จวันที่ 11 ม.ค.67 ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) เปิดปฏิบัติการทลายเครือข่าย "ใบขวัญ" เจ้าของค่ายเพลงดัง แอบอ้างองคมนตรี-สถาบันการเงิน ปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กลุ่มนักธุรกิจ ตุ๋นเงินเหยื่อสูญเงินกว่า 2,000 ล้านบาท ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตามสืบได้หลังเจ้าตัวเสียชีวิต พร้อมไล่จับกุมญาติ 10 คน ร่วมฟอกเงินด้วย
แถลงข่าว นำโดย พล.ต.ต.โสภณ สารพัฒน์ รอง ผบช.ก. พร้อมด้วย พล.ต.ต.มนตรี เทศขัน ผบก.ป. พ.ต.อ.สุเทพ โตอิ้ม รอง ผบ.ก.ป. พ.ต.อ.สุริยศักดิ์ จิราวัสน์ ผกก.3 บก.ป. พ.ต.ท.ภาณุมาศ แสงส่ง รอง ผกก.3 บก.ป.
จากกรณีเมื่อปี 2559 ได้มีกลุ่มผู้เสียหายจำนวนหลายราย เข้าร้องทุกข์ดำเนินคดีต่อตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) เหตุถูกหลอกชักชวนเข้าร่วมโครงการเงินกู้วงเงินสูง อัตราดอกเบี้ยต่ำ แต่ไม่ได้รับเงินตามที่ตกลงไว้ ทำให้เกิดความเสียหายกว่า 2,000 ล้านบาท
คืบหน้ากรณีดังกล่าว กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดยกองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) ได้ร่วมกันจับกุมผู้ต้องหา จำนวน 5 คน ได้แก่
ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “ร่วมกันฉ้อโกง, ร่วมกันฉ้อโกงประชาชนโดยแสดงตนเป็นคนอื่น, ร่วมกันปลอมเอกสารและใช้เอกสารราชการปลอม, โดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง ร่วมกันนำสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด, ร่วมกันฟอกเงิน, สมคบกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงิน และได้มีการกระทำความผิดฐานฟอกเงินเพราะเหตุที่มีการสมคบกัน”
และร่วมจับกุมผู้ต้องหา อีกจำนวน 6 คน ได้แก่
นายสรวัฒ (สงวนนามสกุล) อายุ 62 ปี ตามหมายจับศาลอาญาที่ 65/2567 ลง 8 ม.ค. 67
นางมนชยา (สงวนนามสกุล) อายุ 62 ปี ตามหมายจับศาลอาญาที่ 66/2567 ลง 8 ม.ค. 67
นายพุทธิวัฒน์ (สงวนนามสกุล) อายุ 23 ปี ตามหมายจับศาลอาญาที่ 67/2567 ลง 8 ม.ค. 67
นางสาวฤมลชนก (สงวนนามสกุล) อายุ 23 ปี ตามหมายจับศาลอาญาที่ 68/2567 ลง 8 ม.ค. 67
นายณัฏฐ์สันต์ทัศน์ (สงวนนามสกุล) อายุ 33 ปี ตามหมายจับศาลอาญาที่ 69/2567 ลง 8 ม.ค. 67
นางสาวสงกรานต์ (สงวนนามสกุล) อายุ 37 ปี ตามหมายจับศาลอาญาที่ 70/2567 ลง 8 ม.ค. 67
ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “ร่วมกันฟอกเงิน, สมคบกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงิน และได้มีการกระทำความผิดฐานฟอกเงินเพราะเหตุที่มีการสมคบกัน”
จุดเริ่มต้นของคดีนี้ สืบเนื่องจาก เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคม 2566 ได้มีกลุ่มผู้เสียหายจำนวนหลายราย เข้าร้องทุกข์ดำเนินคดีต่อตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) ว่าเมื่อปี 2559 น.ส.รัชญา หรือ ใบขวัญ ยอดแก้ว ผู้ต้องหา อ้างว่ารู้จักกับสถาบันการเงิน สามารถเข้าถึงโครงการเงินกู้วงเงินสูง อัตราดอกเบี้ยต่ำ โดยแอบอ้างหน่วยงานราชการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ ชักชวนกลุ่มผู้เสียหายเข้าร่วมลงทุน จนทำให้สูญเงินกว่า 2,000 ล้านบาท
