ประกาศแล้ว คุมเข้ม ซื้อ-ขาย "ไซยาไนด์" ต้องลงทะเบียนแจ้งเหตุผล เริ่มวีคหน้า

ล่าสุดวันที่ 5 พ.ค. 2566 มีการประกาศจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม คุมเข้มผู้ที่ซื้อไซยาไนด์ ต้องแจ้งเหตุผลการใช้ก่อนทุกครั้ง
จากกรณีข่าวสะเทือนขวัญ แอม ไซยาไนด์ ที่ได้ใช้สารพิษ โพแทสเซียมไซยาไนด์ ก่อเหตุวางยากว่า 13 ราย ละยังมีผู้เสียหายทยอยเข้าเรียกร้องความเป็นธรรมและกำลังเป็นข่าวใหญ่ที่สังคมให้ความสนใจอยู่ในขณะนี้
ต่อมาสืบพบว่ามีนางเอก 100 ล้าน อย่าง ไอซ์ ปรีชญา ถูกพบว่าสั่งซื้อไซยาไนด์ล็อตเดียวกับแอมไปด้วย แต่ให้เหตุผลว่าใช้ไล่สัตว์มีพิษที่บ้าน
ล่าสุดมีรายงานว่า นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ออกกฎเข้มควบคุมการซื้อขายไซยาไนด์ เริ่มใช้สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป ดังนี้
วันที่ 5 พ.ค.66 นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยว่า กรมโรงงานฯ หารือร่วมกับผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ถึงแนวทางการควบคุมใช้สารไซยาไนด์ให้ถึงกลุ่มผู้ใช้รายย่อยว่านำไปทำอะไร เพิ่มเติมจากกฎหมายปัจจุบันที่กำหนดให้ร้านค้าปลีกรายใด ครอบครองสารเคมีอันตรายเกิน 100 กิโลกรัม ภายใน 6 เดือน จะต้องรายงานมายังกรมฯ ต่อไปอาจจะให้ร้านค้าปลีกทุกราย ที่จำหน่ายสารโซเดียมไซยาไนด์ โพแทสเซียมไซยาไนด์ ให้ผู้ซื้อรายย่อยรายใด
รูปแบบต้องลงทะเบียนคล้ายกับซื้อซิมโทรศัพท์มือถือ ให้ระบุว่า นำไปใช้เพื่ออะไร อาทิ นำไปในร้านชุบเงินชุบทอง หรือใช้ในห้องแล็บ หากหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องแล้ว คาดว่าจะประกาศเงื่อนไขการใช้สารไซยาไนด์ ภายในสัปดาห์หน้า
ไทยผลิตสารไซยาไนด์ไม่ได้เอง ต้องนำเข้าเท่านั้น ปัจจุบันมีผู้นำเข้าสารโพแทสเซียมไซยาไนด์ จำนวน 14 ราย ถ้ามาตรการเพิ่มเติมผ่านการเห็นชอบจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องแล้ว จะแจ้งผู้นำเข้าทั้งหมด โดยการกำหนดเป็นเงื่อนไขท้ายใบอนุญาต เพื่อให้ผู้ที่ซื้อต่อจากผู้นำเข้าทุกราย ทั้งโรงงาน ร้านค้าปลีก ผู้ใช้รายย่อย ต้องปฏิบัติตามแนวทางใหม่ เรื่องการควบคุมดูแลการใช้สารโพแทสเซียมไซยาไนด์
อย่างไรก็ตาม ต้องให้ความเป็นธรรมกับผู้นำเข้า และผู้ใช้ในภาคอุตสาหกรรมที่ถูกต้องด้วย โดยปัจจุบันสารไซยาไนด์ มี 2 ประเภทที่ กรอ. ควบคุมอยู่ คือโซเดียมไซยาไนด์ และโพแทสเซียมไซยาไนด์ ซึ่งทั้ง 2 ประเภทนี้ มีไว้ใช้ในงานอุตสาหกรรม อาทิ การสกัดแร่ การชุบโลหะ ชุบทอง เงิน หรือใช้ในห้องแล็บ ส่วนที่เป็นข่าวตอนนี้ เป็นการนำไปใช้ในทางที่ผิด ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์
นอกจากนี้ กรมฯ หารือเบื้องต้น กับสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคแล้วว่า อาจจะขอความร่วมมือ ไม่นำสารไซยาไนด์ ไปขายบนช่องทางออนไลน์บนเว็บไซต์แพลตฟอร์มต่างๆ เนื่องจากเป็นสารอันตราย ไม่ควรหาซื้อง่าย

ส่องเลขฝาโลง "อาฉี" ตลกชื่อดัง เจ้าของวลีเด็ด "บัดซบจริงๆ เลย"

"มายด์" เผยคำเรียกแฟน หลังไม่ใช้คำว่าที่รัก แต่ใช้เรียกคนสนิท

อย. ตรวจพบสารอันตราย "ซิลเดนาฟิล-ทาดาลาฟิล" ในอาหารเสริมยี่ห้อดัง

"กัน จอมพลัง" เดือด ท้าวัดพลัง ห้าวแค่ไหนก็ลากเข้าคุกมาแล้ว
