พยากรณ์อากาศกรุงเทพฯ และปริมณฑล
06:00 น. วันนี้ - 06:00 น. วันพรุ่งนี้
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ออกประกาศ 01 พฤศจิกายน 2567 12:00
อากาศ 7 วัน ข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 1 – 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
คาดหมาย
ในช่วงวันที่ 2 - 7 พ.ย. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ภาคใต้ตอนบน และทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนและภาคใต้ตอนบน มีอุณหภูมิลดลง และมีอากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง โดยภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะลดลง 2 – 4 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน อุณหภูมิจะลดลง 1 – 3 องศาเซลเซียส ในขณะที่ในช่วงวันที่ 5 – 7 พ.ย. 67 มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ในระดับบนพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับจะมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาเคลื่อนเข้าปกคลุมด้านตะวันตกของภาคเหนือ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝน/ฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
สำหรับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลางและตอนล่าง ประกอบกับในช่วงวันที่ 3 – 4 พ.ย. 67 จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนตามแนวร่องมรสุมที่พาดผ่านในบริเวณดังกล่าว ในขณะที่ลมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยตอนบน และภาคใต้ตอนบน ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนบนจะเริ่มมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
อากาศ 7 วัน ที่ผ่านมา
25 ตุลาคม 2567 - 31 ตุลาคม 2567
คาดหมาย
บริเวณความกดอากาศสูงปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีกำลังอ่อน ประกอบกับลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยเกือบตลอดช่วง โดยมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางในระยะปลายช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนส่วนมากในระยะกลางและปลายช่วง ส่วนทางภาคใต้มีฝนตกตลอดช่วง
อนึ่ง พายุโซนร้อน “จ่ามี (TRAMI,2420)” ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองเว้ ประเทศเวียดนามเมื่อเวลา 10.00 น. ของวันที่ 27 ต.ค. ก่อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศลาวในช่วงเย็นของวันเดียวกัน พายุลูกนี้ได้เคลื่อนตัววกกลับไปทางประเทศเวียดนามตอนกลางอีกครั้งและลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนบนในช่วงเช้ามืดของวันที่ 28 ต.ค. และได้อ่อนกำลงเป็นพายุดีเปรสชันและหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามในช่วงเช้าของวันเดียวกัน