียและสภาพแวดล้อม