เชื่อได้เลยว่าหลายๆ คนที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานเป็นหลัก ต้องเจอกับเรื่องราวชวนปวดหัวไม่มากก็น้อย กับเหตุไม่คาดคิดอย่างกระแสไฟฟ้าขัดข้อง ไม่ว่าจะเป็นไฟดับ ไฟตก ไฟเกิน ไฟกระชาก หรือแม้แต่กระแสไฟที่จ่ายมาไม่สม่ำเสมอ จนส่งผลให้เครื่องใช้ไฟฟ้าดับ ชำรุดเสียหาย
โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ที่หากใช้อยู่แล้วไฟฟ้ามีปัญหาทำให้เครื่องดับไป งานก็กำลังเร่ง หรือไฟล์งานสำคัญไม่ได้กดเซฟเอาไว้ กลายเป็นต้องเสียทั้งเวลา ทั้งพลังงาน ต้องมานั่งทำใหม่อีก หรือไม่บางทีก็ส่งผลให้คอมพิวเตอร์ราคาแพงอาจจะรวนจนเปิดไม่ติดอีกเลยก็มี แล้วหากไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้จะทำอย่างไร วันนี้เรามีทางแก้ดีๆ มาฝากกันกับ รวมข้อควรรู้เกี่ยวกับการติดตั้งและบำรุงรักษาเครื่องสำรองไฟคอมพิวเตอร์ หมดห่วงเรื่องไฟตก ไฟดับ ไฟกระชาก
เครื่องสำรองไฟคอมพิวเตอร์ติดตั้งใช้งานอย่างไร ?
การติดตั้ง UPS หรือเครื่องสำรองไฟคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหลายรุ่น หลากหลายแบรนด์ จะมีความแตกต่างกันไปบ้างเล็กน้อย ที่สำคัญเราจะต้องศึกษาข้อมูลติดตั้งอย่างถูกวิธี เพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ และช่วยยืดอายุของเครื่องสำรองไฟให้ใช้งานได้อย่างยาวนาน
1. เริ่มต้นด้วยการเชื่อมต่อชาร์จไฟบ้าน เข้ากับ UPS หรือเครื่องสำรองไฟคอมพิวเตอร์ที่ด้านหลังเสียก่อน เครื่องสำรองไฟฟ้าบางแบรนด์บางยี่ห้ออาจติดตั้งสายไฟฟ้ามาให้เรียบร้อย
2. หลังจากนั้นเครื่อง UPS จะชาร์จไฟบ้าน ไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่สำรองภายในเครื่อง โดยระยะเวลาในการชาร์จเต็มนั้นอาจแตกต่างกันไป
3. หลังจากแบตเตอรี่เต็มแล้วให้เชื่อมต่อเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น Printer เครื่องสแกน เข้ากับเครื่องสำรองไฟฟ้า
4. เปิดเครื่องสำรองไฟ และเปิดอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อใช้งานตามปกติ
แนะนำ 5 เคล็ดลับการบำรุงรักษาเครื่องสำรองไฟ
หากมีการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง UPS หรือเครื่องสำรองไฟคอมพิวเตอร์จะมีอายุการใช้งานประมาณ 3 ปี แต่หากดูแลไม่ดี หรือใช้งานอย่างไม่ถูกต้อง ที่เก็บพลังงานสำรองหรือแบตเตอรี่ก็อาจเสื่อมเร็วกว่าปกติ จึงควรศึกษาวิธีใช้งานและดูแลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ใช้งานได้คุ้มค่าเต็มประสิทธิภาพ
1. ควรวางหรือติดตั้ง UPS ในจุดที่ไม่มีฝุ่นหรือฝุ่นน้อย เพราะฝุ่นจะเข้าไปในเครื่องสำรองไฟ ไปเกาะตามวงจรต่างๆ ทำให้เครื่องทำงานหนักเกินไป
2. ติดตั้ง UPS ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี ไม่ควรวางไว้ในซอก มุมอับ หรือบริเวณที่มีความชื้น
3. ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าให้ถูกประเภท และต้องไม่เกินกว่าค่าที่กำหนดเอาไว้บน UPS เพราะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็ว
4. เสียบปลั๊กเครื่องสำรองไฟเอาไว้ตลอดเวลา อย่าเสียบๆ ถอดๆ เพื่อเป็นการชาร์จพลังงาน และป้องกันเครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหาย
5. ในกรณีที่พบว่า UPS หรือเครื่องสำรองไฟคอมพิวเตอร์ทำงานผิดปกติ ไม่ควรเปิดฝาซ่อมเอง เพราะอาจทำให้เกิดความเสียหายมากขึ้น โดยเฉพาะหากอยู่ในระยะประกัน อาจทำให้ประกันขาดได้
การเปลี่ยนแบตเตอรี่เครื่องสำรองไฟด้วยตัวเอง
หากใกล้ครบกำหนดอายุการใช้งาน หรือถึงเวลาต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่เครื่องสำรองไฟใหม่ ควรตรวจดูให้แน่ใจก่อนว่า ประจุไฟฟ้ายังใช้งานได้ดีอยู่หรือหมดสภาพการใช้งานแล้ว โดยสามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้
• ถอดปลั๊กเครื่องสำรองไฟ ทดสอบดูว่าเครื่องยังจ่ายไฟอยู่หรือไม่
• ตรวจสอบดูว่าระยะเวลาในการสำรองไฟ ยังนานเท่ากับปกติที่เคยใช้หรือไม่ หากระยะเวลายังเท่าเดิม ก็เท่ากับว่าแบตเตอรี่ยังมีประสิทธิภาพ
แต่หากตรวจสอบแล้ว ถึงเวลาต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่สามารถทำได้โดย
1. ปิด UPS แล้วถอดปลั๊กเครื่องสำรองไฟคอมพิวเตอร์
2. จากนั้นให้เปิดฝาเครื่องสำรองไฟ โดยการขันนอต หรือหากเป็นเครื่องรุ่นใหม่ๆ จะเป็นระบบฝาเลื่อน
3. ถอดแบตเตอรี่ออก ด้วยการถอดสายไฟทั้ง 2 เส้น ที่สำคัญให้จำไว้ด้วยว่าเส้นไหนต่อกับขั้วบวกขั้วลบ
4. ใส่แบตเตอรี่ตัวใหม่เสียบสายไฟขั้วบวกขั้วลบให้ตรงกัน ปิดฝาเครื่องสำรองไฟให้แน่น ทดลองใช้งาน
UPS หรือเครื่องสำรองไฟคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเป็นตัวช่วยไม่ให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาแพงชำรุดเสียหาย หรือช่วยให้มีเวลาพอที่จะใช้ไฟฟ้าต่อเนื่องอีกระยะหนึ่ง เพื่อปิดเครื่อง เซฟไฟล์งานสำคัญเอาไว้ได้ทัน
การติดตั้งอุปกรณ์อย่าง UPS เครื่องสำรองไฟจึงถือว่าคุ้มค่ามากๆ กับการลงทุน เพราะราคาไม่ได้สูงมากมาย เมื่อเทียบกับอุปกรณ์สำคัญต่างๆ หากต้องการข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเครื่องสำรองไฟเพิ่มเติม รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่มีให้เลือกหลากหลาย บริการหลังการขายที่รวดเร็ว แนะนำให้เข้าไปที่เว็บไซต์ Chuphoticผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องสำรองไฟ UPS ที่จะช่วยตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างครบถ้วนแน่นอน