จากกรณี เมื่อวันที่ 14 ก.พ.67 ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ชุดเหยี่ยวดงบุกอายัดลูกสิงโตของกลางจากคาเฟ่กลางกรุงหลังตรวจสอบละเอียดแล้วพบว่าไมโครชิพไม่ตรงตามแจ้ง จึงเชื่อว่าไม่ใช่ตัวเดียวกันกับที่แจ้ง จึงได้ทำการบุกยึดและส่งตัวไปยังกลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ไปดูแลต่อ
จากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา คณะเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการปราบปรามการกระทำความผิดด้านสัตว์ป่าและพืชป่า (ชุดเหยี่ยวดง) ร่วมกับตำรวจ กก.1 บก.ปทส. ได้ตรวจสอบอายัดลูกสิงโตเพศเมีย อายุประมาณ 2 เดือนกว่า จำนวน 1 ตัว ซึ่งเป็นสัตว์ป่าควบคุม ประเภท ก ซึ่งมีเอกสารใบเสร็จรับเงินที่มีการซื้อขายระหว่างบริษัทขายสัตว์ต่างประเทศกับร้านคาเฟ่ในเขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร และเอกสารรหัสเลขไมโครชิพ
โดยไม่มีเอกสารแจ้งการครอบครองจากทางราชการ และจากการสแกนตรวจหารหัสไมโครชิปก็ไม่พบเลขไมโครชิป จึงได้ทำการอายัดลูกสิงโตไว้ที่ร้านคาเฟ่ดังกล่าว เพื่อให้เจ้าของร้านนำเอกสารมาแสดงภายในระยะเวลา 15 วัน นับจากวันที่ทำการอายัด
วันนี้ (12 ก.พ. 67) นายนฤพนธ์ ทิพย์มณฑา ผู้อำนวยการสำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า ได้มอบหมายให้ชุดปฏิบัติการปราบปรามการกระทำความผิดด้านสัตว์ป่าและพืชป่า (ชุดเหยี่ยวดง) ชุดปฏิบัติการพิเศษ 1362 ร่วมกับกองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา และตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กก.1 บก.ปทส.) เดินทางมายังสถานที่ดังกล่าว ได้พบกับนางสาวธัญชนก ซึ่งเป็นผู้ดูแลร้านและเป็นผู้รับอายัดสิงโตและเป็นผู้นำตรวจสอบ
นายนาวี ช้างภิรมย์ หัวหน้าชุดเหยี่ยวดง กล่าวว่าจากการตรวจ พบลูกสิงโตเพศเมีย จำนวน 1 ตัว (อายุประมาณ 2 เดือนครึ่ง) ที่ถูกอายัด อยู่ภายในกรงเหล็ก ซึ่งวางอยู่บริเวณในห้องจำหน่ายเครื่องดื่มภายในร้านคาเฟ่
โดยนางสาวธัญชนกฯ ได้นำเอกสารรูปภาพของสิงโต พร้อมรายละเอียดสัตว์ป่าควบคุมที่แจ้งการครอบครอง ชนิดสัตว์ป่าควบคุม ชนิดสิงโต อายุ 15 วัน เพศเมีย พร้อมเครื่องหมายประจำตัวสัตว์ป่า รหัสไมโครชิพ มาแสดงต่อคณะเจ้าหน้าที่ และกล่าวว่า หมายเลขไมโครชิพที่แสดงเมื่อครั้งแรกนั้น ทางบริษัทขายสัตว์ต่างประเทศแจ้งว่า เป็นเพียงตัวอย่างของไมโครชิพที่มีไว้ให้ฝังกับลูกสิงโตเท่านั้น ไม่ได้เป็นรหัสไมโครชิพประจำตัวสิงโตที่ถูกอายัด
คณะเจ้าหน้าที่ได้นำรหัสไมโครชิพทั้งสองหมายเลข ไปตรวจสอบกับฐานข้อมูลการแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าควบคุม ประเภท ก ชนิดสิงโต กับสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง) ปรากฏเป็นหมายเลขไมโครชิพซึ่งได้แจ้งการครอบครองสัตว์ป่าควบคุมหรือซากสัตว์ป่าควบคุม (ชั่วคราว) ถูกต้อง โดยรหัสไมโครชิปที่แสดงเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2567 ได้แจ้งการครอบครองลูกสิงโต เพศผู้ อายุ 3 เดือน ซึ่งปัจจุบันน่าจะมีอายุประมาณ 5 เดือน สถานที่ครอบครองใน จ.นครปฐม และรหัสไมโครชิพที่แสดงในวันนี้ ได้แจ้งการครอบครองลูกสิงโต เพศเมีย อายุ 15 วัน ซึ่งปัจจุบันน่าจะมีอายุประมาณ 1 เดือน 19 วัน สถานที่ครอบครองใน จ.นครปฐม
ทางคณะเจ้าหน้าที่ได้นำรหัสไมโครชิพทั้ง 2 หมายเลขไปตรวจสอบกับฐานข้อมูลการแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าควบคุม ประเภท ก ชนิดสิงโต กับสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง) โดยรหัสไมโครชิพที่แสดงเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2567 ได้แจ้งการครอบครองลูกสิงโต เพศผู้ อายุ 3 เดือน ซึ่งปัจจุบันน่าจะมีอายุประมาณ 5 เดือน สถานที่ครอบครองใน จ.นครปฐม และรหัสไมโครชิพที่แสดงในวันนี้ ได้แจ้งการครอบครองลูกสิงโต เพศเมีย อายุ 15 วัน ซึ่งปัจจุบันน่าจะมีอายุประมาณ 1 เดือน 19 วัน สถานที่ครอบครองใน จ.นครปฐม
ทางเจ้าหน้าที่ได้พิจารณาแล้วว่า เอกสารเชื่อไม่ได้ว่าเป็นลูกสิงโตตัวเดียวกันกับที่อายัดไว้ เนื่องจากเพศ อายุ ลักษณะรูปร่างและลวดลายของสิงโต ไม่สัมพันธ์กับลูกสิงโตที่ถูกอายัด และไม่มีหลักฐานการโอนและการแจ้งครอบครองสัตว์ป่าควบคุมของร้านดังกล่าว จึงพิจารณาแล้วว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ในข้อหา "ไม่แจ้งการครอบครองสัตว์ป่าควบคุม ตามมาตรา 9 จึงได้ทำการตรวจยึดสัตว์ป่าควบคุมประเภท ก ชนิด สิงโต จำนวน 1 ตัว และอุปกรณ์การกระทำผิด กรงเหล็ก จำนวน 1 กรง นำส่งกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อดำเนินคดีกับเจ้าของร้านดังกล่าวตามกฎหมายต่อไป
สำหรับลูกสิงโต เจ้าหน้าที่ได้นำส่งกลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ไปดูแลต่อไป
#สำนักป้องกันปราบปรามและควบคุมไฟป่า#ชุดปฏิบัติการพิเศษ1362 #กองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา #ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม#เหยี่ยวดง #สัตว์ป่าควบคุม #สิงโต #กรมอุทยานฯ