สปสช.ดึงคลินิกกทั่วประเทศเข้าร่วม "บัตรทอง" 

11 มิถุนายน 2566

เพื่อลดความแออัด สปสช.เชิญชวนคลินิกกายภาพบำบัดทั่วประเทศเข้าร่วมเป็นเครือข่ายหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพ รับผู้ป่วยบัตรทอง 4 กลุ่มโรคเข้าฟื้นฟูสมรรถภาพ เพิ่มความสะดวกและโอกาสการเข้าถึง

สปสช.ดึงคลินิกกทั่วประเทศเข้าร่วม "บัตรทอง

สปสช.ดึงคลินิกกทั่วประเทศเข้าร่วม \"บัตรทอง\" 

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

ทางด้าน น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) อยู่ระหว่างการดำเนินแนวทางต่างๆ เพื่อสนับสนุนการลดความแออัดของผู้ใช้บริการในโรงพยาบาล

ซึ่งรวมถึงการขยายเครือข่ายคลินิกกายภาพบำบัดที่เข้าร่วมเป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง 30 บาท) เพื่อรับผู้ป่วยสิทธิบัตรทองใน 4 กลุ่มโรค เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการกายภาพ ณ คลินิกใกล้บ้าน ไม่ต้องรอคิวนาน และลดความแออัดในโรงพยาบาล

ทั้งนี้ สปสช. ได้เริ่มอำนวยความสะดวกในการเข้ารับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพฯ แก่ผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง 4 กลุ่มโรค ได้แก่ 1.ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) 2.ผู้ป่วยสมองได้รับบาดเจ็บ (Traumatic brain injury)

3.ผู้ป่วยไขสันหลังได้รับบาดเจ็บที่ได้รับการรักษาจนเข้าสู่ภาวะคงที่ และ 4.ผู้ป่วยภาวะกระดูกสะโพกหักจากภยันตรายชนิดไม่รุนแรง (Fragility fracture hip ) มาตั้งแต่ปี 64 โดยระยะแรกมีคลินิกที่เข้าร่วมเป็นหน่วยบริการนำร่อง 24 แห่ง และปัจจุบันมีคลินิกในเครือข่ายรับส่งต่อจากโรงพยาบาล 58 แห่ง

 

“ขณะนี้ สปสช. อยู่ระหว่างการขยายเครือข่ายคลินิกกายภาพบำบัดที่เข้ามาร่วมหน่วยบริการในระบบบัตรทอง โดยได้เชิญชวนคลินิกกายภาพฯ ที่ปัจจุบันมีอยู่กว่า 800 แห่งทั่วประเทศสมัครเข้าร่วมที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 1-13  และให้โรงพยาบาลในระบบ สปสช. ประสานคลินิกกายภาพฯ ในพื้นที่มาเข้าร่วมเป็นเครือข่ายของโรงพยาบาลด้วย”  

 

นอกจากนี้เห็นว่าการสนับสนุนให้ผู้ป่วย 4 กลุ่มโรคเข้าถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพฯ มากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงระยะ 3-6 เดือน หลังจากอาการของผู้ป่วยพ้นระยะวิกฤต หรือแพทย์ประเมินให้พ้นการเป็นผู้ป่วยใน ที่เป็นช่วงเวลาทองของการบำบัดรักษา (golden period)

 

ทั้งนี้เนื่องจากเป็นระยะสมองและระบบประสาทต่างๆ ของร่างกายมีความพร้อมที่จะรับการฟื้นฟูสภาพ หากได้รับการบำบัดที่ถูกต้องและต่อเนื่อง ก็จะมีโอกาสทำให้ผู้ป่วยกลับสู่ภาวะปกติ และสามารถลดความพิการได้

 

สำหรับรูปแบบการให้บริการของคลินิกกายภาพบำบัดแก่ผู้มีสิทธิบัตรทองนั้น จะมีโรงพยาบาลทำหน้าที่เป็นแม่ข่ายประสานส่งต่อผู้ป่วยที่อาการพ้นระยะวิกฤตหรือที่แพทย์ประเมินจำหน่ายจากผู้ป่วยใน ให้มารับทำการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายต่อเนื่องที่คลินิกกายภาพบำบัด โดยมีหลักเกณฑ์การบริการกายภาพบำบัดแบบเข้มข้นร่วมกับหน่วยบริการไม่เกิน 20 ครั้ง ในช่วง golden period