ตามหลักจิตวิทยาผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและจิตใจ เกิดพฤติกรรม หงุดหงิด ดื้อ เอาแต่ใจ ไม่ยอมรับฟังผู้อื่น มาจากปัจจัยการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน และเรื่องความทรงจำ การได้ยินมองเห็น สติสัมปชัญญะที่เสื่อมถอยตามอายุ เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ไม่รู้ตัวว่าโดนหลอก บางครั้งดื้อรั้นไม่เชื่อฟังผู้อื่น
ซึ่งมิจฉาชีพเล็งเห็นว่าผู้สูงอายุสามารถถูกหลอกได้ง่าย และบางคนมีเงินเก็บตลอดชีวิตที่เยอะ เลยพยายามพุ่งเป้าไปที่ผู้สูงอายุ มิจฉาชีพมักใช้เทคนิคจิตวิทยาการโน้มน้าว 2 ประเภทหลัก ๆ คือ การอ้างอำนาจ (authority) และการกดดันโดยการจำกัดเวลาหรือจำนวนรางวัลตอบแทน (scarcity) ทำให้เหยื่อรู้สึกเชื่อใจและไว้ใจ ใช้การโน้มน้าวทางอารมณ์มากกว่าเหตุผล เช่น จงใจจำกัดระยะเวลา ทำให้เหยื่อเร่งรีบโอนเงินเพื่อจะได้รับผลตอบแทนที่ล่อตาล่อใจ และหลงเชื่อว่าตนจะได้รับผลตอบแทนตามที่ผู้หลอกลวงสัญญาไว้ ซึ่งไม่ได้เสียแค่เงินทองเท่านั้น บางคนต้องเสียเงินเก็บทั้งชีวิตไป
ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) ขอแนะนำ 6 หลักที่ป้องกันผู้สูงวัยจากมิจฉาชีพบนโลกออนไลน์ ดังนี้
1. อย่าเพิ่งรีบเชื่อในทันที
2. เปรียบเทียบข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่ง
3. อย่าเพิ่งรีบแชร์
4. เลือกเข้าชมเฉพาะสื่อที่น่าเชื่อถือเท่านั้น
5. หากสงสัยให้สอบถามจากแหล่งที่ถูกอ้างถึง
6. ปรึกษาลูก – หลานก่อนจะเชื่อ
ขอบคุณ : ตำรวจสอบสวนกลาง