12 มิ.ย. 66 “รถไฟฟ้าสายสีเหลือง” เปิดนั่งฟรีอีก 9 สถานี สิ้นสุด 2 ทุ่ม คืนนี้

12 มิถุนายน 2566

ดีเดย์ 12 มิ.ย.นี้ “รถไฟฟ้าสายสีเหลือง” ช่วงลาดพร้าว-สำโรง โมโนเรลสายแรกของประเทศไทย เตรียมขยายเส้นทางเพิ่มเติมอีก 9 สถานี จากสถานีภาวนา ถึง สถานีสำโรง ระหว่างเวลา 06.00 น. – 20.00 น.

12 มิ.ย. 66  “รถไฟฟ้าสายสีเหลือง” เปิดนั่งฟรีอีก 9 สถานี สิ้นสุด 2 ทุ่ม คืนนี้ 

12 มิ.ย. 66  “รถไฟฟ้าสายสีเหลือง” เปิดนั่งฟรีอีก 9 สถานี สิ้นสุด 2 ทุ่ม คืนนี้

 

 

 

 

12 มิ.ย. 66  “รถไฟฟ้าสายสีเหลือง” เปิดนั่งฟรีอีก 9 สถานี สิ้นสุด 2 ทุ่ม คืนนี้

"รถไฟฟ้าสายสีเหลือง" (ลาดพร้าว-สำโรง) หรือ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง (MRT สายสีเหลือง) เปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการฟรี มาตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน 2566 นั้น

ล่าสุด วันนี้ (12 มิ.ย.66) รฟม. ขยายสถานีให้บริการเพิ่มเติมจากสถานีภาวนา ถึงสถานีสำโรง และยังขยายระยะเวลาให้บริการเป็นระหว่างเวลา 06.00 น. – 20.00 น.

โดยประชาชนสามารถร่วมทดลองใช้บริการ "รถไฟฟ้าสายสีเหลือง" 9 สถานี จะเป็นเส้นทางต่อเนื่องมาจากช่วง 13 สถานี ที่เปิดให้ทดลองใช้เดิม รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 22 สถานี ดังต่อไปนี้

- สถานีภาวนา

- สถานีโชคชัย 4 เปิดใช้เฉพาะทางเข้า-ออก 2 (ซอยลาดพร้าว 55) และทางเข้า-ออก 3 (ซอยลาดพร้าว 58)

- สถานีลาดพร้าว 71 เปิดใช้เฉพาะทางเข้า-ออก 1 (โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา) ทางเข้า-ออก 3 (ซอยลาดพร้าว 84) และทางเข้า-ออก 4 (ซอยลาดพร้าว 80/3)

- สถานีลาดพร้าว 83

- สถานีมหาดไทย ที่ทางเข้า-ออก 2 (โรงพยาบาลลาดพร้าว) เปิดใช้เฉพาะบันได

- สถานีลาดพร้าว 101
 

12 มิ.ย. 66  “รถไฟฟ้าสายสีเหลือง” เปิดนั่งฟรีอีก 9 สถานี สิ้นสุด 2 ทุ่ม คืนนี้

- สถานีบางกะปิ เปิดใช้เฉพาะทางเข้า-ออก 1 (ซอยลาดพร้าว 113) ทางเข้า-ออก 2 (ซอยลาดพร้าว 115) และทางเข้า-ออก 4 (ซอยลาดพร้าว 142)

- สถานีแยกลำสาลี

- สถานีศรีกรีฑา

"รถไฟฟ้าสายสีเหลือง" เปิดกี่โมง-ปิดกี่โมง

พร้อมกันนี้ ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2566 รฟม. ยังขยายช่วงเวลาให้บริการเป็นระหว่างเวลา 06.00 – 20.00 น. เพื่อรองรับความต้องการเดินทางในช่วงเร่งด่วนเช้าและเย็นของประชาชน หลังจากช่วงสัปดาห์แรกได้เปิดให้บริการในช่วงเวลา 09.00 – 20.00 น.

