ครูบาบุญชุ่ม พระเกจิดัง แห่งเมืองล้านนา หรือ ที่ชาวพุทธรู้จักท่านในนาม พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวโร อรัญวาสีภิกขุ หลายคนยังไม่ทราบประวัติและยังรู้จัก ครูบาบุญชุ่ม ไม่มากพอ วันนี้ Thainews Online ขอพาไปทำความรู้จัก พระครูบาบุญชุ่ม พระเกจิดังแห่งเมืองล้านนากันค่ะ
ครูบาบุญชุ่ม คือใคร?
ย้อนรอย ครูบาบุญชุ่ม เมื่อวันที่ 4 กรกฏาคม 2561 ครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวโร เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอนเรือง เมืองพง จ.ท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา ได้เดินทางมายังปากถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน อ. แม่สาย จ.เชียงราย เป็นครั้งที่ 3 เพื่อค้นหาทีมหมูป่าทั้ง 13 ชีวิตที่ติดถ้ำ
ปรากฏว่ากองทัพสื่อมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศ มาเฝ้ารอกันอย่างหนาแน่น ซึ่งครูบาบุญชุ่มได้เดินทางมาพร้อมศิษย์ยานุศิษย์และคณะศรัทธาจำนวนหลาย 10 คน
ครูบาบุญชุ่ม เดินผ่านกองทัพสื่อมวลชน เข้าไปยังปากถ้ำหลวงฯ เพื่อทำพิธีแผ่เมตตา มีเพียงคณะศรัทธาและบรรดาญาติของทีมหมูป่าอะเคาเดมี่เดินตามเข้าไปเท่านั้นเวลาผ่านไปประมาณ 1 ชั่วโมง ครูบาบุญชุ่มและศิษยานุศิษย์ รวมทั้งบรรดาญาติของ 13 ชีวิตก็เดินออกมาจากปากถ้ำหลวงฯ
พระครูบาบุญชุ่ม ไม่ได้กล่าววาจาใดๆ แต่ได้นำวัตถุมงคล เครื่องรางสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มอบให้บรรดาสื่อมวลชนและญาติของทีม หมูป่า เท่านั้น เมื่อครูบาบุญชุ่ม เดินกลับจากถ้ำหลวงฯ อ.แม่สาย แล้วได้บอกกับลูกศิษย์ว่า “ห้ามผู้ใดเข้าไปรบกวน” เพราะท่านต้องการปิดวาจาและนั่งสมาธิแผ่เมตตาให้แก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในถ้ำหลวงฯ เป็นเวลา 3 วัน ก่อนที่จะเดินทางออกจากวัดตั้งแต่เช้า และเดินทางมาทำพิธีที่ถ้ำหลวง อีกครั้ง ปาฏิหาร์ย์มีจริง หลังจากครั้งล่าสุดที่ครูบาบุญชุ่มได้ทำพิธีทางศาสนา และกล่าวว่า “จะค้นพบทีมหมูป่าทั้ง13ชีวิต”
ต่อมา 2 วัน ให้หลังทีมหน่วยซีล (ทหารเรือ) และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติภารกิจภายในถ้ำหลวงฯ ก็สามารถเจาะทะลวงโถงถ้ำจนพบทั้ง 13 ชีวิต ปลอดภัยดีอยู่ภายในถ้ำจริง ต่อมาครูบาบุญชุม ได้เข้านั่งสมาธิวิปัสนาภายในสำนักปฏิบัติดอยเวียงแก้ว บ้านเวียงแก้ว หมู่ 5 ต.ศรีดอนมูล อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ใกล้กับชายแดนไทย-สปป.ลาว-เมียนมา ตรงจุดสามเหลี่ยมทองคำติดแม่น้ำโขง-แม่น้ำรวก โดยไม่ได้ออกมาพบญาติโยมอีก
หนังสือจากถ้ำ พระครูบาบุญชุ่ม
พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร ซึ่งเข้าไปปฏิบัติธรรมกรรมฐาน บำเพ็ญเพียร ในถ้ำที่เมืองแก๊ด รัฐฉาน ประเทศเมียนมา ได้เกือบ 1 ปี ส่งหนังสือออกมาจากถ้ำ ซึ่งพระครูสมุห์นทีเทพ จิรวฑฺฒโณ วัดหนองปึ๋ง จ.เชียงใหม่ ได้นำคำเขียนคำเมือง (ภาษาไทยถิ่นเหนือ) ของพระครูบาบุญชุ่ม นำมาแปลเป็นภาษาไทย เผยแผ่ให้กับลูกศิษย์ ผ่านเฟซบุ๊กพระครูสมุห์นทีเทพ จิรวฑฺฒโณ
หนังสือ “พระครูบาบุญชุ่ม” เตือนลูกศิษย์ใช้ชีวิตอย่างมีสติ ระวังอันตราย 3 ประการจะเกิดขึ้นบนโลกใบนี้
1. คนทั้งหลายจะเป็นโรคทาฬะลงเมือง(ตายห่า)จะตายกันมาก
2. โดยเฉพาะคนที่ไม่นับถือพระพุทธศาสนา
3. จะตายเป็นหมื่นเป็นล้าน
