สังคม

heading-สังคม

อย. เผยชื่อยี่ห้อ "เซรั่มเถื่อน" โฆษณาหลอกลวง เสี่ยงทำหน้าพัง

04 เม.ย. 2567 | 14:52 น.
อย. เผยชื่อยี่ห้อ "เซรั่มเถื่อน" โฆษณาหลอกลวง เสี่ยงทำหน้าพัง

อย. เตือนอย่าเชื่อ อย่าใช้เซรั่มเถื่อน อ้างช่วยลดเลือนริ้วรอยบนใบหน้าได้ทันทีหลังใช้ รีวิวทางTik Tok อาจลักลอบใส่สารห้ามใช้ ผู้ใช้อันตรายเสี่ยงหน้าพัง

เภสัชกรวีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอทาง Tik Tok สาธิตวิธีใช้เซรั่มที่ทาเพียงหยดเดียวตีนกาหายวับทันที นั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอเรียนว่า เครื่องสำอางในคลิปวิดีโอไม่ปรากฏฉลากภาษาไทย ตรวจสอบเพิ่มเติม พบว่าเป็นผลิตภัณฑ์ชื่อ Brolamen ไม่พบการจดแจ้งในฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และมีข้อสังเกตจากคลิปดังกล่าวว่า ผู้ใช้เครื่องสำอางในคลิปมีการหยีตาขณะทาเซรั่ม จึงมีรอยย่นที่หางตา แต่เมื่อทาเซรั่มเสร็จก็ไม่หยีตา จึงไม่เห็นรอยย่น ดังนั้น การที่รอยย่นหายไปน่าจะเกิดจากการขยับกล้ามเนื้อบนใบหน้า

อย. เผยชื่อยี่ห้อ เซรั่มเถื่อน โฆษณาหลอกลวง เสี่ยงทำหน้าพัง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

การโฆษณาเครื่องสำอางในลักษณะดังกล่าว มีความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เนื่องจากสื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดด้วยภาพว่าใช้ผลิตภัณฑ์นี้ลดริ้วรอยได้ทันที ซึ่งเป็นเท็จหรือเกินความจริงและทำให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพบว่าเจ้าของบัญชีที่เผยแพร่คลิปวิดีโอดังกล่าวอยู่ต่างประเทศ โดย อย. จะตรวจสอบ เฝ้าระวังการโฆษณาและดำเนินคดีผู้กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายอย่างเข้มงวดต่อไป เพื่อให้ผู้บริโภคไม่ตกเป็นเหยื่อของการโฆษณาโอ้อวดเกินจริง

 

รองเลขาธิการ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า ขอเตือนผู้บริโภคให้ระมัดระวังในการเลือกซื้อ เลือกใช้ ผลิตภัณฑ์สุขภาพจากแพลตฟอร์มออนไลน์ อย่าได้หลงเชื่โฆษณาที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริง ก่อนซื้อให้ตรวจสอบว่า ผลิตภัณฑ์ผ่านการจดแจ้งจาก อย. หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ได้ที่เว็บไซต์ อย. www.fda.moph.go.th หัวข้อ “ตรวจสอบการอนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพ”, Facebook: FDAThai, Line@FDAThai และผลิตภัณฑ์ต้องแสดงฉลากเป็นภาษาไทย ระบุข้อความจำเป็นครบถ้วน ได้แก่ ชื่อเครื่องสำอางและชื่อทางการค้า ประเภทหรือชนิดของเครื่องสำอาง ชื่อของสารทุกชนิดที่ใช้เป็นส่วนผสม วิธีใช้ ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า ปริมาณสุทธิ ครั้งที่ผลิต เดือนปีที่ผลิต เดือนปีที่หมดอายุ คำเตือน และเลขที่ใบรับจดแจ้ง หากผู้บริโภคพบการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงหรือได้รับอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ร้องเรียนมาได้ที่ สายด่วน อย. โทร. 1556 หรือ E-mail: [email protected]หรือ ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

อย. เผยชื่อยี่ห้อ เซรั่มเถื่อน โฆษณาหลอกลวง เสี่ยงทำหน้าพัง

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

พนง.พลอดรักในห้องประชุม ไม่รู้มีประชุมออนไลน์ ฉายสดทั่วบริษัท

พนง.พลอดรักในห้องประชุม ไม่รู้มีประชุมออนไลน์ ฉายสดทั่วบริษัท

ชายชราสั่งลูกไก่ ลูกเห็นจำนวนแล้วรีบโทรหาร้าน ก่อนได้ยินคำตอบ

ชายชราสั่งลูกไก่ ลูกเห็นจำนวนแล้วรีบโทรหาร้าน ก่อนได้ยินคำตอบ

เผยสาเหตุ "นายห้างดัง" คืนสัญญา "โชครถแห่" ก่อนครบกำหนด

เผยสาเหตุ "นายห้างดัง" คืนสัญญา "โชครถแห่" ก่อนครบกำหนด

อดีตดาราเด็กเสียชีวิต พบกำลังท้องอ่อนๆ ตกใจสถานที่เจอศพ

อดีตดาราเด็กเสียชีวิต พบกำลังท้องอ่อนๆ ตกใจสถานที่เจอศพ

อำลาซึ้ง โชค รถแห่-นัส จุฑารัตน์ ขอบคุณไหทองคำ ในวันที่ชีวิตมืดมน

อำลาซึ้ง โชค รถแห่-นัส จุฑารัตน์ ขอบคุณไหทองคำ ในวันที่ชีวิตมืดมน