เปิดรายชื่อยี่ห้อ "ยาแก้ไอปลอม" หลังเจ้าหน้าที่บุกทลายโรงงานผลิต

04 สิงหาคม 2567

เปิดรายชื่อยี่ห้อ "ยาแก้ไอปลอม" หลังเจ้าหน้าที่ตำรวจสอบสวนกลาง ร่วม อย. สสจ.สมุทรสาคร บุกทลายโรงงานผลิต มูลค่าความเสียหายกว่า 50 ล้านบาท

ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมปฏิบัติการจับกุมกวาดล้างเครือข่ายผู้ผลิตและจำหน่ายยาแก้ไอปลอมรายใหญ่ 3 จุด ในพื้นที่ จ.สมุทรสาคร

เปิดรายชื่อยี่ห้อ ยาแก้ไอปลอม หลังเจ้าหน้าที่บุกทลายโรงงานผลิต

โดยตรวจยึดและอายัดยาแก้ไอ ยี่ห้อดาทิสซินปลอม จำนวน 45,600 ขวด, วัตถุดิบ อุปกรณ์การผลิต และบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งสิ้น 35 รายการ โดยโรงงานดังกล่าวมียอดการผลิตวันละ 20,000 ขวด และลักลอบผลิตมาแล้วประมาณ 2 เดือน มูลค่าความเสียหายรวมกว่า 50 ล้านบาท

สืบเนื่องจาก เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. ได้รับแจ้งเบาะแสจากสื่อสังคมออนไลน์ว่ามีการแพร่ระบาดของยาเสพติดชนิด 4x100 อย่างรุนแรงในกลุ่มวัยรุ่น โดยมีการนำยาแก้ไอชนิดน้ำเชื่อม หรือยาบางชนิดมาใช้ผิดวัตถุประสงค์ โดยนำมาผสมกับน้ำกระท่อมดื่มเพื่อความมึนเมา และเสพติดเป็นจำนวนมาก ซึ่งยากลุ่มดังกล่าวจะต้องจำหน่ายโดยเภสัชกร

ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการสืบสวนหาข่าวพบว่า มีการลักลอบผลิตยาแก้ไอปลอม และทราบถึงกลุ่มเครือข่ายผู้ผลิตยาแก้ไอปลอมว่ามีการลักลอบผลิต และบรรจุ อยู่ในพื้นที่ จ.สมุทรสาคร จึงมีการร่วมมือกันระหว่างเจ้าหน้าที่ดังกล่าวข้างต้น นำหมายค้นเข้าตรวจค้น สถานที่ผลิตยาแก้ไอปลอม ในพื้นที่ ต.ดอนไก่ดี อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร และ ต.ท่าทราย อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร รวมจำนวน 3 จุด

ตรวจยึดและอายัดยาแก้ไอ ยี่ห้อดาทิสซินปลอม จำนวน 45,600 ขวด, วัตถุดิบ อุปกรณ์การผลิต และบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งสิ้น 35 รายการ โดยโรงงานดังกล่าวมียอดการผลิตวันละ 20,000 ขวด และลักลอบผลิตมาแล้วประมาณ 2 เดือน มูลค่าความเสียหายรวมกว่า 50,000,000 บาท

เปิดรายชื่อยี่ห้อ ยาแก้ไอปลอม หลังเจ้าหน้าที่บุกทลายโรงงานผลิต

จากการสืบสวนพบว่า ผู้กระทำความผิดนำส่วนผสม วัตถุดิบ และบรรจุภัณฑ์จากสถานที่ต่างๆมาผลิต และบรรจุในโกดังในพื้นที่ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร จากนั้นจะนำผลิตภัณฑ์ยาแก้ไอปลอมไปกระจายเก็บไว้ในโกดังพื้นที่ อ.กระทุ่มแบน และ อ.เมืองสมุทรสาคร โดยจะเปลี่ยนสถานที่ในการผลิตไปเรื่อยๆ รวมทั้งใช้กล่องผลไม้บรรจุยาแก้ไอปลอมในการขนส่งเพื่อตบตา และยากแก่การตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และยังสืบสวนทราบว่ากลุ่มผู้กระทำผิดดังกล่าว เป็นผู้ที่ได้รับการว่าจ้างผลิตยาแก้ไอปลอม ให้กับเครือข่ายผู้กระทำความผิดในการผลิต และจำหน่ายยาแก้ไอปลอม ในพื้นที่ จ.ปทุมธานี และ จ.นนทบุรี ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. ได้เข้าทำการตรวจค้นและดำเนินคดีไปแล้ว เมื่อประมาณเดือนเมษายน 2567 ที่ผ่านมาอีกด้วย

ผลการปฏิบัติภายใต้อำนวยการ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก., พล.ต.ต.วิทยา ศรีประเสริฐภาพ ผบก.ปคบ., พ.ต.อ.วีระพงษ์ คล้ายทอง ผกก.4 บก.ปคบ. ร่วมกับ นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ภญ.อรัญญา เทพพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์จัดการเรื่องร้องเรียนและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ศรป.) และ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. ดำเนินการ