เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ คณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2566 ลงนามโดย นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ.
ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ อาศัยอำนาจตามความในข้อ 5 แห่งกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2566 ประกอบมติคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2566 จึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ดังนี้
ข้อ 1. ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสุขภาพของผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2566”
ข้อ 2. ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป)
ข้อ 3. ผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพทั้งทางกายและทางจิต และได้รับการรับรองสุขภาพจากแพทย์แผนปัจจุบันที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม ในโรงพยาบาลของรัฐ หรือโรงพยาบาลเอกชนทุกแห่ง โดยใช้แบบใบรับรองแพทย์แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ 4. ผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญจะต้องยื่นผลการตรวจสุขภาพตามข้อ 3 พร้อมเอกสารหลักฐานอื่น ๆ ภายในระยะเวลาที่หน่วยงานของรัฐกำหนด
ข้อ 5. ผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการตรวจสุขภาพตามข้อ 3 ทั้งหมด
อย่างไรก็ตามประกาศ "ราชกิจจาฯ" เรื่อง ใบรับรองแพทย์แบบใหม่ สอดคล้องกับมติ ครม.ว่า ตามที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีข้อเสนอแนะต่อสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ( สำนักงาน ก.พ.) เกี่ยวกับร่างกฎก.พ.ว่าด้วยโรค พ.ศ. ... ถึงการกำหนดโรคอันเป็นลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการ ที่เคยประกาศไปแล้ว โดยเป็นการเพิ่มโรคจิต (Psychosis) หรือโรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood Disorders) ที่ปรากฏอาการเด่นชัดรุนแรงหรือเรื้อรัง และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ไว้เป็นการเฉพาะ อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าบุคคลที่ป่วยโรค ไม่มีความสามารถในการทำงานใดๆ และอาจเสี่ยงต่อการเลือกปฏิบัติในการจ้างงาน
สำหรับใบรับรองแพทย์แบบใหม่ที่แทบท้ายประกาศฉบับนี้ แบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้