อัพเดตล่าสุด "พายุไต้ฝุ่นมาวาร์" กรมอุตุฯ ประกาศด่วน "ฝนตกหนักถึงหนักมาก" : "สภาพอากาศวันนี้" 30 พฤษภาคม 2566 เตือนพื้นที่ฝนตกหนักถึงหนักมาก กรมอุตุนิยมวิทยา โดย ว่าที่ร้อยตรี ธนะสิทธิ์ เอี่ยมอนันชัย รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ลงนามในประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 10 (159/2566) เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามัน มีผลกระทบถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2566 ระบุว่า..
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคกลาง โดยมีแนวโน้มจะเคลื่อนลงสู่อ่าวมะตะบัน ประเทศเมียนมา ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโซกแรงบางแห่ง
โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก และฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม
สำหรับจังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้
วันที่ 30 พฤษภาคม 2566
ภาคเหนือ : จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก และกำแพงเพชร
ภาคกลาง : จังหวัดสระบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก : จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้ : จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มี ฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเสี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณฑะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 3 มิถุนายน 2566
นอกจากนี้ คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี้ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็ก บริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 4 มิถุนายน 2566
ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
พร้อมกันนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา ยังรายงานการติดตามสภาวะอากาศ ประจำวันที่ 30 พ.ค. 2566 เมื่อเวลา 04.00 น. ระบุว่า..
ภาคเหนือ
มีเมฆเป็นส่วนมาก เป็นเมฆชั้นต่ำและเมฆชั้นสูง ตรวจไม่พบกลุ่มฝน ลมตะวันตกเฉียงใต้
ความเร็ว 10-20 กม/ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีเมฆเป็นส่วนมาก เป็นเมฆชั้นต่ำและเมฆฝน
ตรวจพบกลุ่มฝนบริเวณ จ.อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม/ชม.
ภาคกลาง
มีเมฆเป็นส่วนมาก เป็นเมฆชั้นต่ำและเมฆฝน
ตรวจพบกลุ่มฝนบริเวณ จ. สุพรรณบุรี สมุทรปราการ กาญจนบุรี ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม/ชม.
ภาคตะวันออก
มีเมฆเป็นส่วนมาก เป็นเมฆชั้นต่ำและเมฆฟ้าคะนอง
ตรวจพบกลุ่มฝนบริเวณ จ.ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ภาคใต้ ฝั่งตะวันออก
มีเมฆเป็นส่วนมาก เป็นเมฆชั้นต่ำและเมฆฝน
ตรวจพบกลุ่มฝนบริเวณ จ.ชุมพร ระนอง สุราษฎ์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ภาคใต้ ฝั่งตะวันตก
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม/ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
อย่างไรก็ตามในเพจ กรมอุตุนิยมวิทยา ยังได้อัพเดทสถานการณ์พายุไต้ฝุ่น "มาวาร์ (MAWAR)" บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก เช้าวันนี้ (30/5/66) ว่า พายุนี้มีศูนย์กลาง ในมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจาก เกาะลูซอล ประเทศฟิลิปินส์ ประมาณ 390 กม. หรือห่างจากเกาะไต้หวัน ราว 450 กม.ยังเคลื่อนตัวทางทิศเหนือ และคาดว่ามีแนวโน้มจะเคลื่อนตัวโค้งกลับไปในมหาสมุทรแปซิฟิก ก่อนจะอ่อนกำลังลงและสลายตัวไป ไม่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย