เรียกได้ว่าสร้างฮือฮาอย่างมาก กรณีการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ 2567 โดยในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 พ.ย. 2566 เห็นชอบการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุ การปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบการปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว และแนวทางปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบราชการ ตามที่ สำนักงาน ก.พ. เสนอ
โดยการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการบรรจุใหม่ ปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ 1 พฤษภาคม 2567 ตัดสินจากคุณวุฒิ (ในประเทศ) ที่ ก.พ. รับรองเพื่อการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ จำนวน 34 คุณวุฒิ ซึ่งมีดังนี้
1. วุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติแสดงความรู้ ความชํานาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ของแพทยสภา ในสาขาที่มีกําหนดเวลาศึกษา อบรมไม่น้อยกว่า 2 ปี ต่อจากวุฒิปริญญา แพทยศาสตรบัณฑิต และได้รับใบประกอบ วิชาชีพเวชกรรม
2. วุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติบัตรแสดงความรู้ ความชํานาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรมของทันตแพทยสภา ในสาขาที่มีกําหนดเวลาศึกษาอบรมไม่น้อยกว่า 4 ปี ต่อจากวุฒิปริญญาทันตแพทยศาสตรบัณฑิต และได้รับใบประกอบวิชาชีพทันตกรรม
3. วุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติแสดงความรู้ ความชํานาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา ในสาขาที่มีกําหนดเวลาศึกษาอบรมไม่น้อยกว่า 3 ปี ต่อจากวุฒิปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต และได้รับใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม
4. วุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติบัตรแสดงความรู้ ความชํานาญในการประกอบวิชาชีพทันตกรรมของทันตแพทยสภา ในสาขาที่มีกําหนดเวลาศึกษาอบรมไม่น้อยกว่า 3 ปี ต่อจากวุฒิปริญญาทันตแพทยศาสตรบัณฑิต และได้รับใบประกอบวิชาชีพทันตกรรม
5. ปริญญาเอก หรือเทียบเท่า
6. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตทางการแพทย์คลินิก ที่มีหลักสูตรกําหนดเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 2 ปี ต่อจากวุฒิประกาศนียบัตรชั้นสูงทางวิทยาศาสตรการแพทย์คลินิก
7. ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง ที่มีหลักสูตรการศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ปี ต่อจากปริญญาทันตแพทยศาสตรมหาบัณฑิต
8. ปริญญาทันตแพทยศาสตรมหาบัณฑิต
9. ปริญญาวิทยาศาสตรการแพทย์พื้นฐาน หรือปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตเฉพาะสาขาวิชา ที่กําหนดที่มีหลักสูตรการศึกษาไม่น้อยกว่า 2 ปี ต่อจากวุฒิปริญญาพื้นฐานหลายระดับ ดังนี้
9.1 ปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต และไดรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หรือปริญญาทันตแพทยศาสตรบัณฑิต และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หรือ ปริญญาสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
9.2 ปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต หรือปริญญาทันตแพทยศาสตรบัณฑิต หรือปริญญาสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต หรือปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต
9.3 ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต
10. ประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทยคลินิก
เงินเดือน ปริญญาทันตแพทยศาสตรมหาบัณฑิต
11. ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงที่มีหลักสูตรการศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ปี ต่อจากปริญญาโทในข้อ 13
12. ปริญญาโทที่มีหลักสูตรกําหนดเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 2 ปี ต่อจากวุฒิปริญญาตรี เฉพาะที่กําหนดในข้อ 19
13. ปริญญาโททั่วไป หรือเทียบเท่า
14. ปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หรือปริญญาทันตแพทยศาสตรบัณฑิต และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หรือปริญญาสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
15. ปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต หรือปริญญาทันตแพทยศาสตรบัณฑิต หรือปริญญาสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต
16. ปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 6 ปี)
17. ประกาศนียบัตรชั้นสูง หรือประกาศนียบัตรบัณฑิตที่มีหลักสูตรกําหนดเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ปี ต่อจากวุฒิปริญญาตรี เฉพาะที่กําหนดในข้อ 19
18. ประกาศนียบัตรชั้นสูง หรือประกาศนียบัตรบัณฑิตที่มีหลักสูตรการศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ปี ต่อจากวุฒิปริญญาตรีทั่วไป ในข้อ 21
19. ปริญญาตรีที่มีหลักสูตรกําหนดเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 5 ปี ต่อจากวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายเฉพาะปริญญาที่ ก.พ. กําหนดให้ได้รับเงินเดือนตามหลักสูตร 5 ปี
20. ปริญญาตรีสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ ที่มีหลักสูตรกําหนดเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 5 ปี ต่อจาก วุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
เงินเดือน ปริญญาตรีสาขาวิชาศึกษาศาสตร์
21. ปริญญาตรีที่มีหลักสูตรกําหนดเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 4 ปี ต่อจากวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือปริญญาตรีที่มีหลักสูตรกําหนดเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 2 ปี (หลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี) ต่อจากวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรืออนุปริญญาหรือเทียบเท่า หรือประกาศนียบัตรเปรียญธรรมประโยค 9
22. ปริญญาตรีที่มีหลักสูตรกําหนดเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 4 ปี หรือเทียบเท่า (เฉพาะคุณวุฒิตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่งของสายงานคีตศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และนาฏศิลป์) หรือประกาศนียบัตรเปรียญธรรมประโยค 9 (เฉพาะคุณวุฒิตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่งของสายงานอนุศาสน์)
23. อนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรของส่วนราชการต่าง ๆ ที่มีหลักสูตรกําหนดระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 3 ปี 6 เดือน ต่อจากวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า
24. ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรืออนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรของส่วนราชการต่าง ๆ ที่มีหลักสูตรกําหนดระยะเวลาศึกษาไว้ไม่น้อยกว่า 3 ปี ต่อจากวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า
25. ประกาศนียบัตรทางนาฏศิลป์ชั้นสูง คีตศิลป์ชั้นสูง หรือดุริยางคศิลป์ชั้นสูง
26. ประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) และอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรของส่วนราชการต่าง ๆ ที่มีหลักสูตรกําหนดระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 2 ปี ต่อจากวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือไม่น้อยกว่า 2 ปี ต่อจากวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า
27. ประกาศนียบัตรของส่วนราชการต่าง ๆ ที่มีหลักสูตรกําหนดระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ปี 6 เดือน ต่อจากวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
28. ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือประกาศนียบัตรที่มีหลักสูตรกําหนดระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ปี ต่อจากวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือไม่น้อยกว่า 3 ปี ต่อจากวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนต้น หรือเทียบเท่า
29. ประกาศนียบัตรทางนาฏศิลป์ชั้นกลาง คีตศิลป์ชั้นกลาง หรือดุริยางคศิลป์ชั้นกลาง
30. ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) หรือประกาศนียบัตรของส่วนราชการต่าง ๆ ที่มีหลักสูตรกําหนดระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 2 ปี ต่อจากวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนต้น หรือเทียบเท่า
เงินเดือน ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา
