การแข่งขันฟุตบอลคิงส์คัพ ครั้งที่ 49 ที่สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี รอบรองชนะเลิศ วันที่ 10 ก.ย. 66 เป็นการพบกันระหว่าง ทีมชาติไทย อันดับ 113 ของโลก แชมป์คิงส์คัพ 15 สมัย และ อิรัก อันดับ 70 ของโลก โดยเกมก่อนหน้านี้ ฟุตบอลทีมชาติไทย เอาชนะ เลบานอน มาได้ ส่วนทางด้าน อิรัก เอาชนะ อินเดีย มาได้
โดยรายชื่อ 11 ตัวจริงทัพช้างศึกไทย ในการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน คิงส์ คัพ ครั้งที่ 49 นัดชิงชนะเลิศ ได้แก่ ฉัตรชัย บุตรพรม (GK) , ธีราทร บุญมาทัน (C) , พรรษา เหมวิบูลย์ , กฤษดา กาแมน , สารัช อยู่เย็น , สุภโชค สารชาติ , ธีรศิลป์ แดงดา , บดินทร์ ผาลา , นิโคลัส มิคเกลสัน , ยูเซฟ เอเลียส ดอเลาะ , วีระเทพ ป้อมพันธุ์
เริ่มเกมมาไม่นาน ถึงนาทีที่ 6 จากลูกทุ่มไกล และแนวรับไทยสกัด มาเข้าทาง อายเมน กลัดบัน ยิงเข้าไปให้อิรัก นำก่อน 1 - 0
จากนั้น ทีมชาติไทย เริ่มครองเกมได้มากขึ้น จนถึงนาที 37 ธีราทร บุญมาทัน เปิดบอลให้ นิโคลัส มิคเกลสัน โขกสุดสวยให้ทีมชาติไทย ตามตีเสมออิรัก 1 - 1
โดยเกมในครึ่งหลัง นาที 65 อิบราฮีม คามิล หลุดมาทางขวาก่อนเปิดให้ อัมเยด คาดฮิม ยิงให้อิรักนำ 2 - 1
และในนาที 80 ทีมชาติไทยมาได้จุดโทษจากจังหวะที่นักเตะอิรัก ทำแฮนด์บอล แต่ธีรศิลป์ แดงดา ซัดลูกโทษไปติดเซฟนายด่านอิรัก พลาดโอกาสให้ช้างศึกขึ้นนำ
และอีก 2 นาทีต่อมา สุภโชค สารชาติ หลุดมาทางขวา ก่อนเปิดให้ บดินทร์ ผาลา โขกให้ ทีมชาติไทยไล่มาเป็น 2 - 2 จบ 90 นาที ไทยเสมออิรัก 2 - 2 ต้องไปตัดสินแชมป์คิงส์คัพด้วยการดวลจุดโทษ
สรุปผลการดวลจุดโทษตัดสิน อิรัก ชนะ ทีมชาติไทย ไป 5 - 4 (สกอร์รวม 7 - 6) ทำให้ ทีมชาติอิรัก คว้าแชมป์ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน คิงส์ คัพ ครั้งที่ 49 เป็นครั้งแรก ส่วนทาง ฟุตบอลทีมชาติไทย พลาดการเป็นแชมป์คิงส์คัพ 4 ครั้งติดต่อกันต่อจากปี 2018 , 2019 , 2022
สำหรับ ทีมชาติไทยมีโปรแกรมอุ่นเครื่องตามปฏิทินฟีฟ่า เดย์ อีกครั้ง โดยมีโปรแกรมจะพบกับ จอร์เจีย และ เอสโตเนีย ในวันที่ 12 และ 17 ตุลาคม 2566