สังคม

heading-สังคม

สพฐ. สั่งลดการบ้าน ครู-นักเรียน เฮลั่นต้อนรับเปิดเทอม!

17 พ.ค. 2567 | 18:44 น.
สพฐ. สั่งลดการบ้าน ครู-นักเรียน เฮลั่นต้อนรับเปิดเทอม!

สพฐ. ประกาศกำชับทุกโรงเรียน ลดการบ้าน-เพิ่มการเรียนรู้ สร้างความสุขนักเรียนและครู เน้นการบ้านเฉพาะรายวิชาที่จำเป็น

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้มีนโยบาย "ลดการบ้าน เพิ่มการเรียนรู้" มุ่งเน้นให้ครูลดปริมาณการบ้านที่ต้องทำนอกเวลาเรียน  โดยวันที่ 17พ.ค.67 ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้เปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 แล้ว ซึ่ง สพฐ. ได้กำชับให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขต ขับเคลื่อนนโยบาย "เรียนดี มีความสุข" ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง, ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา ของ พล.ต.อ. เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 โดยดูแลให้สถานศึกษาดำเนินการตามประกาศหลักการและแนวปฏิบัติในการมอบหมายการบ้าน “ลดการบ้าน เพิ่มการเรียนรู้” ที่มุ่งหวังให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ให้การบ้านเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนรู้ และเป็นเครื่องมือประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน ขณะเดียวกันให้เขตพื้นที่ฯซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับตัวชี้วัดระหว่างทาง และ ตัวชี้วัดปลายทาง ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) และแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตัวชี้วัดระหว่างทาง ตัวชี้วัดปลายทาง และเกณฑ์การตัดสินผลการเรียน 

สพฐ. สั่งลดการบ้าน ครู-นักเรียน เฮลั่นต้อนรับเปิดเทอม!

หลักการ "ลดการบ้าน เพิ่มการเรียนรู้" มุ่งเน้นให้ครูลดปริมาณการบ้านที่ต้องทำนอกเวลาในชั้นเรียน ให้เน้นการมอบหมายการบ้านเฉพาะรายวิชาที่จำเป็นทักษะสำคัญ เช่น การอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น ให้มีการบูรณาการการบ้าน ซึ่งการบ้านชิ้นงานเดียวอาจตอบโจทย์การเรียนรู้ข้ามรายวิชา และส่งเสริมให้นักเรียนได้มีเวลาศึกษาค้นคว้าตามความสนใจของตนเองมากขึ้น ทั้งนี้ หัวใจของการให้การบ้าน คือ การให้เด็กๆ ได้ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ ให้ได้ฝึกฝนทำซ้ำจนเกิดทักษะ

สพฐ. สั่งลดการบ้าน ครู-นักเรียน เฮลั่นต้อนรับเปิดเทอม

ซึ่งเด็กแต่ละคนต้องการเวลาเพื่อทำความเข้าใจสิ่งที่เรียนไม่เท่ากัน หรือ สำหรับเด็กโต การบ้านที่ให้ได้ค้นคว้าอย่างอิสระ จะยิ่งส่งเสริมการเรียนรู้ ช่วยบ่มเพาะความรับผิดชอบในตนเอง ดังนั้น จึงขอเน้นย้ำกับคุณครูว่า การให้โจทย์ที่ไม่ยากไม่ง่าย ไม่ใช้เวลามากเกินไป แล้วมีการตรวจการบ้าน อธิบาย ให้ feedback จุดที่ควรพัฒนาอย่างตรงประเด็น จึงจะเป็นการพัฒนานักเรียนอย่างแท้จริง ซึ่งความสุขที่เกิดจากการลดปริมาณแต่เพิ่มคุณภาพของการบ้าน เช่น ทำการบ้านหนึ่งชิ้นงานส่งคุณครูเพื่อวัดผลการเรียนรู้ได้หลายวิชา จะสร้างความสุขให้ทั้งนักเรียน ผู้ปกครอง รวมถึงคุณครูเองด้วย

เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการจัดการเรียนรู้และลดภาระครู และนักเรียน ด้านการจัดการเรียนรู้และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สพฐ.ได้ดำเนินการคัดสรรตัวชี้วัดระหว่างทาง และตัวชี้วัดปลายทาง ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พศ.2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ซึ่งจากจำนวนตัวชี้วัดทั้งสิ้น 2,056 ตัวชี้วัด สามารถจำแนกเป็นตัวชี้วัดระหว่างทาง จำนวน 1,285 ตัวชี้วัด และตัวชี้วัดปลายทางจำนวน  771 ตัวชี้วัด

 

โดยการคัดสรรตัวชี้วัดดังกล่าวนี้ นักเรียนยังคงได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพครบถ้วนตามที่หลักสูตรกำหนด อย่างครบถ้วนผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้และการวัดและประเมินผล ดังนี้ การประเมินผลการเรียนรู้กับตัวชี้วัดระหว่างทาง ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และเน้นการประเมินระหว่างจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนเป็นหลัก เช่น การสังเกตพฤติกรรม การสอบปากเปล่า การพูดคุย การใช้คำถาม การเขียนสะท้อนการเรียนรู้ การประเมินตนเองและเพื่อน เป็นต้น สำหรับการประเมินผลการเรียนรู้กับตัวชี้วัดปลายทาง

เน้นการประเมินผลลัพธ์สุดท้ายที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนด้วยวิธีที่หลากหลาย หรือการวัดและประเมินผลแบบเป็นทางการ เช่น การประเมินด้วยการปฏิบัติ แฟ้มสะสมผลงาน แบบทดสอบ และชิ้นงาน เป็นต้น” เลขาธิการ กพฐ.

 

นโยบายนี้มุ่งเน้นไปที่การลดภาระงานของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยมีหลักการสำคัญดังนี้

ลดปริมาณการบ้าน : เน้นให้ครูมอบหมายการบ้านเฉพาะวิชาที่จำเป็น เช่น ภาษาไทย คณิตศาสตร์ เน้นทักษะสำคัญ เช่น การอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น
บูรณาการการบ้าน: ออกแบบการบ้านให้เป็นชิ้นงานเดียว อาจตอบโจทย์การเรียนรู้ข้ามรายวิชา

เน้นการเรียนรู้ : มอบหมายการบ้านที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข เป็นเครื่องมือพัฒนาการเรียนรู้ และประเมินผลเพื่อติดตามความก้าวหน้า

ลดเวลาเรียน : ลดเวลาเรียนในห้องเรียนลง 10-20% เพื่อให้นักเรียนมีเวลาศึกษาค้นคว้าตามความสนใจมากขึ้น
เป้าหมายของนโยบายนี้

ลดภาระ : ลดความเครียด ให้นักเรียนมีเวลาพักผ่อน ทำกิจกรรมอื่น ๆ และใช้เวลากับครอบครัวมากขึ้น
พัฒนาการเรียนรู้: ให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง ค้นคว้าหาความรู้ คิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา และนำความรู้ไปใช้จริง
สร้างความสุข: ส่งเสริมให้นักเรียนมีความสุขกับการเรียน รักการเรียนรู้ และมีแรงจูงใจในการศึกษาต่อ

อย่างไรก็ตาม นโยบายนี้ไม่ได้ห้ามครูมอบหมายการบ้าน แต่ครูต้องออกแบบการบ้านให้เหมาะสม สอดคล้องกับหลักการและแนวทางที่กำหนดไว้ และคำนึงถึงความแตกต่างของนักเรียนแต่ละคน

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

"กัน จอมพลัง" ทำ "คะน้า" เสียอาการ หลังถามเกี่ยวกับ "ไผ่ ลิกค์"

"กัน จอมพลัง" ทำ "คะน้า" เสียอาการ หลังถามเกี่ยวกับ "ไผ่ ลิกค์"

"ต้นอ้อ เป็นหนึ่ง" พีคต่อเนื่อง โพสต์สั้น ๆ อ่านจบแห่ไลก์นับพัน

"ต้นอ้อ เป็นหนึ่ง" พีคต่อเนื่อง โพสต์สั้น ๆ อ่านจบแห่ไลก์นับพัน

เปิดข้อความ "ไผ่ ลิกค์" ทักหา "คะน้า" ขนาด "กัน จอมพลัง" เห็นยังตกใจ

เปิดข้อความ "ไผ่ ลิกค์" ทักหา "คะน้า" ขนาด "กัน จอมพลัง" เห็นยังตกใจ

สลดใจ แพทย์หนุ่ม ดับกะทันหัน ระหว่างพักหลังผ่าตัดคนไข้

สลดใจ แพทย์หนุ่ม ดับกะทันหัน ระหว่างพักหลังผ่าตัดคนไข้

ผมมีลูกไม่ได้ "ฮอต ไฮโซเก๊" โต้กลับทำสาวท้อง ชี้สาเหตุป่วย 2 โรค

ผมมีลูกไม่ได้ "ฮอต ไฮโซเก๊" โต้กลับทำสาวท้อง ชี้สาเหตุป่วย 2 โรค