"ลาบ" อาหารอีสานชื่อดังที่ครองใจคนไทยทั่วทุกภาค แล้วรู้กันหรือไม่ว่าชื่อนี้มีที่มาจากไหน ทำไมเรียกว่าลาบ มีความหมายว่าอะไร วันนี้เรามีคำตอบมาฝากกัน พร้อมสูตรทำลาบเด็ดๆ ใครทำตามก็อร่อยชัวร์
ชื่อเมนู ลาบ มีที่มาอย่างไร ความหมายเมนู ลาบ
คำว่า "ลาบ" ในภาษาคำเมืองแปลว่า การสับเนื้อให้ละเอียด และคำนี้ยังพ้องเสียงกับคำว่า "ลาภ" ซึ่งหมายถึง ของที่ได้ กำไร และความโชคดี
การนำเนื้อสัตว์ต่างๆมาสับละเอียดแล้วปรุงรสจึงเป็นที่มาของชื่อเมนูลาบ นั่นเอง
สำหรับลาบนั้นไม่ได้มีแค่ในภาคอีสานเท่านั้น แต่ยังมีทั้งลาบเหนือหรือที่เรียกว่า ลาบเมือง ลาบอีสาน ลาบคั่ว ลาบยอ
ข้อมูลตามเสาวภา (2548) ในสมัยก่อนโอกาสพิเศษที่จะทำลาบกินกันนั้นได้แก่
1.ตามช่าวเทศกาล เช่น สงกรานต์ เข้าพรรษา ออกพรรษา
2.ตามงานประเพณีต่างๆ
3.ฉลองโอกาศพิเศษ เช่น วันเกิด ถูกหวย งานเลี้ยงต่างๆ งานเลี้ยงส่ง เลี้ยงต้อนรับ
ถือเป็นอาหารมงคลสำหรับคนในสมัยก่อน
วิธีทำลาบ
วัตถุดิบทำลาบ
- เนื้อสัตว์สับละเอียด 300 กรัม
- เครื่องใน หรือ หนังหมู 200 กรัม (จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้)
- หอมแดง 100 กรัม ซอยบางๆแล้วพักไว้
- ผักชี/ต้นหอม หั่นเป็นท่อนไม่เล็กไม่ใหญ่จนเกินไป
- ข้าวคั่ว 1+1/2 ช้อนโต๊ะ สำคัญขาดไม่ได้เพิ่มความหอมเป็นเอกลักษณ์ให้กับเมนูลาบ
- พริกป่น 1+1/2 ช้อนโต๊ะ พริกคั่วหอมๆใส่เข้าไปได้ทั้งความเผ็ดและความหอม
- น้ำปลา 1+1/2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำมะนาว 1+1/2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำ 50 ml.เพิ่มความขลุกขลิก หรือถ้าไม่ชอบแบบมีน้ำก็ไม่ต้องใส่ก็ได้เพราะเนื้อสัตว์จะคายน้ำออกมาเมื่อโดนความร้อนแล้ว
ขั้นตอนการทำลาบ
1.ใช้เนื้อสับละเอียด เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อไก่ หรือเป็ด ได้ทั้งนั้นใส่ลงในหม้อเติมน้ำ เปิดไฟรวนให้สุกพอประมาณ
2.หากใส่หนังหมูหรือเครื่องในก็ใส่ตามลงไปแล้วรวนต่ออีกเล็กน้อย
3.ใส่หอมแดงซอยลงไปปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะนาว พริกป่อน ข้าวคั่ว รวนต่อจนลาบสุก บอกเลยว่าขั้นตอนนี้จะส่งกลิ่นหอมฟุ้งสุดๆแทบอดใจไม่ไหว
4.ปิดไฟใส่ผักชี ต้นหอม ตักใส่จานพร้อมเสิร์ฟ