ต่อมาภายหลังผู้เสียหายไม่ได้รับเงินตามที่ผู้ต้องหากล่าวอ้าง ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) จึงมอบหมายให้ กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) เข้าทำการสอบสวนคดีดังกล่าว เพื่อทำการสืบสวนติดตามตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีโดยเร็ว
จากการสืบสวนทราบว่า เมื่อต้นปี 2559 มีคนแนะนำให้ผู้เสียหายรู้จักกับ น.ส.รัชญา โดยเธอบอกว่าสามารถติดต่อดำเนินเรื่องการกู้เงินจ่ายธนาคารเกี่ยวกับธุรกิจ SME วงเงินสูง ดอกเบี้ยต่ำ และใช้เวลาอนุมัติไม่นาน ผู้เสียหายสนใจจึงทำการติดต่อนัดพบกันวันที่ 10 ม.ค. 59 จากนั้น น.ส.รัชญา จึงได้อธิบายขั้นตอนการกู้เงิน และแหล่งที่มาของเงิน โดยอ้างว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินจากธนาคารแห่งหนึ่ง ขณะนั้นได้นำเงินกู้ SME มาจากต่างประเทศ ดอกเบี้ยต่ำประมาณ 1-2% ต่อปี ระยะผ่อนคืนประมาณ 20 ปี ใช้เวลาดำเนินการ 45 วัน ซึ่งผู้เสียหายต้องการเงินไปทำธุรกิจ จึงได้ทำสัญญานายหน้ากับ น.ส.รัชญา ในวงเงิน 50 ล้านบาท โดยจ่ายค่ามัดจำนายหน้าแก่ น.ส.รัชญาฯไว้ส่วนหนึ่ง
แต่เมื่อถึงกำหนด กลับอ้างว่าติดค่าธรรมเนียม พร้อมทั้งนำหนังสือเอกสารธนาคาร และหน่วยงานราชการมาอ้าง เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ ผู้เสียหายจึงได้โอนเงินทำสัญญานายหน้ากับ น.ส.รัชญาฯ เพิ่มเติมอีก 40 ล้านบาท โดยได้ให้ค่ามัดจำนายหน้าไว้อีกส่วนหนึ่งเช่นกัน แต่ต่อมา น.ส.รัชญาฯ ก็เริ่มมีการอ้างรูปแบบการเรียกค่าธรรมเนียมในการเบิกถอนเงินจากผู้เสียหายเรื่อยมา และในช่วงหลังก็ได้มีการแอบอ้างองคมนตรี เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือแก่ผู้เสียหายมากขึ้น
ต่อมา เมื่อประมาณปี 2563 ผู้เสียหายไม่สามารถหาเงินโอนจ่ายให้แก่ น.ส.รัชญาฯ ที่อ้างว่าเป็นค่าธรรมเนียมได้ น.ส.รัชญาฯ จึงแนะนำให้ผู้เสียหายชักชวนบุคคลอื่นมาร่วมจ่ายค่าธรรมเนียมดังกล่าวด้วย เนื่องจากผู้ต้องหาอ้างว่าหากไม่ได้เงินมาตามจำนวนที่แจ้งไป จะทำให้เงินที่ผู้เสียหายเคยลงทุนนั้นสูญเปล่า ผู้เสียหายจึงได้ทำการเชิญชวนผู้เสียหายรายอื่น ๆ เข้ามาเพิ่มเติม
จากนั้น เมื่อต้นปี 2564 น.ส.รัชญา ได้แจ้งว่าบัญชีของตนถูก ปปง. อายัด จึงให้ผู้เสียหายโอนค่าธรรมเนียมไปยังบัญชีใหม่ในบัญชีเครือญาติอีกจำนวนหลายบัญชี
จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2566 ใบขวัญ รัชญา ได้เสียชีวิตลงกะทันหัน ด้วยโรคประจำตัว ผู้เสียหายทั้งหมดจึงตรวจสอบว่าเงินที่ น.ส.รัชญา ได้ไปนั้น เอาไปดำเนินการอย่างไรต่อ และจึงได้ทราบว่าไม่มีโครงการกู้ยืมเงินดังกล่าวเกิดขึ้นเลย แถมยังเป็นการแอบอ้างหน่วยงานต่าง ๆ ปลอมเอกสารธนาคาร เพื่อให้มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งถือเป็นเพียงกลอุบายของผู้ต้องหาตลอดระยะเวลากว่า 6 ปี ที่หลอกลวงผู้เสียหายลักษณะเดียวกันซ้ำไปซ้ำมา การกระทำเหล่านี้จึงเข้าข่ายการฉ้อโกงเป็นปกติธุระ
