สธ. ยืนยัน เด็ก 14 มีประวัติรักษาจริง วอนอย่าบูลลี่-อย่าซ้ำเติม พ่อแม่เด็ก

04 ตุลาคม 2566

นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ยืนยันเด็ก 14 มีประวัติการรักษาทางจิตจริง วอนอย่าบูลลี่-อย่าซ้ำเติม พ่อแม่เด็กเจ็บปวดมากๆ จากเหตุการณ์นี้

วันที่ 4 ตุลาคม 2566 จากกรณีเหตุสะเทือนขวัญ เด็ก 14 ปีใช้ปืนไล่ยิงกลางห้างพารากอน เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 2 รายละบาดเจ็บอีก 7 ราย เจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมตัวผู้ก่อเหตุไว้ได้และจากการสอบปากคำพบว่ามีอาการหูแว่ว และยังไม่พร้อมให้การมากนัก นอกจากนี้ยังพบว่ามีประวัติการรักษาอาการทางจิตเวช และไม่ได้รับประทานยารักษาโรคตามที่แพทย์กำหนด

สธ. ยืนยัน เด็ก 14 มีประวัติรักษาจริง วอนอย่าบูลลี่-อย่าซ้ำเติม พ่อแม่เด็ก

 

เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวล่าสุด นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ยืนยันเรื่องดังกล่าวว่า ตามที่มีข่าวว่าเด็กชายอายุ 14 ปีที่ก่อเหตุในห้างสรรพสินค้าดังกลางเมืองนั้น เคยรักษาตัวที่โรงพยาบาลราชวิถี ข้อเท็จจริงพบว่า รักษาตัวที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี หรือ โรงพยาบาลเด็ก ซึ่งรักษามาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

 

สธ. ยืนยัน เด็ก 14 มีประวัติรักษาจริง วอนอย่าบูลลี่-อย่าซ้ำเติม พ่อแม่เด็ก

แต่ก่อนหน้านี้อาจมีการรักษาที่อื่น อย่างไรก็ตาม กรณีนี้ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดการรักษาได้ เนื่องจากเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลผู้ป่วยจึงต้องระมัดระวังในเรื่องนี้

เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นแล้ว ทุกฝ่ายก็เสียใจอย่างมาก แต่ไม่ก็ควรเกิดการบูลลี่ หรือการไปโทษใคร หรือซ้ำเติมใคร โดยเฉพาะพ่อแม่เด็กที่เจ็บปวดมากๆ จากเหตุการณ์ สิ่งที่สังคมจะต้องให้ความสนใจคือการป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรงในสังคม ใส่ใจกันในครอบครัว

สธ. ยืนยัน เด็ก 14 มีประวัติรักษาจริง วอนอย่าบูลลี่-อย่าซ้ำเติม พ่อแม่เด็ก

ก่อนหน้านี้เมื่อเวลา 11.30 น. ที่ สน.ปทุมวัน พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยกับสื่อมวลชนหลังจากทีม MCATT เดินออกมาส่งผู้ต้องหาวัย 14 ขึ้นรถควบคุมตัวไปยังศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ว่า วันนี้ได้เข้ามาประสานดูแลเรื่องการเยียวยาสภาพจิตใจผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ ทั้งผู้ก่อเหตุ เหยื่อ ครอบครัว รวมถึงผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ที่สยามพารากอน โดยเบื้องต้นยังไม่ได้พูดคุยกับผู้ก่อเหตุ ส่วนสภาพจิตใจของเด็ก ขอให้ถามกับทางตำรวจ โดยกระบวนการจะต้องประเมินสภาพจิตใจเด็กอย่างเป็นระบบ ยังไม่สามารถให้คำตอบอะไรได้ 

ส่วนกระบวนการของ MCATT พร้อมให้คำปรึกษาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ทั้งหมด ถ้ามีส่วนไหนจะต้องเข้าไปให้การช่วยเหลือก็จะเข้าไปทำการเยียวยาจิตใจ ถ้าหากพบว่ามีประเด็นไหนที่จะสามารถเข้าไปช่วยเหลือได้ ทางจิตใจซึ่ง บางรายอาจจะรวมถึงการให้ยา หรือคนที่เกี่ยวข้องที่กินข้าวไม่ได้นอนไม่หลับก็ต้องช่วยเหลือตามกระบวนการ หรือบางรายอาจจำเป็นต้องเข้าสู่การบำบัดรักษาอย่างต่อเนื่อง 

ซึ่งนอกจากการดูแลผู้ที่เกี่ยวข้องเชิงคดีแล้ว เช่นคนเห็นเหตุการณ์ ญาติของเขาก็ต้องเข้าไปดูแลด้วย และวันนี้มาเพื่อสร้างความมั่นใจว่าการดูแลทั้งหมดจะเป็นไปอย่างครบถ้วนที่สุด และให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย โดยคำนึงถึงสภาพติตใจเป็นสำคัญ