ชุดประจำชาติญี่ปุ่น วันนี้ทีมข่าว Thainews Online จะพาทุกคนไปทำความรู้จัก เปิดประวัติ ชุดกิโมโน ชุดประจำชาติญี่ปุ่น มีที่มาอย่างไร รวมไปถึง ความหมายของชุดกิโมโน และ ข้อสำคัญในการใส่ชุดกิโมโนมีอะไรบ้าง
ประวัติชุดกิโมโน
เริ่มตั้งแต่ สมัยนารา (ค.ศ. 710 - 794) ก่อนที่ชุดกิโมโนจะเป็นที่นิยม ชาวญี่ปุ่นมักแต่งชุดท่อนบนกับท่อนล่างเหมือนกันหรือผ้าชิ้นเดียวกัน
ต่อมาในยุคสมัยเฮอัน (ค.ศ. 794 - 1192) ซึ่งถือเป็นช่วงเริ่มต้นการใส่กิโมโน ชาวญี่ปุ่นพัฒนาเทคนิคการตัดชุดเสื้อผ้าด้วยการตัดผ้าเป็นเส้นตรง เพื่อให้ง่ายต่อการสวมใส่ และตัดเย็บให้เหมาะกับฤดูกาล ความสะดวกสบายนี้ทำให้ชุดกิโมโนแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว โดยวงการแฟชั่นสมัยนั้น ชุดกิโมโนจะมีสีสัน ผสมผสานกันด้วยสีต่างๆให้เหมาะสมกับสภาพอากาศและชนชั้นทางสังคม ถือว่าเป็นช่วงที่ชุดพัฒนาในเรื่อง สี มากที่สุด
มาถึงยุคคามาคุระ (ค.ศ. 1338 - 1573) ทั้งผู้หญิงและผู้ชายจะนิยมใส่ชุดกิโมโนที่สีสันแสบทรวง ยิ่งเป็นนักรบจะต้องยิ่งใส่ชุดที่สีฉูดฉาดมากๆเพื่อแสดงถึงความเป็นผู้นำ
ในยุคเอโดะ ( ค.ศ. 1600-1868) ในช่วงนี้นักรบซามูไรแต่ละสำนักจะแต่งตัวแบ่งแยกตามกลุ่มของตนเอง เรียกว่าเป็น “ชุดเครื่องแบบ” โดยชุดที่ใส่นี้ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ชุดกิโมโน ชุดคามิชิโม ตัดเย็บด้วยผ้าลินินใส่คลุมชุดกิโมโนเพื่อให้ไหล่ดูตั้ง และกางเกงขายาวที่ดูเหมือนกระโปงแยกชิ้นชุดกิโมโนของซามูไรจำเป็นต้องเนี้ยบมาก ดังนั้นจึงเป็นช่วงที่พัฒนากิโมโนไปอีกขั้น จนเป็นผลงานศิลปะชิ้นหนึ่ง
จนกระทั่งยุคเมจิ (ค.ศ. 1868 - 1912) จนถึงปัจจุบัน ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากต่างชาติมากขึ้น ชาวญี่ปุ่นเปลี่ยนมาใส่ชุดสากลในชีวิตประจำวัน ผู้ที่สวมกิโมโนในชีวิตประจำวันจะมีเพียงผู้ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับศิลปะญี่ปุ่นแต่โบราณเท่านั้น หรือสวมใส่เฉพาะงานพิธีการต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานปีใหม่ งานฉลองบรรลุนิติภาวะ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ผู้ที่สามารถสวมชุดกิโมโนได้เองมีน้อย ถึงขนาดจัดเป็นคุณสมบัติข้อหนึ่งของการเตรียมตัวเพื่อเป็นเจ้าสาวของสตรีญี่ปุ่น
อย่างไรก็ตาม การใส่กิโมโนก็มีกฎ 3 ข้อใหญ่ๆ ที่ควรรู้ก่อนใส่ อย่างแรกคือต้องจำไว้ว่าการใส่กิโมโนนั้นด้านซ้ายจะต้องอยู่ด้านบนเสมอ เพราะหากด้านขวาทับด้านซ้ายจะเป็นการใส่ให้กับคนที่เสียชีวิตเท่านั้น อีกอย่างคือต้องยอมรับว่าคนญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับฤดูกาลเป็นอย่างมาก การใส่กิโมโนบางลายจะสามารถใส่ได้เฉพาะบางช่วงของปี เช่น กิโมโนที่มีลวดลายของต้นซากุระจะได้ใส่ช่วงฤดูซากุระบานเท่านั้น ยกเว้นแต่ลายดอกซากุระที่สามารถใส่ได้ตลอดทั้งปี ส่วนข้อสุดท้าย โอบิต้องอยู่ด้านหลังเสมอ จะมีเฉพาะผู้หญิงที่ทำงานที่ Red-light-district หรือย่านโคมแดงเท่านั้นที่จะใส่โอบิไว้ด้านหน้า
ในปัจจุบัน กิโมโน เครื่องแบบประจำชาติของชาวญี่ปุ่นไม่ได้มีแค่ผู้สูงอายุที่หยิบมาใส่เท่านั้น เด็กวัยรุ่นก็ยังคงใส่กิโมโนในวันพิเศษต่างๆ เช่นกัน อย่างวันฉลองอายุครบ 20 ปี หรือในบางโรงเรียนมักจะให้เด็กๆ ใส่ชุดกิโมโนในวันจบการศึกษา อีกทั้งแบรนด์เสื้อผ้าในประเทศญี่ปุ่นยังนิยมหยิบยกเอากิโมโนมาทำให้ดูทันสมัยมากขึ้น จึงไม่แปลกใจที่เวลาเราไปเยือนญี่ปุ่น มักจะเห็นเด็กๆ วัยรุ่นใส่กิโมโนออกมาใช้ชีวิตกันเป็นปกติ
ชุดกิโมโนมีแบบไหนบ้าง
1. ฟุริโซเดะ
2. ฮิคิซึริ
3. โทเมโซเดะ
4. โฮมงกิ
5. อิโระมุจิ
6. โคะมง
7. ยูกาตะ
8. ชิโระมุคุ
9. กิโมโนสำหรับผู้ชาย