เปิดภาพ "นกโพระดกคางแดง" อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบชื้น

16 สิงหาคม 2566

นกโพระดกคางแดง(Red-throated Barbet) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Psilopogon mystacophanos อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบชื้น ตั้งแต่ระดับต่ำจนกระทั่งความสูง 750 เมตร จากระดับน้ำทะเล

สิ่งที่น่าสนใจ : ตัวผู้และตัวเมียมีสีต่างกันเล็กน้อย ตัวผู้หน้าผากสีเหลือง กระหม่อมสีแดง มีคิ้วสีดำ บริเวณหัวตาสีแดง คอหอยตอนล่างสีฟ้าและมีสีแดงแต้มตรงมุมขอบของบริเวณสีฟ้า ตัวเมียหน้าผากสีเขียว กระหม่อมตอนท้ายเป็นลายสีแดง ไม่มีคิ้วสีดำ บริเวณกลางกระหม่อม แก้ม และคอหอยตอนล่างมีสีฟ้าจาง ทั้งสองเพศบริเวณแก้มไม่มีสีเหลืองอย่างนกโพระดกเคราเหลืองและนกโพระดกหลากสี

เปิดภาพ "นกโพระดกคางแดง" อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบชื้น

ถิ่นอาศัย : พบในพม่า ทางภาคใต้และภาคตะวันตกของไทย มาเลเซีย เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบชื้น ตั้งแต่ระดับต่ำจนกระทั่งความสูง 750 เมตร จากระดับน้ำทะเล

อาหาร : ผลไม้ นอกจากนี้ยังกินแมลง ตัวหนอน และสัตว์ขนาดเล็กบ้าง

เปิดภาพ "นกโพระดกคางแดง" อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบชื้น

พฤติกรรม : อุปนิสัยไม่แตกต่างจากนกโพระดกชนิดอื่น นกโพระดกคางแดงร้อง "ตุ๊ก" แล้วตามด้วย "ตู-ตู-ตู" หรืออาจร้อง "ตุ๊ก-ตู-ตู-ตุ๊ก" แล้วตามด้วย "ตู-ตู-ตู"

วัยเจริญพันธุ์ : นกชนิดนี้ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ทำรังตามโพรงต้นไม้ ไข่สีขาว รังมีไข่ 3-4 ฟอง ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อน ใช้เวลาฟักไข่ 14-15 วัน

เปิดภาพ "นกโพระดกคางแดง" อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบชื้น
ที่มา : อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ Khaolak-Lamru National Park