1. ตรวจสอบรายชื่อผ่าน Google
วิธีสุดคลาสสิคที่หลายคนอาจมองข้าม เพียงแค่นำชื่อคนขาย หรือชื่อของเจ้าของบัญชีไปค้นหาบน Google ก็จะมีรายละเอียดเตือนภัยว่าบัญชีนี้เคยมีประวัติอย่างไรบ้าง
2. ตรวจสอบรายชื่อผ่าน Social Media ต่าง ๆ
อีกหนึ่งช่องทางที่สามารถเช็กได้ เพราะผู้ใช้งาน Social Media ที่เคยตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ จะมีการนำข้อมูลมาแชร์หรือโพสต์เตือนภัยไว้ตามแพลตฟอร์มต่าง ๆ
3. เช็กผ่านเว็บไซต์ 'Blacklistseller'
มีการระบุข้อมูลของมิจฉาชีพอย่างละเอียด ชื่อบัญชีมิจฉาชีพ รายชื่อมิจฉาชีพ รวมถึงสามารถเช็กเลขบัญชีของมิจฉาชีพได้ด้วย ตั้งแต่ขั้นตอนซื้อขายจนไปถึงขั้นตอนโอนเงิน https://www.blacklistseller.com/
4. เช็กผ่านเว็บไซต์ 'ฉลาดโอน'
สามารถตรวจสอบข้อมูล ชื่อบัญชีเลขบัญชี /เบอร์โทร / sms ของผู้รับโอน ว่าเป็นมิจฉาชีพหรือไม่ นอกจากนี้ยังสามารถแจ้งข้อมูลคนโกงเพื่อป้องกันไม่ให้คนอื่นตกเป็นเหยื่อได้ หรือถ้าถูกโกงก็สามารถแจ้งผ่านทางเว็บไซต์ให้ทีมงานช่วยรวบรวมหลักฐานดำเนินคดีได้เช่นกัน และมีระบบยืนยันตัวตนผู้ขายสามารถแสดงบัตรที่ได้จากฉลาดโอนต่อผู้ซื้อ เพื่อสร้างความมั่นใจและความน่าเชื่อถือว่าผู้ขายมีตัวตนจริง https://www.chaladohn.com/
5. เว็บไซต์เช็กก่อน
เว็บไซต์ช่องทางใหม่ สามารถตรวจสอบเบอร์โทร เลขบัญชี พร้อมเพย์ เพื่อเช็กว่าบัญชีที่เราโอนเงินไปเป็นมิจฉาชีพหรือไม่? เพียงแค่ กรอกข้อมูลบัญชีธนาคาร เบอร์พร้อมเพย์ หมายเลขโทรศัพท์ หรือ URL เว็บไซต์ ที่ต้องการจะตรวจสอบก่อนโอน และสามารถแจ้งเบาะแสคนโกง เพื่อป้องกันไม่ผู้อื่นตกเป็นเหยื่อได้ www.checkgon.com
6. เช็กคนโกงจากเบอร์โทรศัพท์
แก๊งคอลเซ็นเตอร์ยังคงโทรมาหลอกลวงพร้อมมุกใหม่ๆ การเช็กคนโกงจากเบอร์โทรศัพท์ด้วยแอปพลิเคชันก็เป็นตัวช่วยให้ตรวจสอบคนโกงได้อย่างง่าย ๆ ในเบื้องต้นเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกหลอก
-Whoscall – ตรวจสอบเบอร์โทรและ SMS แจ้งเตือนมิจจาฉาชีพ
-Truecaller – ตรวจสอบแห่งที่มาของคนโทร โดยเฉพาะจากต่างประเทศ
ที่มา : ตำรวจสอบสวนกลาง