1 ใน 4 ของคนไทยตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ Whoscall เผยรายงานองค์กรต่อต้านกลโกงระดับโลก

07 ตุลาคม 2567

Whoscall เผยรายงานองค์กรต่อต้านกลโกงระดับโลก (GASA) พบกว่า 1 ใน 4 ของคนไทยตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา

กรุงเทพฯ 7 ตุลาคม 2567, บริษัทโกโกลุก (Gogolook) ผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อความเชื่อมั่น (TrustTech) ผู้พัฒนาแอปพลิเคชันWhoscallร่วมกับองค์กรต่อต้านกลโกงระดับโลก Global Anti-Scam Alliance (GASA) และScamAdviser เปิดรายงานสถานการณ์การหลองลวงจากมิจฉาชีพในประเทศไทย (State of Scams in Thailand) ประจำปี 2567 เผยถึงรูปแบบการหลอกลวงที่เปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่อคนไทยผ่านการสำรวจความคิดเห็นของคนไทยกว่า 9,360 คนจากหลากหลายกลุ่มประชากรตลอด 1 ปีที่ผ่านมา

1 ใน 4 ของคนไทยตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ Whoscall เผยรายงานองค์กรต่อต้านกลโกงระดับโลก
 

ข้อมูลที่น่าสนใจจากรายงาน


●    กว่า 1 ใน 4 หรือ 28% ของผู้ตอบแบบสอบถามตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
●    58% รับมือกับมิจฉาชีพบ่อยขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2566 โดย  89% ต้องรับมือกับมิจฉาชีพอย่างน้อยเดือนละครั้ง
●    กว่า 1 ใน 3 หรือ 39% สูญเสียเงินให้มิจฉาชีพภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากได้รับการติดต่อจากมิจฉาชีพและมีเพียง 2% ที่ได้ทรัพย์สินคืนทั้งหมดหลังจากถูกหลอก
●    มูลค่าความเสียหายจากการถูกหลอกเฉลี่ยอยู่ที่ 1,106 ดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 36,000 บาทต่อคน
●    การขโมยข้อมูลส่วนบุคคลและการหลอกลวงที่ใช้เทคโนโลยีAIเป็นรูปแบบกลโกงที่ถูกพบมากที่สุด

นายแมนวูจูประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทโกโกลุก (ประเทศไทย) กล่าวว่า “แม้จะมีความพยายามในการป้องกันภัยมิจฉาชีพอย่างต่อเนื่องทั้งจากภาครัฐและเอกชนแต่ประเทศไทยยังคงประสบกับปัญหาจากการหลอกลวงและความพยายามในการหลอกกลวงจากมิจฉาชีพรายงานที่เราได้จัดทำร่วมกับ GASA และScam Adviser ในปีนี้แสดงให้เห็นถึงระดับความถี่ของการหลอกลวงที่เพิ่มขึ้นรวมไปถึงข้อมูลเชิงลึกกลลวงใหม่ๆจากมิจฉาชีพและผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยพบว่ามูลค่าความเสียหายที่เหยื่อถูกหลอกจากมิจฉาชีพเฉลี่ยสูงถึง 1,106 ดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 36,000 บาทต่อคนในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา”
 

นายแมน วูจู ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทโกโกลุก (ประเทศไทย) กล่าวว่า “แม้จะมีความพยายามในการป้องกันภัยมิจฉาชีพอย่างต่อเนื่องทั้งจากภาครัฐและเอกชนแต่ประเทศไทยยังคงประสบกับปัญหาจากการหลอกลวงและความพยายามในการหลอกกลวงจากมิจฉาชีพรายงานที่เราได้จัดทำร่วมกับ GASA และScam Adviser ในปีนี้แสดงให้เห็นถึงระดับความถี่ของการหลอกลวงที่เพิ่มขึ้นรวมไปถึงข้อมูลเชิงลึกกลลวงใหม่ๆจากมิจฉาชีพและผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยพบว่ามูลค่าความเสียหายที่เหยื่อถูกหลอกจากมิจฉาชีพเฉลี่ยสูงถึง 1,106 ดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 36,000 บาทต่อคนในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา”

1 ใน 4 ของคนไทยตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ Whoscall เผยรายงานองค์กรต่อต้านกลโกงระดับโลก

การหลอกลวงเกิดบ่อยขึ้นและมีมูลค่าความเสียหายมากขึ้นแม้ว่าคนจะรู้ทันมิจฉาชีพ


รายงานระบุว่าคนไทยมีความระมัดระวังในการป้องกันตนเองจากมิจฉาชีพมากขึ้นโดย 55% มั่นใจว่ารู้ทันกลลวงมิจฉาชีพด้วยการตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์ 44%

 

และใช้แอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้รับ 37% อย่างไรก็ตาม 89% เผยว่ายังต้องรับมือกับมิจฉาชีพอย่างน้อยเดือนละครั้งและ 58% ระบุว่าต้องรับมือกับมิจฉาชีพบ่อยขึ้นโดยเกือบ 10% ระบุว่าถูกก่อกวนจากมิจฉาชีพถี่ขึ้นต่อเดือนเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาในขณะที่ 35% ได้รับโทรศัพท์และข้อความหลอกลวงหลายครั้งต่อสัปดาห์
 
รายงานยังพบว่าการโทรเข้าและส่งข้อความผ่านมือถือยังเป็นวิธีการหลอกลวงที่มิจฉาชีพใช้มากที่สุด ตามด้วยโฆษณาออนไลน์การใช้แอปพลิเคชันต่างๆสำหรับส่งข้อความและโพสต์บนโซเชียลมีเดียโดย 5 ช่องทางที่มิจฉาชีพใช้มากที่สุดในการหลอกลวงได้แก่ Facebook 50% ตามด้วย Line 43%, Messenger 39%, TikTok 25% และ Gmail 20% 

1 ใน 4 ของคนไทยตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ Whoscall เผยรายงานองค์กรต่อต้านกลโกงระดับโลก
 
ทั้งนี้การได้รับคืนเงินที่ถูกมิจฉาชีพหลอกไปนั้นทำได้ยากขึ้นเมื่อเทียบกับปีผ่านมา ผลสำรวจจพบว่ากว่า 1 ใน 3 หรือ 39% สูญเสียเงินภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากได้รับการติดต่อจากมิจฉาชีพโดยมีเหยื่อเพียง 2%ได้เงินที่ถูกหลอกไปคืนทั้งหมดแต่มีเหยื่อมากถึง 71% ไม่สามารถนำเงินที่สูญเสียไปกลับคืนมาได้และ 73% ระบุว่าได้รับผลกระทบทางจิตใจอย่างรุนแรงหลังจากถูกหลอก
1 ใน 4 ของคนไทยตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ Whoscall เผยรายงานองค์กรต่อต้านกลโกงระดับโลก

การขโมยข้อมูลส่วนบุคคลและการใช้เทคโนโลยี AI เป็นวิธีการหลอกลวงที่แพร่หลาย


การขโมยข้อมูลส่วนบุคคล (Identity Thef) และการใช้เทคโนโลยี AI เป็นรูปแบบกลโกงที่มิจฉาชีพใช้มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ผลสำรวจระบุว่าการขโมยข้อมูลส่วนบุคคลโดยการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อหลอก ให้เหยื่อโอนเงินเป็นกลลวงที่พบมากที่สุดถึง 22%  แซงหน้าการหลอกลวงให้ซื้อสินค้า (shopping scams) 19%  ตามมาด้วยการออกใบแจ้งหนี้ปลอม หรือการหลอกให้ชำระหนี้16% และการหลอกให้ลงทุน14% ตามลำดับ


  1 ใน 4 ของคนไทยตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ Whoscall เผยรายงานองค์กรต่อต้านกลโกงระดับโลก
นอกจากนี้รายงานระบุว่าคนไทยมีความตระหนักรู้มากขึ้นว่ามิจฉาชีพนำเทคโนโลยี AI มาเป็นเทคนิคใหม่ในการเขียนข้อความสร้างบทสนทนาเลียนแบบเสียงรวมถึงสร้างภาพของบุคคลหรือสถานการณ์หลอกลวงในรูปแบบต่างๆโดย 66 % ของผู้ตอบแบบสอบถามมั่นใจว่าเคยได้รับข้อความที่เขียนโดยใช้เทคโนโลยี AI

1 ใน 4 ของคนไทยตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ Whoscall เผยรายงานองค์กรต่อต้านกลโกงระดับโลก
 
นายจอริจอับบราฮัม (Jorij Abraham) ผู้จัดการทั่วไปGlobal Anti-Scam Alliance (GASA) กล่าวว่า“รายงานสถานการณ์การหลองลวงจากมิจฉาชีพในประเทศไทยฉบับนี้แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อปรับปรุงมาตรการป้องกัน เพิ่มการดำเนินการที่เข้มงวดและสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับภัยจาก มิจฉาชีพ  จากความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาลและผลกระทบทางจิตใจที่เกิดขึ้นต่อผู้เสียหายทำให้เรา จำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อปกป้องประชาชนและฟื้นความเชื่อมั่นในการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล”

