ใช้รถต้องรู้! แนะนำ 4 ข้อ เช็คให้ชัวร์ก่อนติดตั้ง EV Charger
ข้อควรรู้ก่อนติดที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV Charger
1. ตรวจสอบขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า
ขณะชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) จะกินไฟขณะชาร์จ 8A ถึง 16A ต่อเนื่องจนกว่าแบตเตอรี่จะเต็ม ดังนั้นขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าควรมีขนาดไม่น้อยกว่า 30A
โดยสามารถตรวจสอบขนาดมิเตอร์ได้จากป้ายที่ติดอยู่ที่เครื่องวัด หรือ สอบถามข้อมูลจาก MEA Call Center โทร 1130 โดยแจ้งหมายเลขมิเตอร์จากบิลค่าไฟ
2. ตรวจสอบตู้ควบคุมไฟฟ้า (Main Distribution Board: MDB)
ภายในตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB) จำเป็นต้องมีช่องวางสำหรับติดตั้ง Miniature Circuit Breaker สำหรับควบคุมวงจรชาร์จไฟรถยนต์ EV อีก 1 ช่อง หากในตู้ไม่มีช่องว่างสำรอง อาจต้องเพิ่มตู้ควบคุมย่อยอีก 1 ตู้
Miniature Circuit Breaker ต้นทางที่ควบคุมวงจรชาร์จไฟต้องมีพิกัดที่เหมาะกับขนาดสายไฟและขนาดกระแสชาร์จไฟของรถยนต์ไฟฟ้า.การเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์สำหรับชาร์จไฟ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่ กฟน. และ กฟภ. กำหนด
3. ตรวจสอบสายไฟฟ้า (สายเมนเข้าอาคาร และ Main Circuit Breaker)
หากจำเป็นต้องเพิ่มขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ การเพิ่มขนาดสายเมนและเพิ่มพิกัด MCB ให้รองรับปริมาณกระแสไฟฟ้ารวมที่ใช้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะต้องสอดคล้องกันทั้ง 3 ส่วน ได้แก่ ขนาดมิเตอร์ ขนาดสายเมน และขนาด MCB
ขนาดสายเมน 25 ตร.มม. THW - การเดินสายลอยในอากาศ- ขนาดมิเตอร์ 30(100) A, 1P 230V- ขนาด MCB สูงสุด 100A, IC 10 kA, 2P, 230V
ขนาดสายเมน 33 ตร.มม. NYY - การเดินสายร้อยท่อใต้ดิน- ขนาดมิเตอร์ 30(100) A, 1P 230V- ขนาด MCB สูงสุด 100A, IC 10 kA, 2P, 230V
4. ศึกษาข้อมูลระบบการชาร์จไฟของรถยนต์
ข้อแนะนำจาก กฟน. และ กฟภ.ในการติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน
อนึ่ง การเพิ่มขนาดมิเตอร์จะต้องมีการปรับปรุงสายไฟฟ้าภายในบ้านใหม่ รวมปรับเปลี่ยนตู้ Consumer Unit และเมนเบรกเกอร์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เพื่อลดภาระดังกล่าว และเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน ทาง กฟน. และ กฟภ. จึงมีรูปแบบทางเลือกในการติดตั้ง EV Charger เพิ่มเติม ดังนี้
กฟน. อนุโลมให้ผู้ใช้ไฟฟ้า สามารถขอติดตั้ง EV Charger เพิ่มจากโหลดการใช้ไฟฟ้าเดิม โดยการติดตั้งสายเมนวงจรที่สองสำหรับ EV Charger โดยเฉพาะได้ โดยจะต้องเปลี่ยนขนาดมิเตอร์ให้เหมาะสม ทั้งนี้กำลังไฟในการใช้งานรวมทั้งหมดจะต้องไม่เกินขนาดที่มิเตอร์รองรับ
กฟภ. อนุญาตให้ติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าลูกที่สอง สำหรับชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะได้ โดยการเดินสายเมนที่สองจากมิเตอร์ลูกใหม่ไปถึงจุดติดตั้งโดยตรง โดยมิเตอร์ลูกที่สองไม่จำเป็นต้องมีขนาดและประเภทเดียวกันกับมิเตอร์ไฟฟ้าลูกแรก
Cr: กฟผ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย