จากกรณี "หมอธีระ" หรือ รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม ได้โพสตเรื่องราวเกี่ยวกับ วัคซีนโควิด ลงในเพจเฟสบุ๊ค นพ.ธีระ วรธนารัตน์ พร้อมระบุรายละเอียดข้อมูลดังนี้
เห็นข่าวในทีวีและโซเชียลเช้านี้แล้วเดี๋ยวจะเข้าใจผิดกันไปใหญ่
เรื่องวัคซีนโควิดประเภท adenoviral vector ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อปัญหาลิ่มเลือดอุดตันและเกร็ดเลือดต่ำ (TTS) นั้น เป็นเรื่องที่ทราบกันมานานแล้ว
แม้จะเป็นเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นได้ยาก แต่เกิดแล้วรุนแรง และเสียชีวิตได้
ด้วยเหตุผลและความกังวลเรื่องดังกล่าว ทางยุโรปจึงหันมาใช้ mRNA vaccines มาฉีดเป็นเข็มที่สองแทน หลังจากกลุ่มประเทศยุโรปใช้ Adenoviral vector vaccine ฉีดให้ประชาชนเป็นเข็มแรกในช่วงแรกครับ
และหากย้อนกลับไปในช่วงปี 2021 นั้น เราจึงเห็นข่าวผู้เชี่ยวชาญต่างๆ พยายามออกมาเตือนให้ระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่ช่วงนั้นมีรายงานพบว่ามีการเกิดปัญหานั้นเยอะกว่ากลุ่มอื่น หรือเกิดแล้วอาจรุนแรงกว่ากลุ่มอื่น อาทิ เพศหญิงที่อายุน้อย กลุ่มอายุน้อยกว่า 60 ปี เป็นต้น
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นยาหรือวัคซีนใดๆ ก็ตาม นอกจากประโยชน์ในการรักษาหรือป้องกันโรคแล้ว ยังมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์ได้ ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์จะให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและประชาชนเสมอ รวมถึงมีระบบการเฝ้าระวัง ติดตามผลการใช้ยาหรือวัคซีนต่างๆ หลังได้รับการอนุมัติด้วย บางครั้งหากเกิดปัญหาชัดเจน หน่วยงานที่ดูแลก็จะต้องจัดการหรือถอนจากตลาดในเวลาต่อมา โดยความปลอดภัยในชีวิตของคนนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอันดับแรก
ดังนั้นจึงควรรู้เท่าทันข่าวสาร และระมัดระวังเรื่องข่าวลวงที่อาจถือโอกาสปั่นให้เกิดความเข้าใจผิดนอกเหนือไปจากสาระความรู้ที่มี
นอกจากนี้ สื่อสารมวลชนควรตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับข่าวในลักษณะนี้ให้ชัดเจน เพื่อที่จะได้ขัดเกลาสาระที่นำเสนอให้ตรงประเด็นและครบถ้วน ลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน หรือลดโอกาสที่จะถูกนำไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม
อ้างอิง
1. EMA raises awareness of clinical care recommendations to manage suspected thrombosis with thrombocytopenia syndrome. European Medicines Agency. 7 June 2021.
2. Vaxzevria (AstraZeneca) vaccine and thrombosis with thrombocytopenia (TTS). Department of Health and Aged Care. Australian Government.
สำหรับ รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
ประวัติการศึกษา
แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญาโทสาขาเวชศาสตร์ป้องกัน (MMedSc.) มหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา
ปริญญาเอกสาขาชีวสถิติ (PhD) มหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา
ตำแหน่งงาน
รองหัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อการแปลงานวิจัยสุขภาพสู่การปฏิบัติ สำนักงานวิจัยและพัฒนาเพื่อการแปลงานวิจัยสุขภาพสู่การปฏิบัติ (HDRU)
ผลงาน
มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติมากกว่า 200 เรื่อง
เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษาให้กับองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
ได้รับรางวัลและเกียรติยศต่างๆ มากมาย
บทบาทในสังคม
เป็นที่รู้จักในฐานะผู้เชี่ยวชาญที่ให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย
มักให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้
เขียนบทความเกี่ยวกับโควิด-19 ลงในเว็บไซต์ส่วนตัว https://www.si.mahidol.ac.th/th/department/preventive/