เพื่อรับมือกับภัยคุกคามจากมิจฉาชีพที่เพิ่มขึ้นบริษัทโกโกลุกประเทศไทยจึงให้ความสำคัญกับการออกมาตรการในระยะยาว เพื่อป้องกันกลลวงในรูปแบบที่เน้นการจัดการความเสี่ยงและเสริมสร้างความระมัดระวังให้แก่ประชาชนจากการให้ความรู้

"ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อความเชื่อมั่น (TrustTech) ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องเรามุ่งมั่นที่จะพัฒนาเครื่องมือที่ทันสมัยเพื่อรับมือกับกับภัยคุกคามจากมิจฉาชีพที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของบริษัทในการร่วมต่อต้านการหลอกลวงทุกรูปแบบเรามีการผสานเทคโนโลยี AI เพื่อพัฒนาฟีเจอร์ใหม่บนแอปพลิเคชันWhoscallทั้งเวอร์ชั่นฟรี

 

และพรีเมียมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อปกป้องผู้ใช้งานทุกคนโดยนอกเหนือจากฟีเจอร์ Caller ID  และ Smart SMS Assistant ที่เป็นด่านหน้าในการป้องกันสายโทรเข้าและข้อความหลอกลวงแล้วปัจจุบันWhoscallได้เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่เช่น ID Security  (เช็กข้อมูลรั่วไหม) เพื่อช่วยตรวจสอบความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลเช็ก Auto Web Checker เพื่อปกป้องผู้ใช้จากการคลิกลิงก์ฟิชชิ่งรวมไปถึง Scam Alert ศูนย์รวมข้อมูลเตือนภัยกลโกงมิจฉาชีพแห่งแรกในไทยอีกด้วย”  นายแมนวูกล่าวปิดท้าย

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการประชุม the second GASA Global Anti-Scam Summit - Asia (GASS) ซึ่งเป็นการประชุมระดับนานาชาติเพื่อต่อต้านการหลอกลวงที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค โดยมีผู้เชี่ยวชาญจาก GASA ผู้แทนจากองคกร์ระดับโลกอย่าง Amazon, Google, Gogolook, Mastercard และ Meta รวมถึงเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายสถาบันการเงินและองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรเข้าร่วมงานเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ส่งเสริมการทำงานร่วมกันและพัฒนากลยุทธ์เพื่อปกป้องผู้คนจากการหลอกลวงสามารถดูรายละเอียดของการประชุมได้ที่ https://www.gasa.org/gass-2024-asia

 

สามารถดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้ที่ www.gasa.org/reserarch


สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันWhoscallได้ฟรีจาก App Store และ Google Play Store ที่ลิงก์https://app.adjust.com/1fh6zchh


สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับWhoscallและฟีเจอร์ที่มีให้บริการได้ที่ https://whoscall.com/th หรือ https://www.facebook.com/whoscall.thailand


เกี่ยวกับ GASA
ภารกิจของ Global Anti Scam Alliance (GASA) คือการปกป้องผู้บริโภคทั่วโลกจากการหลอกลวงด้วยการสร้างความตระหนักรู้ การส่งมอบเครื่องมือที่ช่วยปกป้องรวมถึงการแบ่งปันองค์ความรู้จัดทำงานวิจัยและจัดฝึกอบรมสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.gasa.org/

 

เกี่ยวกับGogolook


Gogolookเป็นบริษัทผู้ให้บริการทางด้านเทคโนโลยีเพื่อความเชื่อมั่น (TrustTech) ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2555 โดยมีพันธกิจหลักคือสร้างความเชื่อมั่น “Build for Trust” โดยได้ขยายธุรกิจจากเอเชียไปยังยุโรปและอเมริกาเทคโนโลยี AI ของGogolookพัฒนาขึ้นจากฐานข้อมูลการหลอกลวงดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในโลกครอบคลุมหมายเลขโทรศัพท์เว็บไซต์ดิจิทัลวอลเล็ตและแหล่งที่มาอื่นๆบริษัทให้บริการป้องกันการหลอกลวงและบริการทางการเงิน ที่หลากหลายทั้งสำหรับผู้บริโภคและกลุ่มธุรกิจซึ่งรวมถึงแอปป้องกันการหลอกลวงดิจิทัล "Whoscall" และโซลูชันป้องกันการหลอกลวงสำหรับองค์กรร่วมกัน  "ScamAdviser"

ในฐานะสมาชิกผู้ก่อตั้ง Global Anti-Scam Alliance (GASA) Gogolookได้ร่วมมือกับสถาบันต่างๆมากมายเช่นสำนักงานสืบสวนคดีอาญาของสำนักงานตำรวจไต้หวันสำนักงานตำรวจแห่งชาติประเทศไทยสำนักงานตำรวจสืบสวนและประสานงานอาชญากรรมไซเบอร์ฟิลิปปินส์สำนักงานกำกับดูแลทางการเงินเกาหลีใต้รัฐบาลเมืองฟุกุโอกะและชิบูย่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติมาเลเซียมุ่งมั่นสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยจากการหลอกลวงสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม Gogolookที่: https://gogolook.com/en

เกี่ยวกับWhoscall


แอปพลิเคชัน Whoscall เครื่องมือป้องกันการหลอกลวงทางดิจิทัลส่วนบุคคลถูกออกแบบมาเพื่อปกป้องผู้ใช้จากการหลอกลวงในสถานการณ์ต่างๆตั้งแต่การสื่อสารที่เป็นอันตรายและน่าสงสัยรวมถึงสายโทรเข้าข้อความและลิงก์ด้วยยอดการดาวน์โหลดมากกว่า 100 ล้านครั้งทั่วโลกWhoscallมีฐานข้อมูลที่ครอบคลุมมากที่สุดในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครอบคลุมหมายเลขโทรศัพท์มากกว่า 2.6 พันล้านเลขหมายและรวมข้อมูลจากพันธมิตรอย่างScamAdviserเพื่อสร้างฐานข้อมูลต่อต้านการหลอกลวงทางดิจิทัลชั้นนำทีมงานWhoscallทุ่มเทพัฒนาเทคโนโลยีต่อต้านการหลอกลวงมานานกว่าทศวรรษ

 

โดยใช้เทคโนโลยี AI วิเคราะห์และจำลองรูปแบบการหลอกลวงเพื่อป้องกันเชิงรุกต่อการหลอกลวงที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วWhoscallเดินหน้าอย่างแข็งขันในการสร้างกลไกการทำงานร่วมกันในชุมชนของผู้ใช้ร่วมมีบทบาทในการสร้างผลลัพธ์ทางสังคมด้วยบริการต่อต้านการฉ้อโกงทางดิจิทัลตั้งแต่การให้ความรู้การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานไปจนถึงสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์Whoscallได้รับการยอมรับ

 

และความร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติไต้หวันสำนักงานตำรวจแห่งชาติประเทศไทยสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติมาเลเซียศูนย์สืบสวนและประสานงานอาชญากรรมทางไซเบอร์ของฟิลิปปินส์หน่วยงานกำกับดูแลทางการเงินของเกาหลีใต้และรัฐบาลท้องถิ่นในญี่ปุ่นสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: https://whoscall.com/th


เกี่ยวกับScamAdviser


ScamAdviserเป็นแบรนด์ชั้นนำด้านโซลูชันป้องกันการหลอกลวงองค์กรระดับโลกตั้งอยู่ในเมืองอัมสเตอร์ดัมประเทศเนเธอร์แลนด์ ให้บริการลูกค้าองค์กรระดับโลกด้วยการนำเทคโนโลยีป้องกันการหลอกลวงมาใช้และบริการให้คำปรึกษา โดยใช้ประโยชน์จาก AI และเครือข่ายฐานข้อมูลที่ครอบคลุมScamAdviserได้พัฒนาเทคโนโลยีการให้คะแนนความเสี่ยงของเว็บไซต์ เทคโนโลยีนี้ถูกรวมเข้ากับโซลูชันป้องกันการหลอกลวงองค์กรและฐานข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์ของ Gogolookสร้างฐานข้อมูลป้องกันการหลอกลวงดิจิทัลที่ครบถ้วนที่สุดในโลกScamAdviser เชี่ยวชาญในการนำเทคโนโลยีป้องกันการหลอกลวงที่ปรับแต่งได้มาใช้ในการดำเนินงานขององค์กร

 

ช่วยให้ลูกค้าปกป้องผู้บริโภคและอยู่ในแถวหน้าของแนวโน้มการปฏิบัติตามกฎระเบียบระดับโลก ในฐานะสมาชิกผู้ก่อตั้งของ Global Anti-Scam Alliance พันธมิตรและลูกค้าของScamAdviserครอบคลุมทั่วยุโรปอเมริกาเอเชียรวมถึงหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคสถาบันการเงินผู้ให้บริการโทรคมนาคมผู้ให้บริการความปลอดภัยทางไซเบอร์และที่ปรึกษาด้านแบรนด์ด้วยฐานข้อมูลการหลอกลวงที่ใหญ่ที่สุดในโลกเราแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกกับพันธมิตรกว่า 400 รายเพื่อร่วมกันปกป้องผู้บริโภคมากกว่า 1 พันล้านคนทั่วโลก