ประวัติวันสงกรานต์ ตำนานความเชื่อเกี่ยวกับวันสงกรานต์

11 เมษายน 2566

ประวัติวันสงกรานต์ ตำนานและความเชื่อเกี่ยวกับวันสงกรานต์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีที่มาสำคัญอย่างไรบ้าง

ประวัติวันสงกรานต์ ประเพณีสงกรานต์ อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนาน และเป็นประเพณีที่มีความสำคัญสำหรับคนไทย แล้ววันสงกรานต์นั้นมีประวัติความเป็นมาอย่างไรบ้าง วันนี้ทีมข่าว Thainews Online จะพาทุกท่านมาเปิดประวัติเกี่ยวกับวันสงกรานต์ และตำนานความเชื่อในวันสงกรานต์กัน จะเป็นอย่างไรบ้าง ไปติดตามกันเลย

ประวัติวันสงกรานต์ ตำนานความเชื่อเกี่ยวกับวันสงกรานต์

ซึ่ง สงกรานต์ เป็นคำในภาษา สันสกฤต หมายถึง การเคลื่อนย้าย โดยเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายการประทับในจักรราศี หรือการเคลื่อนเข้าสู่ปีใหม่ตามความเชื่อของไทยและบางประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วันสงกรานต์นั้นได้รับวัฒนธรรมมาจากเทศกาลโฮลีในอินเดีย หรือที่รู้จักกันว่าประเพณีสาดสี

แต่เดิมใน พิธีสงกรานต์ จะใช้ น้ำ เป็นสัญลักษณ์ที่เป็นองค์ประกอบหลักของพิธี แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ในวันนี้จะใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ มีการรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ นับว่าวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว อีกทั้งยังมีประเพณีที่สืบทอดมาตั้งแต่ดั้งเดิม อย่าง การสรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวผู้ให้ การก่อเจดีย์ทราย เป็นต้น

วันสงกรานต์

-    วันที่ 13 เมษายน วันมหาสงกรานต์ หรือ วันส่งท้ายปีเก่า หมายถึง ก้าวหรือย่างขึ้นครั้งใหญ่ คือ สงกรานต์ปี การที่พระอาทิตย์โคจรเข้าสู่ราศีเมษ เป็นวันทำความสะอาดใหญ่ ชำระล้างร่างกายและจิตใจให้ใสสะอาด เริ่มมีการเล่นสาดน้ำเป็นวันแรก สำหรับ

-    วันที่ 14 เมษายน วันกลาง หรือ วันเนา วันที่ถัดมาจาก วันมหาสงกรานต์ 1 วัน การที่พระอาทิตย์เข้ามาอยู่ในราศีเมษเรียบร้อยแล้ว เป็นวันที่มักมีการจัดกิจกรรม ขนทรายเข้าวัด ก่อพระเจดีทราย ขบวนแห่ประเพณี เป็นต้น

-    วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก วันขึ้นศกใหม่ เป็นวันทำบุญตักบาตรต้อนรับปีใหม่ ปล่อยนกปล่อยปลา อุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว มีการรดน้ำดำหัวผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้ที่เคารพนับถือ เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษและขอพร

ประวัติวันสงกรานต์ ตำนานความเชื่อเกี่ยวกับวันสงกรานต์

ตำนานเกี่ยวกับสงกรานต์

ตำนานสงกรานต์ โดยอ้างอิงตามจารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ ว่ากันว่า มีเศรษฐีคนหนึ่ง ไม่มีบุตรเลย จึงได้รับคำสบประมาทว่าร่ำรวยแต่กลับไม่มีทายาทไว้ดูแลยามเจ็บป่วย เศรษฐีจึงเกิดความเศร้าเสียใจ จึงไปบวงสรวงขอบุตรกับพระอาทิตย์ และพระจันทร์ แต่รอมา 3 ปีก็ไม่มีบุตรสักที จนกระทั่งถึงฤดูร้อนปีหนึ่ง เศรษฐีได้นำข้าวสารซาวน้ำ 7 สี หุงบูชารุกขพระไทร พร้อมเครื่องถวาย และการประโคมดนตรี โดยได้ตั้งจิตอธิษฐานขอบุตร พระไทรได้ฟังก็เห็นใจ จึงไปขอบุตรกับพระอินทร์ให้เศรษฐี ต่อมาภรรยาของเศรษฐีจึงได้ให้กำเนิดบุตรชาย และตั้งชื่อว่า ธรรมบาลกุมาร 

ประวัติวันสงกรานต์ ตำนานความเชื่อเกี่ยวกับวันสงกรานต์

พระกุมารของเศรษฐีนั้นมีความฉลาดมาก จนมีชื่อเสียงไปถึงหูของท้าวกบิลพรหม จึงได้ลงมาท้าทายปัญญา โดยได้ถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร ให้เวลา 7 วัน หากฝ่ายใดแพ้จะต้องตัดศีรษะบูชา ท้ายที่สุดธรรมบาลกุมารสามารถตอบปัญหาได้ ท้าวกบิลพรหมจึงต้องเป็นฝ่ายตัดศีรษะ แต่หากศีรษะนี้ตกลงพื้นโลก จะเกิดเพลิงไหม้โลก จึงได้สั่งให้บาทบาจาริกาของพระอินทร์ทั้ง 7 นาง สลับหน้าที่หมุนเวียนทำหน้าที่อัญเชิญพระเศียร หรือศีรษะของตนแห่รอบเขาพระสุเมรุ ปีละ 1 ครั้ง ซึ่งตรงกับช่วงมหาสงกรานต์ 

โดยนางสงกรานต์ทั้ง 7 คือ 

-    นางทุงษะเทวี 
-    นางรากษเทวี 
-    นางโคราคเทวี 
-    นางกิริณีเทวี 
-    นางมณฑาเทวี 
-    นางกิมิทาเทวี 
-    นางมโหธรเทวี

ในแต่ละปีของวันสงกรานต์จึงมีชื่อนางสงกรานต์เป็นประจำของปีนั้นพร้อมคำทำนายนั้นเอง

ประวัติวันสงกรานต์ ตำนานความเชื่อเกี่ยวกับวันสงกรานต์