ค้นพบครั้งสำคัญ "รอยเท้าปริศนาภูหินร่องกล้า" ยืนยัน เป็นของจริง

03 สิงหาคม 2567

ค้นพบครั้งสำคัญ กรมทรัพยากรธรณีลงพื้นที่ตรวจสอบ ยืนยันแล้ว "รอยเท้าปริศนาบนภูหินร่องกล้า" เป็นรอยเท้าไดโนเสาร์จริง

 เรียกได้ว่าข่าวการค้นพบ "รอยเท้าปริศนาภูหินร่องกล้า" เป็นเรื่องที่น่าสนใจและสร้างความตื่นเต้นให้กับวงการธรณีวิทยาและผู้ที่สนใจไดโนเสาร์เป็นอย่างมาก หลายคนต่างสงสัยว่าใช่รอยเท้าไดโนเสาร์หรือไม่ ล่าสุด กรมทรัพยากรธรณีลงพื้นที่ตรวจสอบ พบรอยตีนไดโนเสาร์แห่งใหม่ที่อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ระบุว่า

 

ค้นพบครั้งสำคัญรอยเท้าปริศนาภูหินร่องกล้า ยืนยัน เป็นของจริง

 

 

 

 

 

  ตามที่กรมทรัพยากรธรณี ได้รับการประสานจากนายลำยอง ศรีเสวก หัวหน้า อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า - Phu Hin Rong Kla National Park  จากกระแสสื่อสังคมออนไลน์ว่าพบร่องรอยบนลานหินลักษณะคล้ายรอยตีนไดโนเสาร์ ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก

ค้นพบครั้งสำคัญรอยเท้าปริศนาภูหินร่องกล้า ยืนยัน เป็นของจริง

วันที่ 1 สิงหาคม 2567 นางสาวดรุณี สายสุทธิชัย ผู้อำนวยการ @สำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 2 พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง - Phu Wiang Dinosaur Museum ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่โดยว่าที่ร้อยตรีกฤษณะ สุดชา นักธรณีวิทยาปฏิบัติการ และคณะ ลงพื้นที่ตรวจสอบร่วมกับ นายโกเมศ พุทธสอน ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 (พิษณุโลก) พร้อมเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า และผู้ค้นพบคนแรก ซึ่งเป็นครอบครัวนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการสำรวจธรรมชาติ แจ้งว่าค้นพบร่องรอยตรงนี้ครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 แต่ตอนนั้นยังไม่แน่ใจ และได้เข้ามาท่องเที่ยวเดินสำรวจบริเวณนี้อยู่หลายครั้ง จนแน่ใจว่าอาจจะเป็นรอยตีนไดโนเสาร์ จึงได้แจ้งเจ้าหน้าที่อุทยาน และเผยแพร่ไปทางสื่อสังคมออนไลน์ตามที่เป็นข่าว 

  ค้นพบครั้งสำคัญรอยเท้าปริศนาภูหินร่องกล้า ยืนยัน เป็นของจริง

ผลการตรวจสอบเบื้องต้นจากกรมทรัพยากรธรณีพบว่าเป็นรอยตีนของไดโนเสาร์จริง ประทับอยู่บนลานหินทรายและหินโคลน จัดอยู่ในหมวดหินภูพาน ยุคครีเทเชียสตอนต้น อายุประมาณ 120 ล้านปีก่อน กระจายอยู่บนพื้นที่ประมาณ 2,500 ตารางเมตร รอยตีนไดโนเสาร์ที่พบมีจำนวนมากกว่า 10 รอย และแสดงเป็นแนวทางเดิน จำนวนอย่างน้อย 2 แนว ส่วนใหญ่เป็นรอยตีนของไดโนเสาร์กินเนื้อเดินสองขา กลุ่มเทอโรพอดขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ แสดงรอยประทับของของนิ้วตีนข้างละสามนิ้วชัดเจน ทั้งนี้ คณะสำรวจจะลงพื้นที่สำรวจเพิ่มเติม และเก็บข้อมูลทางวิชาการ เพื่อศึกษาวิจัยต่อไป

 

พื้นที่บริเวณรอยตีนไดโนเสาร์ที่ค้นพบใหม่นี้ เดิมเคยเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโบราณที่กว้างขวาง เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและหากินของสัตว์ดึกดำบรรพ์หลายชนิด รวมถึงไดโนเสาร์ ซึ่งเดินเพ่นพ่านไปมาตามริมแม่น้ำที่เป็นดินโคลนอ่อนนุ่ม เกิดเป็นรอยตีนประทับไปบนพื้นตะกอนเป็นแนวทางเดิน ต่อมาตะกอนเหล่านี้เริ่มแห้งและแข็งขึ้นทำให้คงสภาพรอยตีนที่ประทับลงไปได้ จนเมื่อถึงฤดูน้ำหลากในปีถัดไปได้พัดพาเอาตะกอนชุดใหม่มาปิดทับทำให้ร่องรอยต่างที่อยู่ตะกอนชุดเก่าถูกเก็บรักษาไว้ใต้ดิน กาลเวลาผ่านกว่าร้อยล้านปีตะกอนค่อยๆแข็งตัวกลายเป็นหินตะกอน จำพวกหินทรายและหินโคลน ฝังอยู่ใต้ผิวโลก ต่อมากระบวนการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกทำให้ชั้นหินตะกอนเหล่านี้ถูกยกตัวขึ้นมาเป็นภูเขาสูง และถูกกัดเซาะโดยฝนและทางน้ำในปัจจุบัน ทำให้ชั้นหินที่มีรอยตีนไดเสาร์ประทับอยู่โผล่ขึ้นมาบนผิวโลก จึงเป็นเหตุว่าทำไมจึงพบรอยตีนไดโนเสาร์ประทับอยู่บนหินแข็งที่อยู่บนภูเขาสูง

ค้นพบครั้งสำคัญรอยเท้าปริศนาภูหินร่องกล้า ยืนยัน เป็นของจริง

 

พื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า เคยมีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์รอยตีนไดโนเสาร์แล้ว บริเวณลำน้ำหมันแดง ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ห่างออกไปจากจุดที่ค้นพบใหม่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 35 กิโลเมตร และเป็นไดโนเสาร์กลุ่มเทอโรพอดเช่นเดียวกัน โดยบริเวณที่ค้นพบรอยตีนไดโนเสาร์แห่งใหม่ เป็นพื้นที่ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ ใกล้กับลานกางเต็นท์ของอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ซึ่งสามารถเข้าถึงได้สะดวก และเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวและพักแรมในอุทยาน เหมาะสำหรับการพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรณีวิทยาและซากดึกดำบรรพ์ที่สำคัญของอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้าต่อไปในอนาคต

 

ขอบคุณ กรมทรัพยากรธรณี