ด้วยเหตุนี้ ให้มีสติ โรคภัยไข้เจ็บนี้ ไม่ใช่โลกนี้เกิดขึ้นมาเอง นอกโลกหรือโลกอื่นเขาเอามาปล่อยใส่ผู้อื่นทั้งหลายจะได้ตาย เป็นแล้วจะรักษาไม่ได้ มีธรรมะเท่านั้นรักษาได้ ขอให้มีสติ เกี่ยวกับการกินเนื้อปลา สิ่งจะนำเชื้อโรคมา ตอนนี้ในโลกตายนับหมื่นเป็นที่น่ากลัว ให้ทุกคนมีสติในการกินอยู่ ให้ตั้งอยู่ในศีลในธรรม ทำวัตรสวดมนต์ภาวนาส่งเมตตาให้มากๆ ให้แผ่ถึงในโลกในอนัตตจักรวาลสัตว์ทั้งหลายหาที่สุดไม่ได้
ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 65 เพจเฟซบุ๊ก มูลนิธิดอยเวียงแก้ว พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวโร อรัญวาสีภิกขุ ได้โพสต์ข้อความไว้ว่า เปิดเผยถึงกำหนดการออกจากถ้ำหลวงเมืองแก๊ด หลังจาก พระครูบาบุญชุ่ม เข้าปฏิบัติธรรมกรรมฐานปิดวาจาเป็นเวลา 3 ปี 3 เดือน 3 วัน ระบุข้อความ
“กำหนดการออกถ้ำ พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร อรญฺญวาสีภิกขุ จะออกจากถ้ำ วันที่ 31 กรกฎาคม 2565 ปลงผมที่เกาะน้ำรูนั้นแล ให้สร้างหอกุฏิที่พักไว้ จะไปฉันภัตตาหารที่กุฏิมุงคาริมน้ำสิ่ม 5 โมง จะไปที่ถ้ำเล็ก หอ 7 ชั้นนั้นแล
คนที่จะมารับในถ้ำหลวงนี้ มีพระสงฆ์ 23 รูป คฤหัสถ์ลูกศิษย์ชาย ให้มา 38 คน ลูกศิษย์หมวกทองคำให้มาเวลา 07.00 น. ลากรถหอคำให้ห่างกัน 1 วา หญิงลากข้างซ้าย ชายลากข้างขวา พระสงฆ์นำหน้า จะอยู่ 5 วัน แล้วไปเมืองพง (เข้าพรรษาเดือน 10 นั้นแล ที่ไหนยังไม่รู้)”
ประวัติ ครูบาบุญชุ่ม
สำหรับ ประวัติ ครูบาบุญชุ่ม ท่านเกิดเมื่อวันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2508 เวลา 09.00 น. ที่หมู่บ้านแม่คำหนองบัว ตำบลแม่คำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นบุตรคนโตของนายคำหล้าและนางแสงหล้า ทาแกง แม้ครอบครัวจะยากจนใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก แต่โยมมารดาก็ปลูกฝังท่านให้ทำบุญ สวดมนต์ ทำสมาธิอยู่เสมอ ทำให้ท่านสนใจออกบวช รวมจำนวนพรรษาที่บวชเป็นพระภิกษุทั้งหมด ๒๐ พรรษา
ประวัติด้านการศึกษา ครูบาบุญชุ่ม
หลังจากเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จึงบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2519 ขณะอายุได้ 11 ปี ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมชั้นตรีในปี พ.ศ. 2526
ต่อมาได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 เวลา 919 น. ณ อุโบสถวัดพระเจ้าเก้าตื้อ (ปัจจุบันรวมกับวัดสวนดอก (จังหวัดเชียงใหม่)) โดยมีพระราชพรหมาจารย์ (ดวงคำ ธมฺมทินฺโน) เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูเวฬุวันพิทักษ์เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และพระครูศรีปริยัตินุรักษ์เป็นพระกรรมวาจาจารย์
นับแต่ออกบวช ครูบาบุญชุ่มมุ่งเน้นเรียนกรรมฐานจากครูบาอาจารย์หลายองค์ ได้จาริกไปหลายท้องที่ทั้งภาคเหนือของไทย พม่า เนปาล อินเดีย ภูฏาน ฯลฯ เมื่อครูบาบุญชุ่มพบเห็นวัดใดทรุดโทรมก็เป็นผู้นำในการบูรณะ และได้สร้างพระธาตุเจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป ไว้หลายแห่งในภาคเหนือ รัฐชาน สิบสองปันนา และประเทศลาว
การสร้างและบูรณะพระธาตุ
ครูบาบุญชุ่ม ญาณสัวโร ได้สร้างศาสนสถานไว้ดังต่อไปนี้
ข้อมูล : วิกิพีเดีย
ภาพ : มูลนิธิดอยเวียงแก้ว พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวโร อรัญวาสีภิกขุ