วันที่ 5 ก.ย.66 ที่ ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลได้นัดฟังคำสั่งในคดี "หมิ่นประมาท" ระหว่าง นางสรารัตน์ หรือ "แอมไ ซยาไนด์" โจทก์ นายรพี ผู้ประสานคดีแอมไซยาไนด์ จำเลย ล่าสุดศาลมีคำสั่ง "ยกคำร้อง" ด้านทนายพัช จ่อ อุทธรณ์ ลั่น มีหลักฐานเด็ด
ทั้งนี้ด้าน "ทนายกุ้ง" นางสาวอำนวยพร มณีวรรณ์ เปิดเผยว่าวันนี้ (5ก.ย.66) ศาลได้นัดฟังคำสั่งว่าจะประทับรับฟ้องคดีนี้หรือไม่ โดยก่อนหน้านี้ได้มีการไต่สวนไปแล้ว 2 นัด โดยนางสรารัตน์ ได้ฟ้องนายรพี ในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา กรณีที่ไปให้สัมภาษณ์ในรายการโทรทัศน์รายการหนึ่ง โดยใช้คำพูดว่า “โกหกเจ้าหน้าที่จนหัวปั่นและหลอกตำรวจ” ซึ่งเป็นการพูดตามข้อเท็จจริง ซึ่งในวันนี้นายรับพีไม่ได้มาร่วมฟังคำสั่งเนื่องจากติดภารกิจอยู่ต่างจังหวัด
ด้านนางสาว ธันย์นิชา เอกสุวรรณวัฒน์ หรือ ทนายพัช ทนายความของ แอม สรารัตน์ เปิดเผยก่อนเข้าห้องพิจารณาว่า หากคดีนี้ศาลมีคำสั่งว่าคดีไม่มีมูลตนก็จะอุทธรณ์ต่อไป แต่ถ้าศาลเห็นว่าคดีมีมูลและมีคำสั่งรับฟ้อง กรณีที่นายระพีไม่มาฟังคำสั่ง ตนเองก็จะส่งหมายศาลไปยังภูมิลำเนา
อย่างไรก็ตาม มีความมั่นใจในพยานหลักฐานที่จะเอาผิดกับนายรพีได้ ซึ่งนายระพีก็ยอมรับเองว่าบุคคลที่อยู่ในคลิปนั้นเป็นตนเองจริง ในชั้นนี้อยู่ในขั้นตอนของการพิจารณาว่ามีองค์ประกอบความผิดหรือไม่ ส่วนการกระทำดังกล่าวจะเป็นความผิดหรือไม่นั้น ก็จะเป็นอีกชั้นหนึ่ง คือศาลต้องรับฟ้องก่อนเพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาคดีต่อไป
หลังศาลมีคำสั่ง ทนายกุ้ง ทนายจำเลย เปิดเผยว่า ศาลได้มีคำสั่งยกฟ้อง โดยให้เหตุผลว่านายระพีได้รับมอบอำนาจจากญาติผู้เสียหาย ซึ่งการให้สัมภาษณ์ผ่านรายการโทรทัศน์นั้นเป็นไปตามข้อเท็จจริงจากการสืบสวนของตำรวจ ซึ่งได้รับรายงานจากตำรวจชุดคลี่คลายคดี เป็นการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่รัฐด้วย จึงเป็นการให้สัมภาษณ์โดยสุจริต ซึ่งฝ่ายโจทก์มีสิทธิ์ที่จะยื่นอุทธรณ์ภายใน 1 เดือน หรืออาจจะขยายได้ครั้งละ 1 เดือน ซึ่งนายระพีเองก็รู้สึกดีใจที่ได้รับความยุติธรรมจากศาลในครั้งนี้
ด้าน "ทนายพัช"นางสาว ธันย์นิชา เอกสุวรรณวัฒน์ ทนายความแอม ไซยาไนด์ เผยว่า จากนี้ เตรียมยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายใน 30 วัน หลัง มีพยานหลักฐานใหม่ที่ยื่นต่อศาลไปแล้วเมื่อวานนี้ เป็น เอกสารเกี่ยวกับใบรับมอบอำนาจ มารดาของผู้เสียชีวิตให้กับนายระพี ซึ่งพบความผิดปกติ โดยในเอกสาร มอบอำนาจ ลงวันที่ 14 เมษายน 2566 แต่เอกสารสำเนาบัตรที่ใช้ยื่น ประกอบรับรองการมอบอำนาจ พบเป็น วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 ซึ่งอาจเป็นการออกบัตรหลังจากที่มีการทำหนังสือมอบอำนาจ ซึ่งเชื่อว่าจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงคำสั่งในชั้นอุทธรณ์ ต่อไป
ส่วนเรื่องคดีความ ของ แอม ไซยาไนด์ ที่ตำรวจอ้างว่าจะมีการสรุปสำนวน ฟ้องแอมรวมทั้งหมด 15 สำนวน ขณะนี้มีเพียงสำนวนเดียว ของนางสาวก้อย ที่ส่งมาถึงอัยการเท่านั้น ฝากไปถึงพลตำรวจเอกสุรเชษฐ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่กำกับดูแลคดีดังกล่าว ว่าความคืบหน้าในการทำสำนวนที่เหลือไปถึงไหนแล้ว หากหากตำรวจไม่มีการฟ้องสำนวนที่เหลือตามที่มีการให้สัมภาษณ์กับสื่อไว้ เตรียมฟ้องกลับกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมถึงญาติผู้เสียชีวิตที่เหลือด้วย