วันที่ 6 พ.ย.66 คืบหน้าคดีค้าประเวณีเมืองพัทยา ล่าสุดที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย ถ.นครราชสีมา จากรณีพลตำรวจเอกสุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รองผบ.ตร.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปราบปรามการค้ามนุษย์ แถลงชี้แจงเกี่ยวกับกรณีการตรวจสอบคดีค้าประเวณีเมืองพัทยา ที่มีการปล่อยให้ผู้ต้องหาได้รับการประกันตัวจนเป็นที่มาของสารคดีแฉกรณีค้ามนุษย์ในประเทศไทยที่ถูกเผยแพร่ในเยอรมัน โดย บิ๊กโจ๊ก กล่าวว่า
จากคดีที่เกิดขึ้นตำรวจได้ดำเนินคดีผู้ต้องหาทั้งหมดจำนวน 4 คน เป็นผู้หญิงไทย 1 คนและสามีชาวอังกฤษอีก 1 คน ทั้งคู่ถูกดำเนินคดีฐานค้ามนุษย์เนื่องจากมีข้อมูลพบว่าเป็นเจ้าของร้านที่ให้บริการค้าประเวณีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี
จากข้อมูลการสอบสวนสามารถขยายผลและทราบว่ามีชายชาวเยอรมันและชาวสหรัฐอเมริกา ได้ซื้อบริการเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ซึ่งทางพนักงานสอบสวนได้ดำเนินคดีกับผู้ต้องหาทุกคน และทำสำนวนได้สมบูรณ์ ก่อนส่งสำนวนให้อัยการสั่งฟ้อง ต่อมาศาลได้ให้ประกันตัว โดยพนักงานสอบสวนไม่ได้คัดค้านการประกันตัว และไม่ได้แจ้งให้กองการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ทราบ และไม่ได้ส่งตัวให้กับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เพิกถอนวีซ่าและทำการกักตัว
ถือว่าเป็นความบกพร่องของตำรวจซึ่งจะมีผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรเมืองพัทยา ที่รับผิดชอบในคดี หัวหน้าพนักงานสอบสวนและพนักงานสอบสวน ที่ต้องเข้ามารับผิดชอบในส่วนนี้ เบื้องต้นตำรวจทั้ง 3 นายปฏิเสธการเรียกรับสินบน และอ้างว่าไม่เข้าใจถึงระเบียบการดำเนินการในส่วนนี้ จึงไม่ได้ทำตามระเบียบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขณะนี้อยู่ระหว่างการตั้งคณะกรรมการสอบสวนเอาผิดทางวินัย
ส่วนประเด็นที่มีการให้สัมภาษณ์ของผู้ต้องหาชาวเยอรมัน ว่าได้จ่ายเงิน 1 ล้านบาทให้กับตำรวจ ส่วนนี้ก็จะต้องถูกตรวจสอบด้วยว่ามีการจ่ายให้ตำรวจจริงหรือไม่ แต่จากเมื่อได้สอบถามทางทนายความของผู้ต้องหาชาวเยอรมัน ได้ให้การว่าได้รับเงินจากผู้ต้องหาชาวเยอรมันจริงเป็นจำนวน 1 ล้านบาท แต่มีส่วนใช้ประกันตัวในชั้นศาล 200,000 บาท และได้เสนอเงินค้ำประกันตัว 500,000 บาท เพื่อขอออกนอกประเทศโดยมีข้ออ้างว่าจะไปทำธุระเรื่องธุรกิจ ส่วนที่เหลืออีก 300,000 บาท
ส่วนประเด็นที่มีการให้สัมภาษณ์ของผู้ต้องหาชาวเยอรมัน ว่าได้จ่ายเงิน 1 ล้านบาทให้กับตำรวจ ส่วนนี้ก็จะต้องถูกตรวจสอบด้วยว่ามีการจ่ายให้ตำรวจจริงหรือไม่ แต่จากเมื่อได้สอบถามทางทนายความของผู้ต้องหาชาวเยอรมัน ได้ให้การว่าได้รับเงินจากผู้ต้องหาชาวเยอรมันจริงเป็นจำนวน 1 ล้านบาท แต่มีส่วนใช้ประกันตัวในชั้นศาล 200,000 บาท และได้เสนอเงินค้ำประกันตัว 500,000 บาท เพื่อขอออกนอกประเทศโดยมีข้ออ้างว่าจะไปทำธุระเรื่องธุรกิจ ส่วนที่เหลืออีก 300,000 บาท
ทนายให้การว่าเป็นค่าดำเนินการด้านกฎหมาย แต่ทางตำรวจยังต้องตรวจสอบว่ามีเงินส่วนอื่นจ่ายให้กับตำรวจเพิ่มเติมหรือไม่หากพบว่ามีการเรียกรับสินบนก็ต้องดำเนินคดีทางอาญาต่อไป
ส่วนกรณีที่ประเทศเยอรมันไม่มีสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่ทางพลตำรวจเอกสุรเชษฐ์ ได้ประสานกับทางเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม 2566 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อนนัดพูดคุยถึงแนวทางการช่วยเหลือทางคดี โดยจะขอความร่วมมือให้ทางตำรวจเยอรมัน ช่วยสอบปากคำผู้ต้องหาถึงปมเรียกรับสินบน เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริง และจะปรึกษาถึงแนวทางการรับตัวผู้ต้องหามาดำเนินคดีในประเทศไทยด้วย