ล่าสุดกรมอุตุนิยมวิทยา แถลงเหตุ 'แผ่นดินไหว' จ.พิษณุโลก

29 มิถุนายน 2566

กรมอุตุนิยมวิทยา แถลงเผยแผ่นดินไหวที่ จ.พิษณุโลก ขนาด 4.5 จนรับรู้แรงสั่นไหวได้หลายจังหวัดพร้อมให้คำตอบ ที่ว่าเกิดจากรอยเลื่อนหรือไม่

ล่าสุดกรมอุตุนิยมวิทยา แถลงเหตุ 'แผ่นดินไหว' จ.พิษณุโลก

ล่าสุดกรมอุตุนิยมวิทยา แถลงเหตุ \'แผ่นดินไหว\' จ.พิษณุโลก

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตรายงานการเกิดแผ่นดินไหวพื้นที่ จ.พิษณุโลก ขนาด 4.5 ทําให้พื้นที่ใกล้เคียงรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือน สั่นไหว เมื่อกลางดึกที่ผ่านมา ชี้ไมได้เกิดจากรอยเลื่อนมีพลัง

 

ล่าสุดวันนี้ (29 มิ.ย.2566) ดร.ชมภารี ชมภูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ได้แถลงข่าวกรณีแผ่นดินไหวเมื่อเวลา 00.17 น. โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่บริเวณ ต.ไผ่ล้อม อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก เป็นแผ่นดินไหวขนาดความรุนแรง 4.5 ความลึก 5 กิโลเมตร ได้รับแจ้งความรู้สึกสั่นไหวเป็นบริเวณกว้างในบริเวณจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร และกําแพงเพชร

ดร.ชมภารี ชมภูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา

แผ่นดินไหวครั้งนี้ มีจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว ห่างจากตัวเมืองพิษณุโลกประมาณ 30 กิโลเมตร และห่างจากตัวเมืองพิจิตรประมาณ 15 กิโลเมตร

เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้ มีจุดศูนย์กลางที่ไม่ได้อยู่บนรอยเลื่อนมีพลัง (Active Fault) ที่สํารวจโดย กรมทรัพยากรธรณี ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวอาจเป็นรอยเลื่อนที่ยังไม่ได้รับการสํารวจ (Hidden Fault)

ล่าสุดกรมอุตุนิยมวิทยา แถลงเหตุ \'แผ่นดินไหว\' จ.พิษณุโลก

ซี่ง กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา ได้หากลไกการเกิดแผ่นดินไหว พบว่าแผ่นดินไหวเกิดจาก แนวรอยเลื่อนที่มีทิศทางการวางตัวในแนวตะวันออกเฉียงใต้-ตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งวางตัวตามแนวเทือกเขา เพชรบูรณ์ ที่อยู่ทางทิศตะวันออกของจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว

อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาได้เสริมว่า ภัยแผ่นดินไหวยังคงเป็นภัยธรรมชาติที่ยังไม่สามารถพยากรณ์ได้ การป้องกันและบรรเทาภัยแผ่นดินไหวที่มีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีและความรู้ในปัจจุบัน จําเป็นต้องการข้อมูลความสั่นสะเทือนของพื้นดินที่ถูกต้องจากระบบตรวจวัดที่มีมาตรฐาน

กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา ทําหน้าที่ในการตรวจและวิเคราะห์แผ่นดินไหวทั้งภายในและต่างประเทศ โดยมีเครือข่ายสถานีตรวจแผ่นดินไหวแบบอัตโนมัติ สถานีตรวจวัดอัตราเร่งของพื้นดิน สถานีวัดการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก

และสถานีวัดระดับน้ำทะเล ติดตั้งอยู่ทั่วประเทศไทย เพื่อตรวจวัดเฝ้าระวัง และให้บริการข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องภัยแผ่นดินไหวในประเทศอย่างต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ตลอดจนแจ้งเตือนภัยให้กับ พื้นที่เสียงภัยกรณีเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ในทะเล

กรมอุตุนิยมวิทยา จะติดตามและรายงานสถานการณ์ต่อไป ขอให้ประชาชนติดตามประกาศอย่างใกล้ชิดได้ทางเว็บไซต์กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ EarthquakeTMD โทรศัพท์หมายเลข 0 2366 9410, 0 2399 0969, 0 2399 4547 และสายด่วน 1182 ตลอด 24 ชั่วโมง