"รถไฟฟ้าสายสีเหลือง" จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายอื่น

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง มีจุดเชื่อมต่อการเดินทางกับรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ ดังนี้ 

  • รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ที่สถานีลาดพร้าว
  • สายสีเทาของกรุงเทพ ที่สถานีลาดพร้าว 71
  • สายสีส้มบริเวณทางแยกลำสาลี ที่สถานีแยกลำสาลี 
  • รถไฟเชื่อมต่อท่าอากาศยาน (Airport Rail Link) ที่สถานีหัวหมาก 
  • สายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่สถานีสำโรง


ตรวจสอบทางขึ้น-ลง ที่สามารถใช้บริการได้ ดังนี้

  • สถานีภาวนา เปิดใช้ทุกทางขึ้น-ลง
  • สถานีโชคชัย 4 เปิดใช้เฉพาะทางเข้า-ออก 2 (ซอยลาดพร้าว 55) และทางเข้า-ออก 3 (ซอยลาดพร้าว 58)
  • สถานีลาดพร้าว 71 เปิดใช้เฉพาะทางเข้า-ออก 1 (โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา) ทางเข้า-ออก 3 (ซอยลาดพร้าว 84) และทางเข้า-ออก 4 (ซอยลาดพร้าว 80/3)
  • สถานีลาดพร้าว 83 เปิดใช้ทุกทางขึ้น-ลง
  • สถานีมหาดไทย ที่ทางเข้า-ออก 2 (โรงพยาบาลลาดพร้าว) เปิดใช้เฉพาะบันได
  • สถานีลาดพร้าว 101 เปิดใช้ทุกทางขึ้น-ลง
  • สถานีบางกะปิ เปิดใช้เฉพาะทางเข้า-ออก 1 (ซอยลาดพร้าว 113) ทางเข้า-ออก 2 (ซอยลาดพร้าว 115) และทางเข้า-ออก 4 (ซอยลาดพร้าว 142)
  • สถานีแยกลำสาลี เปิดใช้ทุกทางขึ้น-ลง
  • สถานีศรีกรีฑา เปิดใช้ทุกทางขึ้น-ลง
  • "รถไฟฟ้าสายสีเหลือง" เริ่มเก็บค่าโดยสารเมื่อไหร่ ?

เบื้องต้นมีการประเมินว่าอาจจะมีการเริ่มจัดเก็บค่าโดยสาร 15 – 45 บาท (รอการประกาศอย่างเป็นทางการอีกครั้ง) ในวันที่ 3 ก.ค.นี้เป็นต้นไป เนื่องจากปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอนขออนุมัติอัตราค่าโดยสาร และออกประกาศกำหนดใช้ โดยแบ่งชำระค่าโดยสาร ดังนี้

บัตร EMV
ผู้โดยสารสามารถนำบัตรที่มีสัญลักษณ์ EMV แตะจ่ายค่าโดยสาร และใช้เชื่อมต่อการเดินทางไปยังระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีลาดพร้าว โดยไม่เสียค่าแรกเข้าซ้ำซ้อนในจำนวน 15 บาท มีข้อจำกัดต้องเปลี่ยนผ่านระบบรถไฟฟ้าภายในระยะเวลา 30 นาที ซึ่งช่วงแรกผู้โดยสารสามารถชำระผ่านบัตร EMV ได้ที่ช่องทางพิเศษ ติดกับห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร ส่วนในอนาคตจะมีการพัฒนาระบบหัวอ่านให้สามารถแตะจ่าย EMV ในทุกช่องทางเข้าออกระบบรถไฟฟ้า

บัตรแรบบิท
ผู้โดยสารสามารถแตะจ่ายค่าโดยสารด้วยบัตรแรบบิทที่ออกโดย BTS ซึ่งหลังจากนี้จะมีการจัดทำโปรโมชันเพื่อใช้ในการเดินทางเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และสายสีเขียวด้วย

บัตรโดยสารเที่ยวเดียว
ผู้โดยสารสามารถออกบัตรโดยสารดังกล่าว ณ ตู้จำหน่ายบัตรโดยสาร และห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร ซึ่งจะมีอัตราค่าโดยสาร 15 – 45 บาท

ทั้งนี้ รูปแบบการชำระค่าโดยสารในเบื้องต้นนั้น หากเปรียบเทียบแล้วจะพบว่าการชำระค่าโดยสารด้วยบัตร EMV เป็นทางเลือกของประชาชนที่จะลดภาระค่าใช้จ่ายจากการจัดเก็บค่าแรกเข้า กรณีต้องเปลี่ยนระบบรถไฟฟ้าระหว่างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ในจำนวนประมาณ 15 บาท โดยหากประชาชนเดินทางด้วยรถไฟฟ้าเป็นประจำ จะสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือนราว 600 บาท คำนวณจากค่าแรกเข้าที่ถูกลดหย่อนจากการเดินทางวันทำงานไปกลับจำนวน 30 บาทต่อวัน