จากการตรวจสอบประวัติของ น.ส.รัชญา พบว่า ก่อนเกิดเหตุ ประกอบอาชีพขายของออนไลน์ ภายหลังจากการมีเงินจากการหลอกลวง ได้สร้างบริษัทค่ายเพลง ร่วมงานกับศิลปินที่มีชื่อเสียงในวงการ และยังมียอดการรับชมกว่า 8 ล้านวิว ส่วนการตรวจสอบเส้นทางการเงิน ในบัญชีเงินฝาก น.ส.รัชญา พบว่ามีเงินหมุนเวียนกว่า 2,000 ล้านบาท โอนไปยังบัญชีธนาคารของเครือญาติ พร้อมทั้งมีการซื้อทรัพย์สินต่าง ๆ อาทิ รถหรู บ้าน และของแบรนด์เนม ที่เชื่อว่าน่าจะได้มาจากการกระทำความผิดทั้งหมด
ล่าสุด วันที่ 10 ม.ค. 2567 ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) ได้นำกำลังเข้าตรวจค้น จำนวน 19 จุด ในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานีกรุงเทพมหานคร นครราชสีมา พิษณุโลก เชียงใหม่ กำแพงเพชร และสมุทรปราการ สามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ จำนวน 10 คน ซึ่งเป็นเครือญาติที่พบการผ่องถ่ายเงิน พร้อมตรวจยึดทรัพย์สิน จำนวนกว่า 279,178,683 บาท ได้แก่
พร้อมทั้งอายัดเงินสดในบัญชีธนาคาร จำนวนกว่า 174 ล้านบาท และอายัดอสังหาริมทรัพย์อีก มูลค่า 60 ล้านบาท ต่อมา ได้นำตัวผู้ต้องหาพร้อมของกลาง นำส่งคณะพนักงานสอบสวน บก.ป. เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป และจากการสอบสวนเบื้องต้น กลุ่มผู้ต้องหาให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
นอกจากนี้ ตำรวจสอบสวนกลาง ยังได้กล่าวเตือนภัย เกี่ยวกับกรณีการกู้เงินจากธนาคาร หรือสถาบันการเงิน ให้ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของที่มา หากไม่แน่ใจว่าเป็นข้อความหรืออีเมลจากธนาคารหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจริงหรือไม่ ให้ติดต่อธนาคารหรือหน่วยงานนั้นโดยตรง อย่าโอนเงินค่าธรรมเนียมใด ๆ ให้กับผู้ที่แอบอ้าง หรือมิจฉาชีพผ่านทางช่องทางที่ไม่ปลอดภัย เช่น โทรศัพท์ อีเมล หรือโซเชียลมีเดีย ระมัดระวังข้อมูลส่วนบุคคลของตนเอง อย่าให้ข้อมูลส่วนบุคคลแก่บุคคลที่ไม่รู้จัก
หากท่านหลงเชื่อโอนเงินค่าธรรมเนียมให้กับมิจฉาชีพแล้ว ให้รีบแจ้งธนาคารหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการระงับการโอนเงิน และแจ้งความดำเนินคดีกับมิจฉาชีพ
นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกประกาศเตือนภัยแก๊งหลอกโอนเงินค่าธรรมเนียมธนาคาร โดยระบุว่า ธนาคารหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ จากลูกค้าผ่านทางช่องทางที่ไม่ปลอดภัย เช่น โทรศัพท์ อีเมล หรือโซเชียลมีเดีย หากท่านได้รับข้อความหรืออีเมลลักษณะนี้ โปรดอย่าหลงเชื่อ อย่าโอนเงินค่าธรรมเนียมใด ๆ ให้กับมิจฉาชีพ และแจ้งความดำเนินคดีกับมิจฉาชีพทันที