31. ประกาศนียบัตรวิชาผดุงครรภ์อนามัย หรือประกาศนียบัตรของส่วนราชการต่าง ๆ ที่มีหลักสูตรกําหนดระยะเวลาศึกษา ไม่น้อยกว่า 1 ปี 6 เดือน ต่อจากคุณวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนต้น หรือเทียบเท่า
32. ประกาศนียบัตรวิชาชีพของส่วนราชการต่าง ๆ ที่มีหลักสูตรกําหนดระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ปี ต่อจากวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนต้น หรือเทียบเท่า
33. ประกาศนียบัตรทางนาฏศิลป์ชั้นต้น คีตศิลป์ชั้นต้น หรือดุริยางคศิลป์ชั้นต้น
34. ประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนต้น และประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า และประกาศนียบัตรเปรียญธรรมประโยค 6-8
วุฒิต่างประเทศ
อัตราเงินเดือนสําหรับคุณวุฒิที่ ก.พ. รับรองเพื่อการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ จํานวน 13 คุณวุฒิ (สถานศึกษาต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา สหราชอาณาจักร ประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศญี่ปุ่น และ Asian Institute of Technology) ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 มีดังนี้
1. Higher National Diploma (HND)
2. ปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี ของสหรัฐอเมริกา สาขาวิชาที่ต้องได้รับการรับรองวิทยฐานะสาขาวิชาชีพ แต่สถาบันได้รับเฉพาะการรับรองวิทยฐานะสถาบัน
3. ปริญญาตรีทั่วไป หรือปริญญาตรีของสหรัฐอเมริกาสาขาวิชาที่ไม่ต้องได้รับการรับรองวิทยฐานะสาขาวิชาชีพ และสถาบันได้รับการรับรองวิทยฐานะสถาบัน หรือปริญญาตรีของสหรัฐอเมริกาสาขาวิชาที่ต้องได้รับการรับรองวิทยฐานะสาขาวิชาชีพ และสถาบันนั้นได้รับการรับรองวิทยฐานะสาขาวิชาชีพ
4. ปริญญาตรีของสหรัฐอเมริกา สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จากสถาบันที่ไม่ได้รับการรับรองวิทยฐานะสาขาวิชาชีพ แต่ได้รับเฉพาะการรับรองวิทยฐานะสถาบัน
5. ปริญญาตรีของสหรัฐอเมริกา สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ หรือสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จากสถาบันที่ได้รับการรับรองวิทยฐานะสาขาวิชาชีพหรือ Postgraduate Diploma (หลักสูตรปกติ)
6. Postgraduate Diploma (หลักสูตรสําหรับนักศึกษาต่างชาติ)
7. ปริญญาโทของสหรัฐอเมริกา สาขาวิชาที่ต้องได้รับการรับรองวิทยฐานะสาขาวิชาชีพ แต่สถาบันได้รับเฉพาะการรับรองวิทยฐานะสถาบัน โดยไม่ได้รับการรับรองวิทยฐานะสาขาวิชาชีพ
8. ปริญญาโททั่วไป หรือปริญญาโทของสหรัฐอเมริกา สาขาวิชาที่ไม่ต้องได้รับการรับรองวิทยฐานะสาขาวิชาชีพ และสถาบันได้รับการรับรองวิทยฐานะสถาบัน หรือปริญญาโทของสหรัฐอเมริกา สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ หรือสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จากสถาบันที่ไม่ได้รับการรับรองวิทยฐานะสาขาวิชาชีพ แต่ได้รับการรับรองวิทยฐานะสถาบัน หรือ Doctor of Pharmacy จากสถาบัน ที่ได้รับการรับรองวิทยฐานะสาขาวิชาชีพของสหรัฐอเมริกา
9. ปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หรือปริญญาทันตแพทยศาสตรบัณฑิต และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หรือปริญญาสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
10. ปริญญาโทสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ หรือสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ หรือปริญญาโทของสหรัฐอเมริกา สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จากสถาบันที่ได้รับการรับรองวิทยฐานะสาขาวิชาชีพ
11. ปริญญาโทสาขาวิชาที่กําหนดหลักสูตรการศึกษาต่อจากวุฒิปริญญา ดังนี้ ปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หรือปริญญาทันตแพทยศาสตรบัณฑิต และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หรือปริญญาสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
12. ปริญญาเอก
13. ปริญญาเอกสาขาวิชาที่กําหนดหลักสูตรการศึกษาต่อจากวุฒิปริญญา ดังนี้ ปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หรือปริญญาทันตแพทยศาสตรบัณฑิต และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หรือปริญญาสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ขอบคุณ ocsc