ใช้รถต้องรู้! พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง เบิกอะไรได้บ้าง
พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ คือ
พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ คือ ประกันภัยภาคบังคับที่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ต้องมีตามกฎหมาย เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือคู่กรณี รวมไปถึงการประสบอุบัติเหตุแม้ไม่มีคู่กรณี เช่น รถล้มหรือขี่ชนวัตถุสิ่งของบนถนน โดยพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ จะให้ความคุ้มครองเรื่องค่ารักษาพยาบาล ค่าสินไหมทดแทน และเงินชดเชย ในกรณีที่เกิดการสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น
ประเภทของค่าเสียหายที่พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์จ่าย
พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์จะจ่ายค่าเสียหายให้กับผู้ประสบภัย ทั้งผู้ขับขี่ทั้งเจ้าของรถจักรยานยนต์และคู่กรณี รวมถึงผู้โดยสารทั้งสองฝ่ายและบุคคลภายนอกที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัตินั้น ๆ โดยจะแบ่งค่าเสียหายออกเป็น 2 ประเภท คือ ค่าเสียหายเบื้องต้น และค่าสินไหมทดแทน
ค่าเสียหายเบื้องต้น
ค่าเสียหายเบื้องต้น คือ เงินที่เจ้าผู้ขับขี่และผู้ซ้อนสามารถเบิกจากพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ได้หากเกิดอุบัติเหตุขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ว่าฝ่ายผู้ขับขี่หรือคู่กรณีเป็นฝ่ายผิด รวมถึงอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี โดยมีวงเงินคุ้มครองดังนี้
ซึ่งในกรณีที่คุณขับรถล้มเองนั้น หรือขับขี่ชนสิ่งของ ไม่มีคู่กรณี จะถือว่าเป็นอุบัติเหตุ แค่มีพรบ.รถจักรยานยนต์ คุณจะได้รับความคุ้มครอง เบิกค่าเสียหาเบื้องต้นได้ ไม่ต้องควักเงินค่ารักษาเอง
กรณีเกิดอุบัติเหตุ ยังไม่ต้องพิสูจน์ความผิด
กรณีเกิดอุบัติเหตุ พิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายถูก
พ.ร.บ. จะชดเชยให้เมื่อพิสูจน์แล้วว่าผู้ขับขี่เป็นฝ่ายถูก ครอบคลุมทั้งคนขับและคนซ้อนเช่นเดียวกัน โดยมีความคุ้มครองดังนี้
ค่ารักษาพยาบาล จ่ายตามค่าใช้จ่ายจริง วงเงินไม่เกิน 80,000 บาท
เสียชีวิต ทุพพลภาพ ชดเชย 300,000 บาท
หากสูญเสียอวัยวะ จะแบ่งออกเป็น 3 กรณี ดังนี้
1.นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป ชดเชย 200,000 บาท
2.สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน ชดเชย 250,000 บาท
3.สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน ชดเชย 300,000 บาท
หากมีการรักษาตัวในโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน) ชดเชยวันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน
(*หมายเหตุ: ความคุ้มครองดังกล่าว จะคุ้มครองเฉพาะกรณีบาดเจ็บหรือเสียชีวิตเท่านั้น ไม่ได้ชดเชยในส่วนของค่าซ่อมแซมอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุแต่อย่างใด)
กรณีเกิดอุบัติเหตุ พิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายผิด
กรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ซึ่งมีการพิสูจน์ทราบแล้วว่าเป็นฝ่ายผิด หากเกิดการบาดเจ็บทั้งสองฝ่าย ฝ่ายที่ผิดจะได้รับความคุ้มครองแค่ค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นเท่านั้น ส่วนฝ่ายที่ถูกจะได้รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในเบื้องต้น และได้รับเงินสินไหมทดแทนเพิ่มเติม
ขั้นตอนการแจ้งเคลมพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์
1.ส่งผู้เจ็บส่งโรงพยาบาล และแจ้งเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลว่าขอให้สิทธิ์เบิกตามพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ และทำตามขั้นตอนที่เจ้าหน้าที่แจ้ง
2.แจ้งความเพื่อลงบันทึกประจำวัน ให้ตำรวจดำเนินการสอบสวน พิสูจน์ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายถูกหรือผิด จากนั้นเก็บเอกสารจากเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้ใช้ในการเคลมค่าสินไหมทดแทน
3.ยื่นเอกสารที่บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด สาขาใดก็ได้ ภายใน 180 วันหลังจากวันเกิดเหตุ