เปิดขั้นตอน “ทักษิณ ชินวัตร” ขอพระราชทานอภัยโทษ หลังกลับไทยในรอบ 17 ปี

22 สิงหาคม 2566

เปิดขั้นตอน “ทักษิณ ชินวัตร” กับการขอพระราชทานอภัยโทษ หลังกลับไทยครั้งแรกในรอบ 17 ปี พร้อมข้อมูลการขอพระราชทานอภัยโทษ มีกี่แบบ ใครมีสิทธิยื่นขอพระราชทานอภัยโทษได้บ้าง

เรียกได้ว่าเป็นเรื่องที่หลายๆคนแห่จับตาอย่างมาก กรณี ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กลับประเทศไทยในรอบ 17 ปี นับตั้งแต่มีการปฏิวัติ เมื่อปี 2549 และทักษิณออกจากประเทศไทย ครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2551 ต้องใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศ 

ส่องเงื่อนไข “ทักษิณ ชินวัตร” ขอพระราชทานอภัยโทษ หลังกลับไทยในรอบ 17 ปี

โดยปักหลักอยู่ที่ “ดูไบ” ก่อนจะเดินทางไปมาหลายประเทศ จนอายุล่วงเลยมาถึง 73 ปี และกำลังจะ 74 ปี ในอีกไม่กี่เดือน นับตั้งแต่มีการปฏิวัติ ปี 2549 เขาเคยประกาศกลับบ้าน กลับประเทศไทยอย่างที่มีการจดบันทึกแล้ว 18 ครั้ง โดยคำขอกลับบ้านครั้งแรก 30 มี.ค. 2552

โดยต่อมา นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า เมื่อนายทักษิณ ชินวัตร เดินทางมาถึงประเทศไทยมาแล้ว ก็มีโอกาสที่จะขอพระราชทานอภัยโทษเป็นสิทธิ์ของผู้ต้องขังทุกคนอยู่แล้ว เพียงแต่เงื่อนไขคือต้องอยู่ระหว่างการรับโทษ เมื่อรับโทษแล้ว สามารถยื่นขอพระราชทานอภัยโทษได้ตั้งแต่วันแรกทันที เพียงแต่ต้องรับโทษเข้าห้องขังก่อน

ส่องเงื่อนไข “ทักษิณ ชินวัตร” ขอพระราชทานอภัยโทษ หลังกลับไทยในรอบ 17 ปี

โดยตามขั้นตอนแล้ว เมื่อ ทักษิณ ชินวัตร เดินทางมาถึงสนามบินดอนเมือง กรมราชทัณฑ์จะมารับตัว และนําไปรับหมายศาลที่ศาล แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องไปฟังคำพิพากษาที่ศาล เพราะศาลตัดสินไปแล้ว จบไปแล้ว

การพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไป

 การพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องราชทัณฑ์หรือผู้ต้องโทษ โดยการตราพระราชกฤษฎีกาตามการถวายคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อพระมหากษัตริย์ ในกรณีนี้ ทางราชการจะดำเนินการให้ทุกขั้นตอน ผู้ต้องราชทัณฑ์ไม่ต้องดำเนินการใดๆ โดยการพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไป มักจะมีขึ้นในวโรกาสมหามงคลต่างๆ เกี่ยวกับสถาบัน

อย่างไรก็ตาม อาจมีข้อยกเว้นความผิดบางลักษณะที่เห็นว่าเป็นภัยสังคมร้ายแรง โดยหลักเกณฑ์การได้รับพระราชทานอภัยโทษของนักโทษเด็ดขาดผู้ใดจะได้รับเท่าใด จะกำหนดรายละเอียดในพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษที่ตราขึ้นแต่ละครั้ง แต่มีหลักเกณฑ์ใหญ่ๆ คือ เกณฑ์ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไป, เกณฑ์ได้รับพระราชทานอภัยโทษลดโทษ และเกณฑ์ไม่ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษ

การพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย 

การพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องราชทัณฑ์หรือผู้ต้องโทษเป็นรายบุคคล โดยการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาตามการถวายคำแนะนำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ส่วนจะได้รับพระราชทานอภัยโทษหรือไม่เพียงใด ขึ้นอยู่กับพระบรมราชวินิจฉัย สำหรับผู้มีสิทธิยื่นทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย ต้องเป็นผู้ต้องโทษที่คดีถึงที่สุด

ระยะเวลาการยื่นฎีกาทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย 

1. ผู้ต้องโทษกรณีทั่วไป ยื่นได้ทันทีที่คดีถึงที่สุด

2. ผู้ต้องโทษประหารชีวิต ต้องยื่นภายใน 60 วัน นับแต่คดีถึงที่สุด

ขั้นตอนการขอพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย 

 ผู้ต้องโทษ (โทษประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน) ที่คดีถึงที่สุดแล้ว และผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้องสามารถยื่นเรื่องราวทูลเกล้าถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษผ่านเรือนจำ/ทัณฑสถาน หรือกระทรวงยุติธรรม หรือสำนักราชเลขาธิการ หรือกระทรวงการต่างประเทศ หรือสถานทูต หลังจากรับเรื่องแล้ว กรมราชทัณฑ์จะส่งไปสอบสวนเรื่องราวยังเรือนจำ/ทัณฑสถานที่ควบคุมผู้ต้องโทษ

 

 

เปิดขั้นตอน “ทักษิณ ชินวัตร” ขอพระราชทานอภัยโทษ หลังกลับไทยในรอบ 17 ปี

 

 จากนั้นจะเสนอความเห็นให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมลงนาม เพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูลฯ ผ่านสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และสำนักราชเลขาธิการ เมื่อทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยเช่นไร ก็จะส่งผลฎีกาดังกล่าวให้กรมราชทัณฑ์ทราบและดำเนินการพร้อมทั้งแจ้งผลให้ผู้ยื่นเรื่องราวทูลเกล้าฯ ทราบ 

กรณีไม่มีที่ไม่มีผู้ใดถวายเรื่องราว ถ้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเห็นเป็นการสมควรจะถวายคำแนะนำขอพระราชทานอภัยโทษให้ก็ได้

หากพระราชทานอภัยโทษให้อาจจะเป็นการพระราชทานอภัยโทษให้ทั้งหมด โดยให้ปล่อยตัวไปหรือพระราชทานอภัยโทษให้เป็นบางส่วน เช่น ลดโทษจากประหารชีวิตเป็นจำคุกตลอดชีวิตหรือลดโทษจากกำหนดระยะเวลาต้องโทษเดิม โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ 

ส่องเงื่อนไข “ทักษิณ ชินวัตร” ขอพระราชทานอภัยโทษ หลังกลับไทยในรอบ 17 ปี

 

 ส่วนในรายที่ไม่พระราชทานอภัยโทษให้ จะมีหนังสือสำคัญแจ้งผลฎีกา โดยอ้างพระราชกระแสว่าความทราบฝ่าละลองธุลีพระบาทแล้วมีกระแสให้ยกฎีกา หนังสือสำคัญดังกล่าวนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามแจ่งพระราชกระแส

 ทั้งนี้ เรื่องราวขอพระราชทานอภัยโทษซึ่งไม่ใช่โทษประหารชีวิต ถ้ามีพระราชกระแสให้ยกฎีกาแล้ว จะยื่นใหม่อีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นสองปีนับแต่วันถูกยกครั้งก่อน คือ จะต้องรอให้พ้น 2 ปีไปก่อนจึงจะยื่นทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปใหม่ได้ 

ผู้มีสิทธิยื่นเรื่องราวทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย

• ผู้ต้องโทษที่คดีถึงที่สุด

• ผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้อง เช่น บิดามารดา บุตร คู่สมรส

• สถานทูต (กรณีเป็นนักโทษชาวต่างชาติ)

ทั้งนี้ ทนายความ ไม่ถือว่าเป็นผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้อง

 

ส่องเงื่อนไข “ทักษิณ ชินวัตร” ขอพระราชทานอภัยโทษ หลังกลับไทยในรอบ 17 ปี