หมอธีระ เตือน ภาวะ heat stroke อันตรายถึงโคม่า เผยสิ่งแรกที่ต้องทำหากมีอาการ

13 ตุลาคม 2566

"หมอธีระ" ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยข้อมูลถึงอาการ heat stroke อันตรายถึงโคม่า

"หมอธีระ" ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ข้อความ ระบุว่า 

Exertional heat illness (EHI) หรืออาการป่วยจากความร้อนและการออกกำลังนั้นมีหลายรูปแบบ

ตั้งแต่ตะคริวที่กล้ามเนื้อ (Muscle cramp) เป็นลม (Syncope)

หมอธีระ เตือน ภาวะ heat stroke อันตรายถึงโคม่า เผยสิ่งแรกที่ต้องทำหากมีอาการ

รุนแรงสุดคือ Exertional heat stroke --> อุณหภูมิสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส พร้อมอาการอื่น เช่น เหงื่อแตกมาก อาการขาดน้ำ บวกกับอาการผิดปกติทางระบบประสาท เช่น ปวดหัว สับสน ชัก ไม่ได้สติ/โคม่า

การวินิจฉัยได้เร็ว หรือนึกถึงภาวะ heat stroke นี้เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะหากเป็นจริง เรื่องแรกที่ต้องทำคือ การลดอุณหภูมิร่างกายให้ได้โดยเร็วที่สุด พาเข้าที่ร่ม ระบายอากาศดี ปลดพันธนาการเสื้อผ้าต่างๆ ให้หลวม เช็ดตัว รวมถึงวิธีทางการแพทย์ที่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยลดอุณหภูมิ

 

ทั้งนี้ การทำกิจกรรมในภาวะที่ร้อนมากนั้น ปกติแล้วคนเราจะต้องใช้เวลาในการปรับตัวให้เข้ากับอุณหภูมิที่สูง ที่เรียกว่า Thermotolerance หรือ Acclimatization อย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ ดังนั้นการออกแบบกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิด EHI ต่างๆ จึงต้องวางแผนปรับตัวอย่างเหมาะสม รวมถึงผู้จัดกิจกรรมต้องมีความรู้ที่จะประเมินภาวะ EHI ต่างๆ และดูแลอย่างถูกต้องและทันท่วงที

หมอธีระ เตือน ภาวะ heat stroke อันตรายถึงโคม่า เผยสิ่งแรกที่ต้องทำหากมีอาการ