ปลาหมอคางดำ สัตว์น้ำที่กำลังรุกรานประเทศไทย จากการค้นพบระบาดไปทั่วโลก ไม่ใช่แค่ประเทศไทยเท่านั้น ปลาหมอคางดำ มีถิ่นกำเนิดมาจากที่ไหน จากพื้นที่ในแอฟริกาตะวันตก พื้นที่ชายฝั่ง และเมืองต่าง ๆ หลายประเทศในแถบนั้น ล้วนพบการแพร่พันธุ์ รุกราน มาตั้งแต่ปี ค.ศ.1950 หรือ กว่า 70 ปีก่อน เช่น กานา แคมเมอรูน กีนี และเซเนกัล
รู้จัก ปลาหมอคางดำ สายพันธุ์นี้ลักษณะพิเศษหลายอย่าง เช่น ทนต่อความเค็มได้สูง ปรับตัวกับสภาพแวดล้อมได้ดี ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว และแม้ว่าจะไม่สามารถระบุเพศได้อย่างชัดเจน แต่ก็มีข้อสังเกตเล็กๆ น้อยๆ อย่างเพศผู้จะมีหัวและแผ่นปิดเหงือกที่มากกว่าเพศเมีย
ปลาหมอคางดำเพศเมีย 1 ตัว มีไข่ประมาณ 50–300 ฟอง หรือมากกว่านั้น ใช้เวลาตั้งท้องเพียง 22 วัน ใช้เวลาฟักไข่ในปากเพศผู้เพียง 4–6 วัน ก่อนจะดูแลตัวอ่อนประมาณ 2–3 สัปดาห์ไว้ในปากเช่นเดิม ส่งผลให้อัตราการรอดสูงกว่าปกติ
ปลาเอเลี่ยนสปีชีส์ สำหรับผลกระทบในการรุกรานของ ปลาหมอคางดำ สามารถแบ่งออกได้เป็นหลักๆ 3 ประเด็น คือ
1. ผลกระทบต่อระบบนิเวศทำให้สังคมของสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่หนึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางลบ อันเนื่องมาจากการเข้ามาของชนิดพันธุ์ต่างถิ่น
2. ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ส่งผลให้ทรัพยากรที่มีอยู่เดิมสูญเสียไป หรือส่งผลต่อคุณภาพและปริมาณผลผลิตทางการเกษตร การประมง และการเพาะเลี้ยง อันเนื่องมาจากการเข้ามาของชนิดพันธุ์ต่างถิ่น
3. ผลกระทบต่อสุขภาพและอนามัย รวมทั้งสุขภาพจิตจากการเข้ามาของชนิดพันธุ์ต่างถิ่น
ปลาหมอคางดำ ใน ประเทศไทย
พ.ศ. 2549 คณะกรรมการด้านความหลากหลายและความปลอดภัยทางชีวภาพของกรมประมง (IBC) อนุญาตให้บริษัทนำเข้าปลาหมอคางดำเข้ามาเพื่อปรับปรุงสายพันธุ์ปลานิล
พ.ศ. 2553 บริษัทได้นำปลาหมอคางดำจำนวน 2,000 ตัว มาเลี้ยงที่ จ.สมุทรสงคราม โดยระบุว่าตายเกือบทั้งหมดและได้ทำการกำจัดทิ้งแล้ว
พ.ศ. 2555 เกษตรกรชาวสมุทรสงครามพบการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ
พ.ศ. 2561 กรมประมงได้แก้ไขประกาศกระทรวงฯ ห้ามนำเข้าปลาหมอสีคางดำ ปลาหมอมายัน และปลาหมอบัตเตอร์ ใครฝ่าฝืนจะมีโทษทางกฎหมาย
สรุป : ผลกระทบของ “ปลาหมอคางดำ” ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะทำลายระบบนิเวศและปลาประจำถิ่นในหลายพื้นที่ ทั้งยังสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อเกษตรกรที่เลี้ยงปลา กุ้งอีกด้วย เราจะรับมือกับการระบาดของปลาหมอคางดำอย่างไร และการปล่อยปลาผู้ล่าจะช่วยเราให้พ้นจากวิกฤตปลาหมอคางดำระบาดหรือไม่ วอนประชาชน ที่หาปลาตามริมน้ำช่วยปล่อยปลากระพงขาว และปลาอีกง เพื่อกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติก่อน
ข้อมูล : ศูนย์ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ กรมประมง