เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.66 ยังคงต้องติดตามกันอย่างต่อเนื่องกับประเด็นหมูเถื่อน ล่าสุดที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ "หมออ๋อง นายปดิพัทธ์ สันติภาดา" รองประธานสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ลำดับที่ 1 พรรคเป็นธรรม เดินทางเข้ายื่นหลักฐานต่อ พ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ โฆษกดีเอสไอ เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับโรคอหิวาต์ในสุกร หรือ ASF ที่ระบาดในปี 2564 ประกอบการสอบสวนเพิ่มเติมในคดีเกี่ยวกับขบวนการลักลอบนำเข้าหมูเถื่อนในประเทศไทย
หมออ๋อง กล่าวว่า จากกรณีที่มีการจับกุมและกวาดล้างการนำเข้าหมูเถื่อนเข้าในประเทศไทยในปัจจุบันนี้ และได้มีการเปิดเผยรายชื่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก ทั้งภาครัฐและเอกชน ตนเองในฐานะที่เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและติดตามเรื่องดังกล่าวมาโดยตลอด จึงได้นำข้อมูลที่เกี่ยวกับหน่วยงานภาครัฐ คือ กรมปศุสัตว์ ที่อาจจะเกี่ยวข้องกับการปกปิดข้อมูลโรคระบาดดังกล่าว ในปี 2564-2565
ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ประเทศไทยประสบปัญหาเนื้อหมูหน้าเขียงขาดตลาด แต่กลับพบข้อมูลว่ามีขายในห้างสรรพสินค้ายักษ์ใหญ่ ขณะเดียวกันยังพบว่าบริษัทส่งออกรายใหญ่มีการส่งออกเนื้อหมูในปริมาณเพิ่มขึ้นถึง 400% ซึ่งมากที่สุดในประวัติศาสตร์ จึงคาดว่าสอดคล้องกับการปกปิดข้อมูลโรคระบาด เพราะหากมีการประกาศเกี่ยวกับโรคระบาดที่เกิดขึ้นจะทำให้ไม่สามารถส่งออกเนื้อหมูจากประเทศไทยได้
จึงได้นำข้อมูลที่เกี่ยวกับหน่วยงานภาครัฐ คือ กรมปศุสัตว์ ที่อาจจะเกี่ยวข้องกับการปกปิดข้อมูลโรคระบาดดังกล่าว ในปี 2564-2565 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ประเทศไทยประสบปัญหาเนื้อหมูหน้าเขียงขาดตลาด แต่กลับพบข้อมูลว่ามีขายในห้างสรรพสินค้ายักษ์ใหญ่ ขณะเดียวกันยังพบว่าบริษัทส่งออกรายใหญ่มีการส่งออกเนื้อหมูในปริมาณเพิ่มขึ้นถึง 400% ซึ่งมากที่สุดในประวัติศาสตร์ จึงคาดว่าสอดคล้องกับการปกปิดข้อมูลโรคระบาด เพราะหากมีการประกาศเกี่ยวกับโรคระบาดที่เกิดขึ้นจะทำให้ไม่สามารถส่งออกเนื้อหมูจากประเทศไทยได้
นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดผลกระทบกับเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยที่กำลังจะฟื้นตัวจากโรคระบาด เพราะพบว่ามีการนำเข้าเนื้อหมูเถื่อนอีกเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยประสบปัญหาไม่สามารถแข่งขันด้านราคา ไม่สามารถฟื้นฟูกิจการได้ กลไกดังกล่าวจึงถือเป็นการทำลายเกษตรกรรายย่อยอย่างถาวร
นายปดิพัทธ์ ได้กล่าวว่า เนื่องจากรัฐบาลในขณะนั้นไม่สามารถดำเนินการเอาผิดได้ จึงต้องการให้กรมสอบสวนคดีพิเศษได้ดำเนินการสืบสวนเอาผิดกับผู้ที่กระทำความผิดในอดีตด้วยไม่ว่าจะเป็น อธิบดีกรมปศุสัตว์ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ โดยตนเองได้เคยยื่นข้อมูลเกี่ยวกับขบวนการนี้ต่อ ป.ป.ช. มาแล้ว เมื่อปี 2565 เพื่อให้เอาผิดกับรัฐมนตรี และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแห่งหนึ่ง แต่ทาง ป.ป.ช. กลับไม่มีการดำเนินการใด ๆ ทั้งสิ้น