จากกรณีมีรายงานว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) สนธิกำลังร่วมกับ ปูพรมบุกค้น 5จุดในพื้นที่ปทุมธานี และนนทบุรี หลังจากเจ้าพนักงานสรรพากร เปิดปฏิบัติการ Anti Tax Crime ปราบขบวนการปลอมใบกำกับภาษี สร้างความเสียหายมูลค่ากว่า 1000 ล้านบาท
โดยร่วมกันตรวจค้น ทั้งสิ้น 5 จุด ดังนี้
พฤติการณ์ขบวนการปลอมใบกำกับภาษี
เนื่องจาก กก.๒ บก.ปอศ. ได้รับคำร้องเรียนจากพลเมืองดี ว่ามีบุคคลหรือนิติบุคคลกระทำความผิดเกี่ยวกับการออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิออก ซึ่งมีการลักลอบออกใบกำกับภาษีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายให้กับผู้ประกอบการทั่วประเทศเป็นจำนวนมาก คิดเป็นความเสียหายต่อรัฐหลายร้อยล้านบาท โดยไม่มีการซื้อขายสินค้าหรือให้บริการเกิดขึ้นจริง เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการ กก.๒ บก.ปอศ. จึงได้ทำการสืบสวน โดยให้สายลับเจรจาล่อซื้อใบกำกับภาษี จากกลุ่มบุคคลดังกล่าว จำนวน 5 ครั้ง และมีการออกใบกำกับภาษี โดยไม่มีสิทธิที่จะออก จำนวน 30 ใบ ต่อมาได้ไปตรวจสอบสถานประกอบการ ซึ่งจดทะเบียนเป็นสำนักงานนิติบุคคล พบว่า ไม่มีลักษณะเป็นสถานประกอบการแต่อย่างใด แต่กลับมีการลักลอบเปิดกิจการเพื่อขายใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายอันมีลักษณะเป็นการทำลายระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและประชาชนออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีการซื้อขายกันจริง ในส่วนของผู้ออกต้องรับผิดทางแพ่งแล้ว
ยังมีโทษทางความผิดใช้ใบกำกับอาญาด้วยในฐานความผิด โดยเจตนาหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม ออกใบกำกับภาษีไม่มีสิทธิที่จะออก ส่วนผู้ที่นำใบกำกับภาษีไปใช้ ถือเป็นภาษีซื้อต้องห้ามไม่มีสิทธินำมาใช้เป็นเครดิตต้องรับผิดทางแพ่ง และมีโทษทางอาญาในฐานภาษีปลอมโดยเจตนานำใบกำกับภาษีปลอมหรือใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปใช้ในการเครดิตภาษี มีโทษต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองแสนบาท
เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.๒ บก.ปอศ. จึงได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอหมายค้น และเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา ๐๙.๐๐ น. เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดปฏิบัติการ กก.๒ บก.ปอศ. และเจ้าพนักงานสรรพากร ได้ร่วมกันเข้าตรวจค้น ทั้ง 5 จุด พบผู้ต้องหาและตรวจยึดเอกสารที่เกี่ยวข้องในการกระทำความผิด จากนั้นได้นำส่ง พนักงานสอบสวน กก.๒ บก.ปอศ. เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป ซึ่งหลังจากนี้จะได้ดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหากับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินคดีต่อไป
ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดเก็บภาษีประเภทต่างๆ อย่างถูกต้อง เพื่อให้รัฐสามารถนำภาษีไปใช้ในการบริหารและพัฒนาสวัสดิการของประเทศได้อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ
จึงได้มีการดำเนินการตามมาตรการเชิงรุก เพื่อป้องกันปราบปรามและจับกุมผู้กระทำความผิดทุกรูปแบอย่างเด็ดขาด เช่น ผู้ประกอบการธุรกิจที่นำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้ และผู้ประกอบการที่ขายใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งทำให้รัฐเกิดความเสียหายและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสวัสดิการและคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทย